Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
ใหญ่ที่สุดกลางกรุงเทพฯ             
 


   
search resources

สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.




Big Idea ของผู้หญิงสองคนคือ ชฎาทิพ จูตระกูล และ ศุภลักษณ์ อัมพุช ที่คิดการใหญ่ ทำโครงการ "Siam Paragon The Pride of Bangkok" บนที่ดินผืนประวัติศาสตร์ 52 ไร่ ใจ กลางกรุงเทพฯ นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนนับตั้งแต่ เปิดตัวโครงการเมื่อต้นปี พ.ศ.2545 ที่ผ่านมา

การดำเนินการได้ลุล่วงไปตามกำหนดที่วางไว้ทุกอย่าง โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอล ที่เคยอยู่เคียงคู่ย่านสยามมานานถึง 36 ปี ถูกรื้อถอนหายลับไปกับสายตาอย่างรวดเร็ว เหลือทิ้งไว้เพียงพื้นที่ว่างเปล่า และต้นไม้ใหญ่อีกไม่กี่ต้น

แต่ก่อนที่ได้ฤกษ์ลงเสาเข็มต้นใหญ่ของโครงการใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ ในบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส์ (BIHC) ซึ่งเคยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 4 ราย คือ บริษัท Six Continents Hotels 28.58% กระทรวงการคลัง 21.74% บริษัททุนลดาวัลย์ 11.06% ธนาคารไทยพาณิชย์ 10.08% และกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีก 200 กว่าราย

โครงการสยามพารากอน เกิดจากการร่วมทุนของบริษัท BIHC กับบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด จัดตั้งเป็นบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนาที่ดิน 25 ไร่ด้านหน้าติดกับถนนพระราม 1 เพื่อทำศูนย์การค้า และศูนย์การบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์นั้นไม่เกี่ยว ข้องกับการพัฒนาที่ดิน

เฟสที่ 2 ซึ่งจะอยู่ด้านหลังโครงการสยามพารากอนและกำลังวางแผนสร้างโรงแรมใหม่พร้อมลักชัวรี่ เซอร์วิสพาร์ตเมนต์

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อบริษัท Six Continents Hotels ได้ขายหุ้นทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 900 ล้านบาท ให้กับบริษัทเอ็มบีเค ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อรวมกับหุ้นเดิม ที่มีอยู่ ทำให้เอ็มบีเคมีหุ้นทั้งหมดใน BIHC ถึง 30.60 เปอร์เซ็นต์ และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปทันที ในขณะที่สัดส่วนผู้ถือหุ้น รายใหญ่คนอื่นยังคงเดิม

เป็นการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งแรกของ BIHC นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ.2502 และส่งผลให้บริษัทนี้กลายเป็นบริษัทที่มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งหมด และนัยที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเปลี่ยนคู่แข่งคนสำคัญให้มาเป็นพันธมิตรทางการค้า โดยมีเป้าหมายผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อพัฒนาแหล่งชอปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

ว่าไปแล้ว ทั้งเอ็มบีเค และ BIHC ก็มีส่วนสัมพันธ์กันพอสมควร เพราะเอ็มบีเค เกิดขึ้นจากการเข้า ไปยึดกิจการมาบุญครองเซ็นเตอร์ จากกลุ่มศิริชัย บูลกุล เจ้าของเดิม ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนธนชาติ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนธนชาติ ก็มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นบริษัททุนลดาวัลย์ ตามการปรับโครงสร้างการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ

ดังนั้นโครงสร้างการถือหุ้นของมาบุญครอง และ BIHC จึงมีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ลักษณะของโครงการ ที่ดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งกัน เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน

ดีลสำคัญที่เอ็มบีเคได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ ใน BIHC ครั้งนี้เกิดโดยมีการซื้อขายผ่านทางบริษัทโบรกเกอร์อสังหาริมทรัพย์ โจนส์ แลงซาล โดยมีบริษัทหลายแห่งในเมืองไทยซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา BIHC มีตัวเลขการเติบโตของรายได้ ที่น่าสนใจ ช่วง 3 ไตรมาส ในปี 2545 มีรายได้ประมาณ 638.4 ล้านบาท โตขึ้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ.2544

ปัจจุบันมาบุญครองเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยาม เซ็นเตอร์ มีทางเดินที่สามารถต่อเชื่อมถึงกันได้หมด รวมทั้งได้วางแผนให้ต่อเชื่อมกับโครงการศูนย์การค้าสยามพารากอนในอนาคต อีกประมาณ 3 ปีข้างหน้าเช่นกัน

จะว่าไปแล้วศูนย์การค้าทั้ง 4 แห่งนั้นมีโพสิชั่นนิ่งที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง

มาบุญครองจะมีจุดยืนทางการตลาดที่เน้นกลุ่มลูกค้าทุกระดับ

สยามเซ็นเตอร์มีเป้าหมายเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น

สยามดิสคัฟเวอรี่จะเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์

ส่วนสยามพารากอนก็จะมุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าระดับสูงค่อนข้าง high-end เป็นเวิลด์คลาสแบรนด์เนม ที่จับกลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนักอย่างเดียวเท่านั้น

แต่เมื่อรวมกันทั้งหมด พื้นที่แห่งนี้คือแหล่งชอปปิ้งในเมืองไทย ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายครบทุกระดับชั้นทีเดียว

หากมองในทางยุทธศาสตร์แล้ว การเข้ามาถือหุ้นใน BIHC เป็นธุรกรรมที่ค่อนข้างมีความหมายต่อเอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้เพราะสามารถยึดพื้นที่ที่เป็นแหล่งชอปปิ้งสำคัญกลางกรุงเทพฯไว้ได้มากที่สุด ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักชอปหลายระดับ

อย่างไรก็ตาม เอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้ ก็ได้ยืนยันว่าในโครงการสยามพารากอนนั้น จะมีส่วนร่วมในฐานะกรรมการของบริษัทเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการทั้งหมดยังคงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของทีมงานบริหารชุดเดิม ที่มีชฎาทิพ และ ศุภลักษณ์ รับผิดชอบหลักอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

สำหรับกรรมการชุดใหม่ จากเอ็มบีเค ที่เข้ามาใหม่ 3 คนคือ บันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการบริหารบริษัทเอ็มบีเค ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ศุภเดช พูนพิพัฒน์ รองประธาน กรรมการบริหาร และสุเวทย์ ธีรวชิรกุล กรรมการผู้จัดการ

กิจกรรมต่างที่จะเกิดขึ้นในย่านปทุมวันในช่วงระยะเวลาต่อไปนั้น แน่นอนว่าแทนที่จะเป็นต่างคนต่างทำ หรือแข่งกันทำ ต้องเปลี่ยนเป็นร่วมมือกันทำเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงให้กับถนนสายชอปปิ้งแห่งนี้ ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่สะท้อน ให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ โดยคนในวงการต้องจับตามองด้วยความสนใจอีกครั้งหนึ่ง

แต่คนที่จะได้จริงๆ น่าจะเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพราะมีส่วนร่วมถือหุ้นอยู่ในทุกบริษัทที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้ทั้งหมด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us