Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 มกราคม 2549
ฟาร์อีสทฯดีเลย"เข้าตลาดรอกฎโฮลดิ้ง ชี้ไม่กระทบแผนปีนี้ลุยค้าหุ้นครบวงจร             
 


   
search resources

Stock Exchange
ฟาร์อีสท์ แอสเซสท์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.




ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ เลื่อนเข้าตลาดหุ้นไม่มีกำหนด รอเกณฑ์โฮลดิ้ง ก.ล.ต. ผู้บริหารเผย ไม่กระทบ หลังไตรมาส 1 เตรียมแผนสองดัน บล. เข้าจดทะเบียนแทน เล็งลงทุนในหุ้นเพิ่มจากพอร์ตเดิม 300-400 ล้านบาท ตั้งเป้ามาร์เกตแชร์ บล. ปีนี้ 2.5% จากเร่งเพิ่มลูกค้าสถาบัน ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล ปีนี้มีหุ้นใหม่ดันเข้าจดทะเบียน ประมาณ 6 บริษัท

นายชัยพันธ์ พงศ์ธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอเกณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ที่มีการออกเกณฑ์เรื่องการ นำกลุ่มบริษัท (โฮลดิ้ง) ที่มีธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์เป็นธุรกิจหลังในการทำธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้แผนในการ เข้าจดทะเบียนของบริษัทเลื่อนออก ไป จนกว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะมีการจะมีการประกาศออกมา

ทั้งนี้ การเลื่อนการเข้าจดทะเบียนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากบริษัทยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินระดมทุน โดยบริษัทจะเสนอ ขายหุ้นจำนวน 300 ล้านหุ้น แบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปจำนวน 250 ล้านหุ้น และอีก 50 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการแปลงสภาพ ของใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยภายหลังการเพิ่มทุนจะมีทุนจดทะเบียน เป็น 1,300 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท

สำหรับขณะนี้บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท นั้นแบ่ง เป็นลงทุนใน บล. 500 ล้านบาท ลงทุนในบริษัท ฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำนวน 100 ล้านบาท และที่เหลือก็จะนำไปลงทุนในบริษัท ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี โดยที่ผ่านมาลงทุนแล้ว 2 บริษัท
เป้ามาร์เกตแชร์ปีนี้ 2.5%

บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด ของบริษัทหลักทรัพย์ปีนี้ 2.5% ซึ่ง เป็นประมาณการเดิมจากปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้ที่มี 1.9% ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีนี้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อตลาด หุ้นไทยมากถึง 40-50% ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีฐานลูกค้าที่เป็นต่างประเทศจึง ทำให้มาร์เกตแชร์มีการปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ การที่บริษัทจะสามารถมีมาร์เกตแชร์ตามที่ตั้งไว้นั้น บริษัท ก็จะมีการเพิ่มฐานนักลงทุนสถาบัน มากขึ้น โดยการจัดทำบทวิเคราะห์ให้นักลงทุนสถาบันมากขึ้น ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยนักลงทุนสถาบันจะมีการพิจารณาการลงทุนทุกๆ 3 เดือนก็เป็นโอกาส ที่บริษัทจะได้ลูกค้าเพิ่ม ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนลูกค้ารายย่อย 99% นักลงทุนสถาบัน 1% โดยในครึ่งปีแรก 2549 บริษัทไม่มีแผนที่จะเปิด สาขาเพิ่ม แต่คาดว่าจะมีการเปิดใน ครึ่งปีหลัง จากขณะนี้มี 5 สาขา โดยขณะนี้บริษัทมีลูกค้าเปิดบัญชี 6,000 ราย และมีการซื้อขายสม่ำเสมอ 30-40%

สำหรับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย ต่อวันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 25,000 ล้าน บาทต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาด ว่าจะอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทต่อวัน จากการที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีการซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง และหากได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งปริมาณการซื้อขายดังกล่าวอยู่ในระดับประมาณการไว้ ก็เป็นระดับที่โบรกเกอร์ต่างๆพอใจ

นอกจากนี้ บล.ฟาร์อีสท์ ได้ร่วมทุนกับผู้บริหารจัดการกองทุน เพื่อจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซึ่งเป็นประเภทกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวต ฟันด์) โดยขณะนี้ได้มีการยื่นขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่ง บล.ฟาร์อีสท์จะถือหุ้น 51% โดยจะมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในครึ่งปีหลัง ซึ่งจะทำให้กลุ่มของบริษัทมีธุรกิจที่หลากหลาย

เปิดพอร์ตฟาร์อีสท์

นายศิริวัฒน์ ลิขิตนุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนของ บริษัทนั้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ในส่วน แรกเป็นการลงทุนในพอร์ตระยะสั้น ซึ่งจะเป็นการลงทุนหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ เน้นหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี เช่น ไทยออยล์,ธ.กรุงเทพ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นปีบริษัทได้ขายทำกำไรออกมาจนปัจจุบันนี้เหลือเพียงหุ้น ปตท.เท่านั้น

การลงทุนในส่วนที่ 2 จะเป็น การลงทุนโดยการถือหุ้นใน บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ และบริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยบริษัทจะมีรายได้จากเงิน ปันผลของทั้ง 2 บริษัทและการลงทุนในส่วนที่ 3 คือการลงทุนระยะยาว ได้แก่ การลงทุนในบริษัทที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เช่น บมจ.โรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) และบมจ.ไทยเอนจิน เมนู แฟ็คเจอริ่ง(TEM) ซึ่งหุ้นที่เข้าไปลงทุนเหล่านี้จะติดไซเลนต์พีเรียดด้วย

นอกจากนี้ ยังลงทุนในหุ้นน้องใหม่ เช่น บมจ.ไทยยูนิคคอยล์ เซ็นเตอร์ (TUCC) นอกจากนี้ ยังการลงทุนในกิจการที่มีลักษณะของ การปรับโครงสร้างหนี้ที่ติดต่อให้บริษัทเข้าไปถือหุ้น

สำหรับรายได้ของบริษัทนั้นรายได้หลักจะมาจากการลงทุนในบริษัทที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่ง จะถือเป็นรายได้หลักในอนาคต ส่วนรายได้จาก บล.ฟาร์อีสท์ และบริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก

นายพิทักษ์ กิตติอัครเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัดเปิดเผยว่า การลงทุนในบริษัทที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วนั้น ตามปกติจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 20-50% แต่บริษัทได้ตั้งเป้าว่าจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 50-100%

แผนสองดันบล.เข้าตลท.แทน

สำหรับการนำ บมจ.ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น หลังจากไตรมาสแรกแล้ว บริษัทอาจจะมีการทบทวน เพื่อที่จะปรับแผนการนำเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ใหม่ก็ได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะนำบริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯแทน แต่การนำบริษัทหลักทรัพย์ อาจจะมีความอ่อนไหว ในธุรกิจ เพราะธุรกิจหลักทรัพย์นั้นรายได้จะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้นโดยรวม แต่ถ้านำบริษัทแม่ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนนั้น จะมีความมั่นคงมากกว่า เพราะจะมีรายได้หลายด้าน ไม่ได้พึ่งพิงแต่รายได้จากธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น

นายธำรงค์ เชียรเตชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัดกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารอาคาร สงเคราะห์(ธอส.) ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยจากการศึกษาข้อมูลบริษัทได้แนะนำให้ ธอส.จัดแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนเป็นจำนวน 6 กองซึ่งแต่ละกองจะมีมูลค่าประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ การจัดแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนนั้น ในส่วนแรกจะมีหนี้เอ็นพีแอล 2 กองทุน เพื่อนำไปขายให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งปรากฏว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพ (บสก.)เป็นผู้ประมูลได้ทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างรับโอนหนี้ และหนี้ในส่วนที่ 2 ซึ่งได้จัดแบ่งเป็น 4 กองนั้นทาง ธอส. จะจ้างผู้คนนอกเข้ามาบริหาร

จากการที่บริษัทเป็นที่ปรึกษา ทางการเงินในการแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลนั้น ทำให้บริษัทจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และเชื่อว่ายังมีสถาบันการเงินที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอล และกำลังหาที่ปรึกษาทางการเงินอยู่

นายธำรงค์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทรับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ในทีมของตน จำนวน 3-4 บริษัท ซึ่งได้มีการยื่นไฟลิ่งแล้ว 1 บริษัท คือ เอกรัฐวิศวกรรม ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าระดมทุน 400-500 ล้านบาท และที่เหลือก็จะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์ และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งมีขนาดระดมทุน 100-200 ล้านบาท

ส่วนอีก 1 ทีม มี 2-3 บริษัท เช่น ธุรกิจออแกไนเซอร์ เกษตรและเหล็ก นอกจากนี้ก็จะมีที่ปรึกษา ด้านอื่น เช่น การควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us