Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
Tesco Colonized Trader             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Revival of the Empire British Connection
Cultural Metamorphosis
UK-School Intellectual Womb?
ManUtd. Mega store From Culture to business
Habitat ความทันสมัยเหนือกาลเวลา
BOOTS เชื่อมั่น อยู่รอด
Orange : Global Brand Value from UK
Barclays Capital กับตลาดตราสารหนี้

   
search resources

Tesco




จากรากฐานและทักษะของการดำเนินธุรกิจแบบ Trading Company ที่แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางในยุคอาณานิคม การเข้ามาของ Tesco บรรษัท ผู้ประกอบการค้าปลีกอันดับหนึ่งจากอังกฤษใน ประเทศไทย อาจเป็นเพียงปรากฏการณ์ ที่ผลิตซ้ำประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น

การเคลื่อนย้ายทุนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยของ Tesco ด้วยการ ซื้อหุ้น 75% ของโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จากกลุ่มซี.พี. เมื่อปี 1998 อาจทำให้ชื่อเสียง ของ Tesco เป็นที่คุ้นเคยต่อการรับรู้ของผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้นในฐานะผู้ประกอบ การค้าปลีก Modern Trade ที่มีเครือข่ายและทรงอิทธิพลมากที่สุดรายหนึ่งของวงการ

แต่นั่นอาจเป็นเพียงภาพจำลองของปรากฏการณ์ในระดับสากล ที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสการต่อต้านผู้ประกอบการค้าปลีกจากต่างประเทศ ที่ทยอยเข้ามา แข่งขันขยายสาขายึดครองตลาด ไม่แตกต่างจากเมื่อครั้งที่พวกเขาเดินทางไกลมา ล่าอาณานิคม

ตลอดเวลาที่ผ่านมาการลงทุนขยายสาขาของ Tesco ในแต่ละท้องถิ่นดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับความพยายามประชาสัมพันธ์ถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนของการกระตุ้นบรรยากาศการลงทุน และการว่าจ้างแรงงานชาวไทยที่ปัจจุบันมีมากกว่า 14,000 อัตราที่มีสิทธิในการเลือกทำงานในสาขาที่ใกล้ภูมิลำเนาด้วย

แต่ความพยายามครั้งสำคัญของ Tesco ในการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ให้กลมกลืนกับสภาพ และความรู้สึกของผู้คนในระดับท้องถิ่นที่เด่นชัดที่สุดอยู่ที่การ เปิดตัวสาขาใหม่ของ Tesco บนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อช่วงปลายปี 2002 ที่ผ่านมา ซึ่งย่อมไม่ใช่รูปธรรมครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในความพยายามของ Tesco ที่มุ่งหมายจะสร้างเสริมมาตรการครองใจผู้บริโภคตลอดจนพนักงานชาวไทย เพื่อลดทอนแรงเสียดทานทางสังคมที่เผชิญอยู่นี้

ทรงอาคารที่ประกอบขึ้นจากสถาปัตยกรรมประยุกต์แบบไทย-ภาคใต้ ดูจะไปได้ดีกับความรู้สึกของชุมชนที่เรียกร้องความกลมกลืนจากผู้ประกอบการรายนี้ ท่ามกลางบริบทรอบข้างของเมืองท่องเที่ยวที่ดูเหมือนว่าระบบผังเมืองมีค่าน้อยกว่า จำนวนนักท่องเที่ยวด้วยซ้ำ

บางทีสิ่งที่ Tesco ได้ตระหนักและรับรู้ น่าจะอยู่ที่ลำพัง รูปแบบของการ กองให้สูง-ขายให้ถูกŽ (pile it high and sell it cheap) ที่ประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง อาจไม่เพียง พอสำหรับตลาดไทย สาขาลำดับที่ 41 ของ Tesco บนเกาะ สมุยจึงเป็นประหนึ่งการทำหน้าที่ legalized alienation ขณะ ที่สาระสำคัญทางธุรกิจของ Tesco มิได้แตกต่างไปจากสิ่งที่บรรษัทการค้าในอดีตได้ดำเนินการมามากนัก

การลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างไทยและอังกฤษ ในปี 1855 หรือที่เรียกขานกันในนามสนธิสัญญาบาวริ่ง เป็นประหนึ่งปฐมบทของการเปิดสยามประเทศให้มีฐานะเป็นตลาดที่ผนวก รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจการค้าโลก โดยมีบริษัทการค้าจากอังกฤษและชาติตะวันตกอื่นๆ ทยอยเข้ามาแสดงบทบาทในฐานะผู้แทนการค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น บอร์เนียว (1882), แองโกล-ไทย (1900) ฯลฯ

บทบาทของบริษัทการค้าเหล่านี้ นอกจากจะนำเข้าสินค้าสมัยใหม่ที่ผลิตขึ้นจากความก้าวหน้าของระบบอุตสาหกรรมในยุโรป เข้าสู่ตลาดไทยและอาณานิคมแห่งอื่น ทั่วทุกภูมิภาคของโลกแล้ว ในทางกลับกันธุรกรรมที่สร้างมูลค่าให้บริษัทเหล่านี้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็คือ การดูดซับและรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าพื้นเมืองส่งออกกลับไป ซึ่งมิเพียงจะหล่อเลี้ยงผู้คนในดินแดนเจ้าอาณานิคมเท่านั้น หากยังหมายถึงการกระจายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับแหล่งวัตถุดิบอื่นๆ ด้วย

Trading Company มิได้เน้นเรื่องกระบวนการผลิต หรือการสร้างตราสินค้า ของตัวเองขึ้นมากนัก หากแต่บริหารจัดการลำดับชั้นและเครือข่ายของแหล่งผลิตและตัวแทนการค้าแต่ละราย โดยมีส่วนต่างของราคาซื้อ-ขายเป็นกลไกที่หล่อเลี้ยง ธุรกรรมของพวกเขา

ข้อแตกต่างระหว่างธุรกรรมของ Tesco ในห้วงเวลาปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ กับสิ่งที่บรรดา Trading Company ได้ดำเนินการมาในอดีต หากจะมีอยู่ก็น่าจะเป็นประเด็นที่ว่า Tesco ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ถ่ายเทสินค้าจากแหล่งผลิตหนึ่งไปสู่ตลาดในอีกแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ Tesco ในฐานะผู้ประกอบการค้าปลีกยังมีพื้นที่ หน้าสัมผัสที่เป็นกลไกสำคัญในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากกว่าเดิม

จำนวนสาขาที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของไทยรวม 41 แห่ง ทำหน้าที่ เป็นศูนย์กระจายสินค้าเข้าสู่ชุมชนไทยอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเครือข่ายและอำนาจ ต่อรองที่ทรงอิทธิพลเหนือบรรดา supplier แต่ละราย

ขณะเดียวกันเครือข่ายสาขาของ Tesco ที่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลรวม 20 แห่ง และเขตหัวเมืองใหญ่ในส่วนภูมิภาค 21 แห่งยังสะท้อนสภาวะความไม่เท่าเทียมของการพัฒนา ที่ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง นิยามว่าเป็นสภาพของอาณานิคมภายในประเทศ (Internal Colonialism) อีกด้วย

ซึ่งนั่นย่อมมิใช่ความรับผิดชอบของ Tesco ในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด หาก เป็นเพียงวิวัฒนาการของระบบการค้าที่ปรากฏ ขึ้นจริงอยู่เบื้องหน้า และสังคมไทย เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ได้ในระดับใดเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us