|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เผยตระกูลชินวัตรขายหุ้นชินคอร์ปฯยกกลุ่มให้พันธมิตรสิงเทล ส่วนเทนเดอร์ออฟเฟอร์เลี่ยงยาก รอประกาศขายหุ้นภายในสัปดาห์นี้เร็วสุด ส่วนตระกูลชินวัตรกลับไปถือหุ้นสิงเทล ด้าน "บุญคลี" ยังปิดปากเงียบไม่ตอบคำถามดีลขายหุ้นชินคอร์ป ขณะที่ชินแซทฯอาจมีเงื่อนไขกลับซื้อคืนกันภายหลัง
แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN) เปิดเผยถึงรูปแบบการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปว่า คาดว่าการขายหุ้นชินคอร์ปในสัดส่วนที่เข้าเกณฑ์ต้องเสนอซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) จะไม่สามารถที่จะเลี่ยงการทำเทนเดอร์ฯได้แล้ว โดยขณะนี้ได้รับการยืนยันว่าการเจรจาได้ข้อยุติลงแล้ว รอเพียงให้พร้อมจะประกาศอย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าเร็วสุด ประกาศได้ภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ การขายหุ้นชินคอร์ปจะขายให้กลุ่มเทมาเส็ก (TAMASEK) และ สิงคโปร์เทเลคอมหรือ สิงเทล เข้ามาถือหุ้นมากกว่า 40% ดังที่ปรากฏกระแสข่าวไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับรูปแบบการขายนั้นมีรูปแบบสุดท้าย คือ กลุ่มสิงเทลได้ยืนยันจะซื้อหุ้นชินคอร์ปโดยมีบริษัทในเครือทั้งหมดติดด้วย แต่ถ้าตระกูลชินวัตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเลือกธุรกิจใดออกมา อย่างเช่น ถ้าจะเก็บ บมจ.ชินแซท-เทลไลท์ (SATTEL) ก็จะมีข้อตกลงกันว่าให้กลับมา ซื้อภายหลัง
อย่างไรก็ดี แต่หากไม่เลือกเก็บบริษัทในเครือใดไว้ก็ได้ เพราะตระกูลชินวัตรก็จะกลับไปถือหุ้นกลุ่มสิงเทลอยู่ดี ทั้งนี้รูปแบบการซื้อขายอาจจะใช้การสวอปหุ้นกันหรือแลกหุ้นกับกลุ่มสิงเทล แต่เนื่องจากวิธีการดังกล่าวอาจจะมีข้อติดขัด ทำให้การเข้าซื้อหุ้นสิงเทลในภายหลังจะทำได้ง่ายกว่า ซึ่งหากตระกูลชินวัตรกลับไปถือหุ้นสิงเทลก็จะเหมือนกับการถือหุ้นไขว้กัน
ขณะที่วานนี้ราคาหุ้นชินคอร์ป ปิดที่ 47 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 3.87% ซึ่งปรับขึ้นสวนทิศทางการลงทุนโดยรวมซึ่งดัชนีหุ้นไทยผันผวน ลดลงโดยปิดที่ 752 จุด ลดลง 3.72 จุด หรือ 0.49% มูลค่าการซื้อขายกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ส่วนราคาหุ้นแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADANC) ปิดที่ 107 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 0.93%
ด้านนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น วานนี้ไม่ยอมตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร
แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้นชินคอร์ปกล่าวอีกว่า การดึงพันธมิตรกลุ่มสิงเทลเข้ามาจะสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มชินคอร์ปอย่างมาก และการเลือกถือหุ้นไขว้กับกลุ่มสิงเทลน่าจะเป็นผลดีต่อทั้ง ตระกูลชินวัตร และสิงเทล อีกทั้งชินคอร์ปก็มั่นใจว่า แม้ว่าทุกวันนี้ธุรกิจในกลุ่มชินคอร์ปจะยังต้องรอความชัดเจนในการแปรสัญญาร่วมการงาน ตลอดจนประเด็นต่างๆ จากการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อกำหนดกรอบ กติกาใหม่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมก็ตาม แต่ชินคอร์ปมั่นใจมากว่าสิ่งเหล่านี้ที่จะเกิดในอนาคตจะไม่เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อกลุ่มบริษัทฯ
อีกทั้งเมื่อมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมแล้ว แม้ว่าจะมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจจะเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้นก็ตาม ผู้ประกอบการรายใหม่ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาด (Barrier to Entry) ทั้งในด้านการสร้างฐานลูกค้าและเงินลงทุน ตลอดจนต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบเครือข่ายและช่องทางการตลาดให้สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎหมายข้อบังคับ และนโยบายของรัฐของกลุ่มบริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการรายใหญ่ และได้มีการเตรียมตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างดี อาจจะเปลี่ยนความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวมาเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจได้อีกด้วย
นอกจากนี้ แม้ว่าก่อนการเปิดเสรีโทรคมนาคม อาจมีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงจากผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อขยายฐานลูกค้าก่อนที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้าตลาด และการแข่งขันจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำไรของผู้ประกอบการลดลง และรายเล็กอาจได้รับความเสียหายทางการเงินอย่างหนัก ดังเช่นที่เกิดขึ้นในตลาดอื่นๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเหลืออยู่ในตลาดเพียงไม่กี่รายและทำให้เกิดผลกระทบด้านลบแก่ผู้บริโภค
แต่สำหรับแอดวานซ์ฯยังคงเชื่อว่ากลยุทธ์ด้าน ราคาจะเพียงแค่ทำให้เกิดการรับรู้ในหมู่ผู้ใช้บริการ (awareness) และจะไม่สามารถดำเนินอยู่ได้นานในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากธุรกิจนี้ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก และคุณภาพของเครือข่ายและบริการจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำคัญในการสร้างความผูกพันและเสริมสร้างความภักดีของลูกค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจไม่สามารถใช้กลยุทธ์ด้านราคาต่ำได้อีก เนื่องจากมีต้นทุนสำหรับค่าเชื่อมโยงโครงข่ายในอนาคต
|
|
 |
|
|