|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อเริ่มสร้างธุรกิจ องค์กรบางองค์กรประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่บางองค์กร ดูอย่างไรก็ไม่แน่ใจว่าจะเข็นขึ้นหรือเปล่า วันนี้ เรามาลองดูกันนะคะ ว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้องค์กรที่พึ่งเริ่มต้น ไปไม่ถึงจุดหมาย
• ขาดประสบการณ์และความสามารถที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก
หลายต่อหลายครั้ง ที่องค์กรองค์กรหนึ่งมีปัญหาจนถึงขั้นล้มเหลว เนื่องจากน้ำมือของคนในองค์กรเอง ดิฉันชอบคำคมคำหนึ่งที่ว่า "The company can only be as good as its people" นั่นคือองค์กรจะดีหรือไม่ดี ก้าวหน้า หรือไม่อย่างไร สามารถวัดได้จากคนในองค์กรค่ะ
องค์กรที่อยู่รอด คือองค์กรที่ตระหนักถึงปัญหาและหาทางแก้ไขก่อนที่คนนอกองค์กรหรือลูกค้าจะเจอปัญหาเหล่านั้น เพราะบางทีปัญหาที่รับทราบแล้ว อาจถูกเก็บไว้ใต้พรม ไม่ได้นำมาแก้ไขให้เป็นรูปธรรม นาน ๆ เข้า สิ่งเหล่านี้ จะทำให้องค์กรเต็มไปด้วยปัญหาได้
มากไปกว่านั้น หากคนคนหนึ่ง คุ้นชินกับการทำงานในระบบใหญ่ ที่มีแขนขามากมาย แผนกนู้น แผนกนี้ ที่คอยช่วยเหลือ สิ่งที่คุณต้องทำ คือคิดหากลยุทธ์ และมอบหมายงาน แต่การที่ต้องมาเริ่มทำธุรกิจจากศูนย์ ก็อาจสร้างความปวดหัวให้กับคุณได้ เพราะคุณจะต้องพับแขนเสื้อ ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะเล็กที่สุดด้วยตัวของคุณเอง ซึ่งบางคน อาจไม่คุ้นชินกับสิ่งเหล่านี้ก็ได้
• จังหวะและเวลาไม่เหมาะสม
ไอเดียที่ดี หากอยู่ในช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม นั่นถือเป็นโอกาสทองทางธุรกิจ แต่หากตลาดยังไม่ยอมรับ หรือผู้ผลิตยังไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำสินค้าเหล่านั้นออกมาได้ นี่ก็อาจทำให้องค์กรไปไม่ถึงฝั่งฝัน
• ขาดข้อมูลและความเข้าใจในตลาด
บางธุรกิจที่มาแรง เป็น trend ของยุค จะมีประโยชน์อะไรเล่า หากเราเข้าไปทำโดยขาดความรู้ ความเข้าใจในตลาดนั้นๆ จริงอยู่ข้อมูลมีทั่วไป แต่ความสามารถในการจับเอา "ชิ้น" ของข้อมูลที่น่าสนใจมาเล่นนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดีนะคะ
• ขาดจุดแข็งของตนเอง
หากคิดทำในสิ่งที่ใคร ๆ เขาทำกัน แค่นี้ก็ผิดแล้วค่ะ การหาจุดแข็งที่เหมาะสม และลอกเลียนแบบได้ยาก เป็นสิ่งรับประกันความล้มเหลวได้ดี
• ขาดข้อมูลและความเข้าใจเกี่ยวกับคู่แข่ง และสภาวะการแข่งขัน
การเริ่มธุรกิจบางตัวของผู้ประกอบการรายเล็ก อาจเป็นการปลุกยักษ์ใหญ่ให้ตื่นเพื่อมาลองทำตลาดสินค้าตัวนั้น ๆ ก็เป็นได้ ดังนั้น การวิเคราะห์ถึงคู่แข่ง ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และลองดูว่า เรามีศักยภาพพอที่จะต่อกรกับพวกเขาหรือไม่จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
• ขาดโฟกัสของธุรกิจ
เราอาจกลายเป็นคนหยิบหย่งหรือองค์กรซำเหมาได้ หากธุรกิจของเรา ไม่มีการ focus ที่แน่นอนว่า เราจะมุ่งไปทางไหน หรือองค์กรของเรา คืออะไรในสายตาผู้บริโภค
• ขาดทรัพยากรที่ต้องการ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ
บางทีหากงบประมาณหรือกำลังคนมีจำกัด ก็อาจเป็นการยากที่จะขยายธุรกิจให้ใหญ่โตยิ่งขึ้น หรือในบางธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนสูง แล้วเม็ดเงินของเรามีไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้ธุรกิจเราล้มเหลวได้
• ความรู้ความสามารถของสมาชิกในทีมไม่สามารถเกื้อกูลกันได้
ยิ่งองค์กรยิ่งเล็ก คนในองค์กรย่อมต้องเก่งและมีความสามารถรอบด้าน หรือหากไม่เช่นนั้น ก็ต้องประกอบเป็นหยิงหยาง นั่นคือสามารถเอาส่วนดีส่วนด้อยมาประกอบหักลบกัน เพื่อให้เกิดเป็นส่วนผสมที่กลมกล่อม สมบูรณ์
• ยอมแพ้เร็วเกินไป หรือดื้อดึงเกินไป
ดั่งเช่นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ หากมันตึงหรือหย่อนเกินไป ก็ย่อมไม่เป็นการดี การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน หาก เรายอมแพ้เร็วจนเกินไป การงานสิ่งใดคงประสบความสำเร็จได้ยาก แต่ในขณะเดียวกัน หากสิ่งที่เราทำไปไม่เกิดผล คนชิดใกล้ เตือนแล้วว่ามันไม่น่าจะประสบความสำเร็จ แต่เรายังคงดื้อดึง ดันทุรังอยู่ อย่างนี้ ก็ไม่น่าจะเป็นผลดีนักนะคะ
|
|
|
|
|