|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังแจงแนวทางปรับโครงสร้างภาษีระยะยาว หลังนายกฯประกาศปฏิรูประบบภาษีของประเทศเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ชี้หลักการปรับยึด 3 ปัจจัย คือ รายได้เพียงพอ รับกระแสเปิดเสรี และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ระบุยังพึ่งรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก ย้ำเก็บไว้ปรับเป็นอันดับสุดท้าย ขณะที่รายการภาษีที่ปรับแน่ คือภาษีเงินได้นิติบุคคล-บุคคลธรรมดา ศุลกากรนำเข้า และการเพิ่มพิกัด-อัตราภาษีสรรพสามิต
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย ปรับปรุงโครงสร้างภาษี เปิดเผยว่า หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศปฏิรูประบบภาษีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้นักลงทุนภาคเอกชนรับฟัง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ทางสภาที่ปรึกษาธุรกิจได้เรียก สศค.เพื่อสอบถามถึงแนวทางการปรับโครงสร้างภาษี
ทั้งนี้ ทาง สศค.ได้ชี้แจงว่าปัจจัยที่จะกำหนดกรอบโครงสร้างภาษีใหม่จะมีอยู่ 3 ประการหลัก ประกอบด้วย 1.ความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) 2.กระแสการเปิดเสรีการค้า ซึ่งในอีก 10-15 ปีข้างหน้า อัตราภาษีศุลกากรน้ำเข้าจะลดลงจนเป็น 0% ทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของกรมศุลกากรจนเป็นศูนย์ 3.เมื่อจำเป็นต้องปรับระบบภาษีตามเหตุผล 2 ข้อดังกล่าวแล้ว ก็ปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไปพร้อมๆ กันเลย ไม่ใช่เฉพาะปรับเพื่อชดเชยรายได้กรมศุลกากรเท่านั้น
“เราบอกกับสภาที่ปรึกษาฯ ว่าจะเพิ่มมิติในการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงว่า การจัดเก็บภาษีแต่ละประเภท มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงอยู่ เช่น ภาษีสรรพสามิต เพื่อจำกัดการบริโภคสินค้าหรือบริการที่เป็นโทษต่อสังคม หรืออย่างภาษีศุลกากร ก็เพื่อเป็นกำแพงป้องกันการนำเข้าสินค้า เป็นต้น ไม่อยากใช้ภาษีตัวเดียวบรรลุวัตถุประสงค์หลายอย่าง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ด้วย”นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จาก 3 ปัจจัยข้างต้น ทำให้ได้ 4 เป้าหมายในการปรับปรุง คือ 1.การปรับภาษีจะต้องอยู่ในกรอบที่สามารถจัดเก็บรายได้ได้เพียงพอกับรายจ่ายของรัฐบาลและ อปท. อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการฟันธงว่าจะปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีอื่นๆ 2.เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ 3.จัดการกับผลกระทบภายนอก เช่น การดูแลทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษทั้งหลาย และ4.เพิ่มมิติการเก็บภาษีเพื่อดูแลสังคม สาธารณสุข
ทั้งนี้ หลังจากศึกษาโครงสร้างภาษีของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศที่พัฒนา(OECD) ย้อนหลัง 10 ปี สศค.ได้วางกรอบแนวทางการปฏิรูประบบภาษีเบื้องต้นเป็นกรอบกว้างๆ ดังนี้ 1.ในส่วนของภาษีสรรพากร วจะมีการปรับปรุงภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน พิจารณาความจำเป็นในการมีอยู่ของการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ และการปรับปรุงภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะต่างๆ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจะยังคงไว้ก่อน เพราะถือว่าเป็นภาษีที่สร้างรายได้หลักเป็นอันดับแรกของไทยในปัจจุบัน
ในส่วนของภาษีสรรพสามิต จะมีการปรับปรุง 3 ส่วน คือ การเพิ่มอัตราภาษีสินค้าหรือบริการที่อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่มีผลกระทบต่อสังคม(Sin Tax) การเพิ่มพิกัดภาษี เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม และการพิจารณาความจำเป็นในการยกเลิกจัดเก็บภาษีบางรายการที่รายได้จัดเก็บไม่คุ้มกับต้นทุนในการจัดเก็บ รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
สำหรับภาษีศุลกากรนั้น ในอนาคตจะลดลงจนเป็น 0% อย่างแน่นอน ดังนั้น จึงต้องระบุอุตสาหกรรมดาวรุ่งให้ชัดเจนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอุตสาหกรรมที่ปรับปรุงไปแล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สำหรับในปี 2549 นี้จะปรับโครงสร้างภาษีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มฐานภาษีใหม่ๆ เช่น ภาษีบนฐานทรัพย์สิน อาทิ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการรอกระบวนการทางกฎหมาย หรือ ภาษีมรดก รวมถึงการปฏิรูปภาษีท้องถิ่น เช่น ภาษีป้าย ซึ่งปัจจุบันเก็บตามขนาด และภาษี ส่งผลให้มีการใช้เทคนิคเพื่อหลบเลี่ยงจ่ายภาษีแพง
|
|
|
|
|