Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
Barclays Capital กับตลาดตราสารหนี้             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

Revival of the Empire British Connection
Cultural Metamorphosis
UK-School Intellectual Womb?
ManUtd. Mega store From Culture to business
Habitat ความทันสมัยเหนือกาลเวลา
BOOTS เชื่อมั่น อยู่รอด
Tesco Colonized Trader
Orange : Global Brand Value from UK
Barclays Capital กับตลาดตราสารหนี้

   
search resources

Barclays Capital
กัลณิการ์ ตริยางกูรศรี




สำหรับผู้นำโดดเด่นสุดในตลาดตราสารหนี้ บนเกาะอังกฤษคงหนีไม่พ้น บาร์เคลย์ แคปปิตอล และพวกเขากำลังเข้ามาสร้างและขยายบทบาทตามเส้นทางความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ

ค่ำคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา ณ บริเวณบ้านพักสถานทูตอังกฤษ คลาคล่ำไปด้วยแขกผู้มีเกียรติ พร้อมกับการแสดงดนตรีแจ๊ซ โดยวงฟองน้ำ และแฟชั่นโชว์ผลงานของดีไซเนอร์นาการ่า ที่มาแสดงความยินดีกับการฉลองเปิดสำนักงานแห่งใหม่ล่าสุดของบาร์เคลย์ แคปปิตอล ภายใต้ชื่อ บล.บาร์เคลย์ แคปปิตอล (ประเทศไทย)

อย่างไรก็ตาม บาร์เคลย์ แคปปิตอล เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 หลังจากซื้อใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์จาก บล.ดีบีเอส โดยใช้เวลาจัดทัพเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านบาท นับเป็น เม็ดเงินจำนวนมากสำหรับการดำเนินงานธุรกิจหลักทรัพย์ นั่นหมายความว่าบริษัท มองเห็นโอกาสในเส้นทางการทำงานที่เรียกว่า Global Powerhouse

"การเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบาร์เคลย์ แคปปิตอล สะท้อนความมุ่งมั่นของพวกเราที่มีต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ยิ่งส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระดับโลกของบริษัท" โรเบิร์ต มอร์ริส ประธานและประธานกรรมการบริหารของบาร์เคลย์ แคปปิตอล ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีใบอนุญาตด้านธุรกิจหลักทรัพย์ครบสมบูรณ์ แต่นโยบาย หลักการดำเนินงานเน้นด้านวาณิชธนกิจ (Investment Bank) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กร รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง และในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน

นี่คือเส้นทางที่เชี่ยวชาญเพื่อบริการ และสนับสนุนลูกค้าตนเองด้วยยุทธศาสตร์ การดำเนินธุรกิจระยะยาวในตลาดที่มีสภาพ การแข่งขันสูง "ในเมืองไทยพวกเราไม่ทำ Retail Bank แต่มุ่งเน้นการทำตลาดตราสาร หนี้และบริหารความเสี่ยง" กัลณิการ์ ตริยาง กูรศรี Managing Director Debt Capital Markets/Investment Banking บาร์เคลย์ แคปปิตอล ประจำประเทศไทยอธิบาย

ขณะเดียวกัน การดำเนินงานด้านวาณิชธนกิจบริษัทมุ่งเน้นเฉพาะตลาดตราสารหนี้ (Debt Market) เท่านั้น จะไม่ ทำด้านตลาดทุน (Equity Market) "ถ้าทำ ทุกตลาดอาจจะไม่ได้ดีสักอย่าง ดังนั้นบาร์เคลย์ แคปปิตอล มุ่งเน้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุด" เธอบอก

การตัดสินใจเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เกิดจากการเล็งเห็นแนวโน้มการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันตลาดดังกล่าวยังมีขนาด เล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดเงินกู้และตลาดทุน โดยหากพิจารณาแล้วพบว่าในขณะนี้ตลาดเงินกู้มีสัดส่วนถึง 70% ส่วนที่เหลือเป็นตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ แต่ในอนาคตบาร์เคลย์ แคปปิตอล คาดว่า สัดส่วน ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไป โดยตลาดตรา สารหนี้จะเข้ามามีสัดส่วนในตลาดสูงขึ้น

"ถ้าประชาชน นักลงทุนเข้าใจตลาด ทางการเงินมากขึ้น ตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนจะเติบโตมากขึ้นด้วย ตลาดเงิน กู้น่าจะเริ่มลดลง โดยมีธนาคารพาณิชย์ เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง 2 ตลาดนี้เข้าด้วย กันมากกว่าทำหน้าที่เพียงรับฝากเงิน" กัลณิการ์ชี้ "ขณะที่การพัฒนาตลาดการเงิน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้คนเริ่มหันมาดูว่าเงินที่เก็บไว้สามารถนำไปลงทุนในช่องทางไหนได้บ้างนอกเหนือจากการฝากธนาคาร ตลาดกองทุนรวมเริ่มเติบใหญ่ ตลาดตราสารหนี้ย่อมเติบโตเช่นเดียวกัน"

ความมั่นใจดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการที่เธอมองว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นวิกฤติ มาแล้ว รวมถึงทิศทางการเติบโตทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศ และนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนตลาดตราสารหนี้ และตราสารทุนให้เติบโตมากขึ้น เนื่องจากตลาดเหล่านี้เป็น ส่วนประกอบสำคัญของภาพรวมเศรษฐกิจมากกว่าการปล่อยกู้จากธนาคารพาณิชย์

สอดคล้องกับมอร์ริสที่ให้เหตุสำหรับการเข้ามาดำเนินกิจการในตลาดเมืองไทยว่า "เรามองเห็นศักยภาพ และความเชื่อมั่นในตลาดนี้ และมุ่งมั่นที่จะสืบสานสัมพันธภาพที่มีต่อลูกค้าทั้งที่เป็นบริษัทไทย และองค์กรของรัฐให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น"

เมื่อบาร์เคลย์ แคปปิตอล มองเห็นโอกาสการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้นในฐานะผู้มาใหม่ (Newcomer) จึงไม่ใช่เหตุผลหลักที่ต้องกังวล ในทางกลับกันจากนี้ไปบริษัทมีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น สังเกตจากภายในช่วงเวลาไม่กี่เดือนนับตั้งแต่ได้ เปิดดำเนินการก็ได้เป็นอันดับ 3 ใน Corporate Bond League Tables สำหรับตลาดหุ้นกู้ในไทย จากการสำรวจโดยบลูมเบิร์ก

"คิดว่าคงจะเข้ามาช่วยดู Balance Sheet ให้กับลูกค้า นอกเหนือไปจากการทำตลาดตราสารหนี้ว่าการให้ Solution กับลูกค้าไม่ได้หมายความว่าให้เงินเพียงอย่างเดียว ต้องให้รู้ว่าเงินได้ไปแล้วบริหารความเสี่ยงอย่างไร บรรลุเป้าหมายในตลาด ต่อไปอย่างไร" กัลณิการ์เล่า "นอกเหนือจากโครงสร้างของหนี้และทุนเป็นเท่าไร พวกเรามองว่าหลังจากเข้ามาแล้ว ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยยังมีบริษัทเข้าไปช่วยบริหารได้อย่างไร"

เธออธิบายต่อไปว่า การดำเนินงาน ด้านนี้อยู่ที่ความเข้าใจของลูกค้า นักลงทุน และผู้ออกตราสาร อีก ทั้งการบริหารความเสี่ยง ระบบการเข้าใจกลไกตลาดเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้โครงสร้างเหล่านี้เกิดขึ้น "ในระยะยาวตลาดตราสารหนี้จะมีการพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตรงกับความต้องการของ นักลงทุน และเราใช้ตราสารอนุพันธ์เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงให้กับลูกค้า"

นั่นหมายความว่า บาร์เคลย์ แคปปิตอล เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย แน่นอนนักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่บริษัทนำเสนอมีความได้เปรียบคู่แข่งพอสมควรทางด้านรูปแบบและความเหมาะสม

"ปัจจุบัน ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราเองในฐานะที่เป็นคนกลางสามารถก้าวเข้ามาช่วยให้พวกเขาได้รับสิ่งที่ต้องการได้"

อย่างไรก็ดี เมื่อนักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็มากขึ้น ดังนั้นนอกจากบริษัทเสนอทางเลือกให้ลูกค้าแล้ว ต้องเสนอข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่เช่นนั้นตลาดตราสารหนี้เติบโตโดยไร้การควบคุม

หากพิจารณาความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ กัลณิการ์มั่นใจว่าด้วยแรงสนับสนุนจากบริษัทแม่ทั้งสินทรัพย์ ทุน บวกกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AA และมีความเสี่ยงการทำธุรกิจในเอเชียค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้ขีดความสามารถทำงานในเมืองไทยมีสูง

"ด้วยนโยบายทำธุรกิจระยะยาว นอก จากผลตอบแทน บริษัทต้องการเห็นตลาด ตราสารหนี้ไทยแข่งขันกับตลาดโลกได้ ดังนั้นส่วนหนึ่งของเราจะทำหน้าที่เสมือนทูตในการนำบริษัทคนไทยเข้าไประดมทุนในยุโรป" เธอกล่าว

บาร์เคลย์ แคปปิตอล มีบทบาทในภูมิภาคเอเชียมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 700 คนใน 9 ประเทศในภูมิภาคนี้ และสำนักงานในเมืองไทยเป็นแห่งล่าสุดต่อจากสำนักงานที่กรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อเดือนเมษายน 2001

บาร์เคลย์ แคปปิตอล ในอดีตชื่อ Barclays de Zoete Wedd (BZW) เป็นบริษัทในเครือของบาร์เคลย์ ธนาคารสัญชาติอังกฤษ ดำเนินกิจการด้านวาณิชธนกิจ เมื่อประมาณปลายปี 1997 บริษัทแม่ได้ขายธุรกิจด้านตลาดทุนของ BZW ให้กับ Credit Suisse First Boston (CSFB) เหลือเพียงธุรกิจด้านตลาดหนี้ และเปลี่ยนชื่อเป็นบาร์เคลย์ แคปปิตอล

ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์ 357,000 ล้านปอนด์ และทุนมากกว่า 24,000 ล้านปอนด์ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน ระดับ AA

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us