ในขณะที่เอไอเอสได้น้องสาวคนสุดท้องขึ้นนั่งเกาอี้กรรมการ ผู้อำนวยการ แทคก็ได้น้องชายคนสุดท้อง
วิชัย เบญจรงคกุล ขึ้นคุมบังเหียน Co-CEO ร่วมกับคนของฝั่งเทเลนอร์
เป็นเวลากว่า 2 ปีของการยึดอำนาจ กลับคืนมาอยู่ในมือของบุญชัย เบญจรงคกุล
หลังจากปล่อยให้มืออาชีพบริหารมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีเต็ม การจัดทัพองค์กรใหม่
ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (แทค) ก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง
การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ ไม่เพียงจะส่งผลต่อโครงสร้างการบริหารงานใหม่ของแทค
ที่จะมี Co-CEO ถึง 2 คน ยังเป็นการสะท้อนถึงการเตรียมรับมือกับ การแข่งขันของตลาดโทรศัพท์มือถือที่กำลังเปลี่ยนแปลงกติกาไปจากเดิม
วิชัย เบญจรงคกุล ถูกเลือกสำหรับ ภาระหน้าที่ของ "ผู้สานต่อ"
งานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (Co-CEO) ต่อจากบุญชัย ผู้เป็นพี่ชาย
ที่ต้องการวาง มือจากงานบริหารประจำวัน นั่งในตำแหน่ง ประธานกรรมการเพียงอย่างเดียว
การขึ้นนั่งตำแหน่งของวิชัย จึงได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบุญชัยเอง
รวมถึงนักวิเคราะห์ที่เชื่อว่าด้วยสไตล์ที่ นิ่มนวล ประสบการณ์ที่มีอยู่ของวิชัย
น่าจะเหมาะสมสำหรับสถานการณ์ของแทคต่อจากนี้
นอกจากบุญชัยแล้ว วิชัย น้องชายคนเล็ก และเป็นคนเดียวในจำนวนน้องชาย ทั้งสองของเขา
ที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจโทรคมนาคมมาตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี สาขาจัดการธุรกิจ
มหาวิทยาลัยนอร์ธ อีสเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
ถึงแม้ว่าการเรียนรู้งานในสายโทร คมนาคมมาตั้งแต่ต้น ประสบการณ์ส่วนใหญ่ของวิชัย
จะเป็นการเรียนรู้งานในระดับกว้าง ในระดับ "กรรมการ" ในบริษัท
ในเครือของยูคอมเป็นส่วนใหญ่ เพิ่งได้มารับผิดชอบการบริหารแบบเต็มตัว เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัทยูคอมในปี 2543
การขึ้นนั่งเก้าอี้ CEO ของยูคอม นับว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อม
สำหรับเขา เมื่อแทคตัดสินใจผ่าตัดองค์กร เขาก็ถูกเลือกสำหรับธุรกิจที่เป็นเสาหลักของครอบครัวต่อจากบุญชัย
หันไปทุ่มเวลากับโครงการสำนึกรักบ้านเกิดที่เขาคิดขึ้นอย่างเต็มที่
แม้ว่างานส่วนใหญ่ของวิชัย จะเป็นการเรียนรู้งานที่ดูอยู่ห่างๆ ไม่ได้ลงรายละเอียดในฐานะของผู้บริหาร
แต่การคลุกคลีอยู่ในธุรกิจนี้มาตั้งแต่ต้น ทำให้เขาไม่ต้องเรียนรู้ใหม่
ส่วนตัวแล้ว วิชัยจะเป็นคนง่ายๆ รักครอบครัว ค่อนข้างเก็บตัว ไม่ปรากฏข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยนัก
หากว่างเว้นจากการงานประจำแล้ว เขามักจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัว เป็นลูกค้าประจำของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม
การขึ้นนั่งเก้าอี้ใหญ่ในแทคทำให้เขาต้องเปิดตัวมากขึ้น "หน้าที่ของ
CEO คงเก็บตัว ไม่ได้อีกแล้ว"
การเป็น CEO คู่ของวิชัย จะทำงาน ร่วมกับซิคเว่ เบรคเก้ ผู้บริหารวัย 43
ปี ของเทเลนอร์ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลธุรกิจโทรศัพท์มือถือของเทเลนอร์ในแถบเอเชีย
และอยู่ร่วมในทีมเจรจาซื้อหุ้นของแทค และยูคอมมาตั้งแต่ต้น
นอกจากวัยที่ใกล้เคียงกัน และเคย ทำงานร่วมกันในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เทเลนอร์เข้ามาเจรจาซื้อหุ้นของแทค
จนกระทั่งมาเป็นกรรมการร่วมกันในบอร์ด เชื่อว่าทำให้การทำงานร่วมกันของทั้งสองเป็นไปอย่างราบรื่น
ประสบการณ์ความเป็นท้องถิ่นของ วิชัย บวกเข้ากับประสบการณ์ในระดับกว้างของเบรคเก้
จะรับมือกับสภาพตลาดของโทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่ เรื่องของการอัดโปรโมชั่น
ขยายลูกค้าแบบ ไม่ลืมหูลืมตา แต่ต้องมุ่งที่การรักษาฐานลูกค้าเดิมทั้ง 5
ล้านราย ที่มีเงื่อนไขและกติกาของการทำตลาดที่แตกต่างไปจากเดิม ที่ต้องมัดใจด้วยคุณภาพของบริการ
ที่ตอบ สนองความต้องการในแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีแง่มุมใหม่ๆ
"ตลาดปีหน้าจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว การมีลูกค้ามากที่สุดไม่ใช่ทางเลือกของเราอีกแล้ว
แต่เป็นเรื่องของการรักษาฐานลูกค้าในมือ 5 ล้านราย" เบรคเก้บอก "สิ่งที่เราจะต้องทำคือ
การมุ่งที่บริการและ พัฒนาผลิตภัณฑ์และทิศทางที่ดีแทคจะไป"
เบรคเก้ ดูแลตลาดโทรศัพท์มือถือในตลาดเอเชียของเทเลนอร์มา 5 ปีเต็ม บวกกับประสบการณ์ของเขา
และเทเล นอร์ ที่เคยอยู่ในตลาดโทรศัพท์มือถือ ที่อิ่มตัวแล้วอย่างในนอร์เวย์
เดนมาร์ก กรีซ และด้วยประสบการณ์เหล่านี้เอง พวกเขาเชื่อว่าแทคก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในรอบใหม่นี้ได้
"การมี CEO 2 คน จึงไม่ใช่การซ้ำซ้อน แต่เป็นการทำงานร่วมกัน ใช้แง่มุมต่างๆ
มาช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา จาก 2 มุมมอง ทำให้การติดตากระชับขึ้น"
พวกเขาเชื่อว่า สร้างจุดยืนใหม่ของ "เราไม่ได้เป็นนักตัดราคา"
ไปสู่คำจำกัดความใหม่ของการเป็น "ผู้นำบริการใหม่ๆ"
เกมการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ทายาทของผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่าย
ที่จะต้องลงมารับผิดชอบเต็มตัว และเป็นโอกาสของวิชัย ที่จะพิสูจน์ฝีมือกับความท้าทายรอบใหม่ที่รออยู่
ข้างหน้า