|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หม่อมอุ๋ยส่งสัญญาณขึ้นอาร์/พีอีก 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน 18 ม.ค.นี้ เชื่อเศรษฐกิจปี 49 ขยายตัวได้ถึง 5% การส่งออกเป็นตัวนำแนะรัฐบาลวางยุทธศาสตร์ ประหยัดพลังงาน-ลดการนำเข้า เหตุน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจปีนี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 2549 นี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์/พี 14 วัน) จะยังคงเป็นขาขึ้นต่อไป ซึ่ง ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงกลับมาเป็นบวก ทั้งนี้คาดว่าเงินเฟ้อ เฉลี่ยทั้งปี 49 จะอยู่ที่ระดับ 4% โดยจะอยู่ที่ 6% ในช่วงต้นปี และจะลด ลงเหลือ 3% ในปลายปี
"ธปท.จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ไปจนกว่าจะแซงเงินเฟ้อ แต่ยืนยัน ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดจะขึ้นไม่ถึง 10-12% การขึ้นดอกเบี้ยจะไม่ทำให้ กระทบคนผ่อนบ้าน ผมดูอยู่ ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท.ก็เพื่อรักษาระดับส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ให้ต่ำกว่าดอกเบี้ยโลกมากเกินไป เพื่อให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2549 จนถึงปี 2551 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงติดลบ ดังนั้น เราจึงต้องเร่งให้เกิดการออมภายใน ประเทศ แม้ว่าเงินทุนสำรองของไทยในขณะนี้จะมีอยู่สูงก็ตาม ซึ่งไทยยังต้องพึ่งเงินลงทุนจากต่างชาติ ไหลเข้า ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยโลกขึ้น เราก็ต้องปรับขึ้น" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ธปท.จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 มกราคมที่จะถึงนี้ เพื่อพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ย นโยบายที่ใช้กำหนดทิศทางดอกเบี้ย ของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยอาร์/พี อยู่ที่ 4% ส่วนดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อยู่ที่ 4.25%
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% เนื่องจากปีนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือ การส่งออก และการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งราคาพืชผลเกษตรกรก็ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดมีเงินจับจ่าย ใช้สอย ส่วนการบริโภคในประเทศเริ่มชะลอตัว ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จะหวังพึ่งไม่ได้แต่มีปัจจัยเสริม คือ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) สำหรับสิ่งที่ยังวางใจไม่ได้คือ ราคาน้ำมัน ที่จะทำกดดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากำลังการผลิตเริ่มเต็ม แสดงว่าเอกชนจะต้องเริ่มลงทุนใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม สอดคล้องกับแบงก์ต่างพากันปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงต้นปี แสดงว่าธนาคารพาณิชย์เห็นสัญญาณการขอสินเชื่อจากภาคธุรกิจ และเมื่อสภาพคล่องที่มีอยู่ลดลง เงินที่จะปล่อยสินเชื่อไม่พอ จึงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อระดมเงินฝาก
สำหรับปัจจัยเสี่ยงในประเทศเพียงอย่างเดียว คือ ราคาน้ำมันที่จะยังสูงต่อไปอีก 2-3 ปี ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบต่อไปอีก นอกจากนี้ภาครัฐจะลงทุนเพิ่ม และเอกชนนำเข้าสินค้าทุนยิ่งเป็นปัจจัยกดดันให้ดุลบัญชีฯติดลบ อย่างไรก็ตาม ไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูงถึง 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สามารถรองรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วง
ดังนั้น รัฐบาลจึงควรมีนโยบายลดการใช้พลังงานลง เพื่อจะลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างจริงจัง ประเทศก็จะไปรอด ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นนโยบายที่ดี เช่น รณรงค์ใช้แก๊สโซฮอล์แทนน้ำมันเบนซิน นอกจากนี้ต่างชาติยังเชื่อมั่น ในเศรษฐกิจไทยว่ามีเสถียรภาพ เพราะเงินเฟ้อเริ่มลดลง เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวในระดับสูง ดังนั้น เงินทุนจึงไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงต้นปีนี้ มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 5.1 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้วที่มีเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 1.1-1.2 แสนล้านบาท เพราะ P/E ถูก โดยต่างชาติไม่สนใจปัจจัยการเมือง ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) 10 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา 8.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าสิ้นปีนี้จะถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) นั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ปัญหาในขณะนี้คือ กระบวนการทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งรัฐบาลยังขาดการสื่อสารกับประชาชน มีการแบ่งแยกเรื่องนี้ออกไปไกลจากประชาชน ทำให้เกิดความระแวงสงสัย ไม่คล้อยตาม หากแก้ปัญหาได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะหากไทยไม่เปิดเสรีก็จะเสียเปรียบต่างชาติ ซึ่งเชื่อว่าการเปิด เสรีภาคการเงินจะไม่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน และเป็นสิ่งที่สามารถรับได้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินไทยด้วย
|
|
|
|
|