|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
-เอส.อี.ซี.กรุ๊ปสยายปีธุรกิจยานยนต์เต็มรูปแบบ ยึดแนวนำเข้ารถยนต์ได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ
-เตรียมนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตุนกระสุนรุกสร้างเครือข่าย
-ผู้ผลิตรถยนต์ไม่หวั่นมองเป็นการช่วยสนับสนุนสร้างแบรนด์ทางหนึ่ง ยืนยันแม้นำเข้าอิสระแต่ก็ต้องให้บริการตามหน้าที่
ในปี 2549 นี้ เอส.อี.ซี. กรุ๊ป น่าจะมีความโดดเด่นมากที่สุดในตลาดรถยนต์ไทย โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์นำเข้าอิสระหรือเกรย์ มาร์เก็ต ซึ่งมีการตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ 1,200 คัน จากรถยนต์ในกลุ่มเอ็มพีวี และเอสยูวี ที่น่าสนใจคือ แนวการทำตลาดรถยนต์ของเอส.อี.ซี.ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา และน่าจะเป็นแนวโน้มในปีนี้คือ การเริ่มขยายตลาดสู่กลุ่มรถยนต์ในแบรนด์ยุโรปที่มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทำตลาดในเมืองไทยมากขึ้น ตั้งแต่เมอร์เซเดส เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู หรือแม้แต่รถยนต์ญี่ปุ่นบางรุ่นของหลายๆ แบรนด์ที่บริษัทเหล่านี้ต่างก็นำรถรุ่นเดียวกันเช้ามาทำตลาดเช่นกัน
นั่นเป็นสัญญาณอันที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์นอกจากจะต้องแข่งกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ด้วยกันเองแล้ว ยังต้องแข่งขันกับบริษัทผู้นำเข้ารถยนต์อิสระอีกด้วย
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของตลาดเกรย์นัก เพราะในอดีตที่ผ่านมาบริษัทผู้นำเข้ารถยนต์อิสระหลายๆ แห่งก็มีการนำเข้ารถยนต์ ทับรุ่นกับบริษัทผู้ผลิตที่นำเข้ามาทำตลาด จนทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างบริษัทผู้ผลิตและเกรย์ มาร์เก็ต ช่วงหนึ่ง แต่เหตุการณ์เหล่านี้เงียบหายไประยะหนึ่ง
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อรถจากผู้ผลิตรถยนต์มากกว่า เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องของการซ่อมบำรุงในระยะยาว ซึ่งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์มีความพร้อมมากกว่าในเรื่องเครือข่ายศูนย์บริการ
แต่การเริ่มขยายตลาดของ เอส.อี.ซี.ฯ ในระยะหลังนี้น่าจับตามองมากขึ้น เมื่อเริ่มนำเข้ารถยนต์แบรนด์ยุโรปอย่างบีเอ็มดับเบิลยู จนถึงรถยนต์ระดับซูเปอร์คาร์อย่าง ปอร์เช่ จนถึงการนำเข้ารถยนต์เข้ามาชนกับผู้ผลิตอย่าง นิสสัน มูราโน่ ,มาสด้า เอ็มเอ็กซ์ 5 และเลกซัส เป็นต้น
ข้อได้เปรียบของเอส.อี.ซี.ในการนำเข้ารถยนต์เหล่านี้ คือความรวดเร็ว และออฟชั่น เอส.อี.ซี.จะมีความได้เปรียบเหนือกว่าบริษัทรถยนต์มาก เพราะมีขั้นตอนการบริหารงานที่ไม่ยุ่งยาก สามารถจัดส่งรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามความต้องการ ขณะที่ออฟชั่นบางอย่างก็แตกต่างจากรถยนต์ที่นำเข้าจากบริษัทผู้ผลิต เช่น ซัน ลูฟ เป็นต้น
ไพบูลย์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ เอส.อี.ซี. กรุ๊ป บอกว่า ในปีนี้มีแผนใช้เงินงบประมาณ 150 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเปิดสาขาและโชว์รูมเพิ่มอีกอย่างน้อย 2 แห่ง ได้แก่ สาขาพระราม 2 ใช้งบลงทุน 50-60 ล้านบาท และสาขาขอนแก่น ซึ่งเป็นของดีลเลอร์ด้วยงบลงทุน 30-40 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีสาขารวมทั้งหมด 8 แห่ง
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปีแรก เอส.อี.ซี.มีแผนจะนำเข้ารถยนต์อีกราว 3-4 รุ่น อาทิ โตโยต้า รุ่นเอสติม่า เครื่องไฮบริดจ์ รวมถึงรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ระดับ 2000 ซีซี. ลงมาเป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยหันมานิยมรถขนาดเล็กมากขึ้นนั่นเอง
วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด มองสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นเรื่องปกติทั่วไปของการแข่งขันในตลาดเสรี เมื่อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนที่ได้รับความนิยมจะมีผู้นำเข้าหลายราย ไม่จำกัดเฉพาะบริษัทผู้ผลิตเท่านั้น และด้วยความรับผิดชอบในฐานะบริษัทผู้ผลิตก็ต้องมีหน้าที่ในการให้บริการรถยนต์นำเข้าเหล่านั้น แม้จะนำเข้าจากผู้นำเข้าอิสระก็ตาม
“ผมมองในมุมที่เป็นบวก สำหรับบีเอ็มฯ แล้วเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่ารถยนต์บีเอ็มฯ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพียงแต่เราต้องทำงานให้เร็วขึ้นเพื่อแข่งกับเกรย์มาร์เก็ตด้วย ซึ่งปัจจุบันเราถือว่าสามารถส่งรถให้ลูกค้าได้รวดเร็วตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ส่วนในเรื่องออฟชั่นนั้น ความแตกต่างจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าเป็นผู้เลือกว่าจะซื้อรถจากใคร เพราะออฟชั่นบางอย่างผู้นำเข้าอิสระก็มีไม่เหมือนเรา” วิทย์กล่าว
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเอส.อี.ซี. อีกประการหนึ่งคือ เรื่องของเครือข่าย เพราะล่าสุดได้มีการเซ็นสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของเอส.อี.ซี.ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งถือเป็นผู้แทนจำหน่ายในต่างจังหวัดรายแรกของเอส.อี.ซี.ฯ และมีแนวโน้มว่าจะมีการตั้งตัวแทนจำหน่ายลักษณะเดียวกันในอีกหลายๆ จังหวัด ทำให้เห็นว่าเครือข่ายธุรกิจเกรย์มาร์เก็จของเอส.อี.ซี.กำลังขยายตัวมากขึ้น ทั้งในเรื่องการขายและการให้บริการ
นอกจากนี้การที่ บริษัทเอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอส.อี.ซี.กรุ๊ป รวมถึงบริษัทเอส.อี.ซี.เอ็กคลูซีฟ คาร์ จำกัดและบริษัทเพชรบุรีตัดใหม่ เอส.อี.ซี. กรุ๊ป จำกัด เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัยพ์แห่งประเทศไทย โดยจะมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปจำนวน 100 ล้านหุ้นหรือคิดเป็น 25% จากของหุ้นสามัญจำนวน 400 ล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณว่า เอส.อี.ซี.ฯ กำลังเดินหน้าเต็มตัวกับการรุกตลาดรถยนต์นำเข้าอิสระ โดยเฉพาะหากในอนาคตผู้นำเข้ารถยนต์อิสระรายนี้สามารถสร้างเครือข่ายได้ครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ๆ ได้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์คงต้องทำงานกันหนักขึ้น และอาจต้องเหลียวมองและให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวนี้
|
|
|
|
|