Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มกราคม 2549
ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับ"พันธมิตร"แบงก์-ประกันชีวิตแลกหมัดชิงเงินออม             
 


   
search resources

Interest Rate




ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยนอนแน่นิ่งสลบเหมือดต่ำแตะพื้นอยู่นานหลายปี ธุรกิจประกันชีวิตดูเหมือนจะเบ่งบาน ผลิดอกออกผล เพราะเม็ดเงินออมที่ถูกผลักไสจากธนาคารพาณิชย์แทบทุกแห่งต่างก็ไหลมากองรวมกันจนเบี้ยประกันของบริษัทหลายแห่งทะลุชนเพดาน ก่อนหน้านี้อาจเป็นชั่วโมงทองของประกันชีวิต แต่หลังจากนี้เม็ดเงินกำลังจะเปลี่ยนเส้นทางเดิน ไหลคืนกลับไปกองในตู้เซฟธนาคาร ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยหมุนกลับทิศไปในแดนบวก พื้นที่ว่างสำหรับพันธมิตร "แบงก์-ประกันชีวิต" จึงเหลือน้อยเต็มที....

แบงก์และประกันชีวิตที่เคยประกาศความเป็นพันธมิตรในรูปแบบ "แบงแอสชัวรันส์" หรือขายกรมธรรม์ผ่านสาขาแบงก์ ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยปักหัวดิ่งเหว มาวันนี้ความสัมพันธ์ที่เคยกลมเกลียวเหนียวแน่นก็กำลังคลายตัวลง เพราะผลของการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ย

ช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยด้อยค่า นายแบงก์ส่วนใหญ่เลือกที่จะผลักเงินฝากก้อนโต ที่กลายมาเป็นภาระต้นทุนออกไปแบบไม่ใส่ใจใยดี และช่องทางที่ดีที่สุดก็คือ ใส่พานประเคนให้กับพันธมิตรร่วมทางเดินอย่างประกันชีวิต ระหว่างนั้นก็จะเห็นสินค้าประกันชีวิต ประเภทออมทรัพย์ระยะสั้นฮิตติดตลาด และมีหน้าตาไม่ต่างจากบัญชีเงินฝากเท่าใดนัก

แต่ความเป็นเพื่อนร่วมเดินทางก็ต้องสิ้นสุดลงเมื่อ ดอกเบี้ยวิ่งไต่ระดับขึ้นเร็วเพราะแรงกดดันจากหลายทิศทาง แบงก์เริ่มเรียกกลับเงินก้อนโตที่เคยอพยพออกจากตู้เซฟจากทั่วทุกสารทิศ โดยเริ่มจากการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่เป็นระยะๆ โดยเริ่มจากดอกเบี้ยเงินก้อนโตสำหรับลูกค้ารายใหญ่

ไล่เรียงมาจนถึงเงินก้อนสำหรับเงินฝากประจำ ปลายปีก่อนแทบทุกแบงก์ฉวยจังหวะระดมเงินฝากในทุกรูปแบบ ยกเว้นเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่มีทีท่าจะขยับในเร็ววันนี้

กสิกรไทยขยับขึ้นเงินฝากอีก 0.25-1% ตั้งแต่เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามวงเงิน พร้อมออกบริการเงินฝากประจำฟิกส์-พลัสสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ประเภทฝากประจำ 3 เดือน วงเงินไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท และมีวงเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ณ สิ้นวันทำการไม่น้อยกว่า 5 หมื่นบาท จะได้รับดอกเบี้ย 3%

นอกจากนั้น ยังมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ แบบฝากต่อเนื่องลูกค้านิติบุคคลพิเศษระยะเวลาฝากตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป วงเงินฝาก 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับดอกเบี้ย 2.75%

ค่ายบัวหลวงก็ไม่ต่างกันมากนักเริ่มทยอยปรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกระยะ แต่วงเงินต้องไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ดอกเบี้ยจึงแยกประเภทตามระยะเวลา วงเงินและประเภทลูกค้า

แบงก์กรุงศรีอยุธยา ก็ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำไล่หลังมาติดๆ โดยปรับตั้งแต่ 0.25-0.75% กำหนดวงเงินน้อยกว่า 1 ล้านบาทไปจนถึง 30 ล้านบาทขึ้นไป

แบงก์กรุงไทยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 0.75% ต่อปีในเวลาเดียวกับแบงก์กรุงศรีฯ กำหนดวงเงินน้อยกว่า 1 ล้านบาท ถึง 10 ล้านบาทขึ้นไป

โดยมีเงินฝากกรุงไทยทวีคูณ ซึ่งเป็นเงินฝากปลอดภาษี ที่ผู้ฝากต้องฝากเท่ากันทุกเดือนเป็นเวลา 24 เดือน อัตราผลตอบแทนอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนสุงสุดบวก 1% ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 4.25% ต่อปี เพิ่มขึ้น 0.75% ต่อปี

แบงก์นครหลวงไทย ถึงจะปรับไปก่อน 2 แบงก์ข้างต้น กลับขยับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทเพียง 0.25%

เมื่อรวมกันแบงก์ขนาดใหญ่ดูจะเลือกจะดูแลลูกค้ารายใหญ่ กระเป๋าหนักมากกว่าเงินออมรายย่อยทั่วไป ซึ่งไม่ต่างจากแบงก์ต่างชาติอย่าง ยูโอบี ที่ออกโปรโมชั่นไปก่อนหน้านี้ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำรายใหม่ที่มีวงเงินตั้งแต่ ต่ำกว่า 1 ล้าน 3 ล้านและ 10 ล้านบาทขึ้นไป

ซิตี้แบงก์ขยับตัวในช่วงปลายปีก่อนบ่อยครั้ง ด้วยการรุกตลาดบัญชีเงินฝากประจำแบบคล่องตัว ลูกค้าสามารถเบิกถอนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ และเงินที่ถอนก็สูงกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์ โดยยอดคงเหลือในบัญชีจะได้รับดอกเบี้ย 3.5% เมื่อครบระยะเวลาฝาก

โดยลูกค้าจะถูกกำหนดยอดถอนเงินแต่ละครั้ง 10,000 บาทและผู้ฝากต้องเริ่มฝากเงินในบัญชีชนิดใหม่ 5 แสนบาท และได้รับดอกเบี้ยในช่วงแนะนำสูงถึง 3.5%

ขณะที่สแตนดาร์ดชาร์ดเตอร์ดนครธน ดูจะเป็นแบงก์ที่เคลื่อนตัวอย่างว่องไว มีการปล่อยโปรโมชั่นสำหรับรูปแบบบัญชีเงินฝาก "แม็กซ์เซฟเวอร์" ที่จูงใจลูกค้าให้เปิดบัญชีออมทรัพย์คู่ฝากประจำ โดยให้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาและวงเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ กำหนดวงเงินตั้งแต่ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท โดยเงินฝากประจำ 48 เดือนดอกเบี้ยสูงถึง 5%

แต่รายที่เพิ่งจะปล่อยสินค้าเป็นรายล่าสุด คือธนาคาร HSBC ประเทศไทย ที่ใช้แคมเปญ "บัญชีเงินฝากทันใจ" จูงใจเจ้าของเงินออมเปิดบัญชีฝากประจำ 3 เดือนถึง 24 เดือน โดยกำหนดวงเงินฝากตั้งแต่ 3 แสนบาท ลูกค้าที่เปิดบัญชีภายในวันที่ 31 มีนาคม จะได้รับดอกเบี้ยสูงสุด 4% ต่อปีขึ้นกับระยะเวลาฝากและจำนวนเงินฝาก

ความต่อเนื่องของการค่อยๆปรับดอกเบี้ยอยู่เป็นระลอกของบรรดาแบงก์ทั้งใหญ่และเล็ก ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเริ่มเรียนรู้ถึงการเผชิญชะตากรรมที่ต่างออกไปจากช่วงที่ดอกเบี้ยถูกแช่แข็งให้นอนแช่อยู่กับพื้น

ว่ากันว่าดอกเบี้ยวิ่งขึ้นมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนจากการลงทุนของธุรกิจประกันชีวิตก็เริ่มเห็นท้องฟ้าสว่างสดใส แต่อีกมุมหนึ่งที่คาดไม่ถึงก็คือ สินค้าหรือกรมธรรม์ถ้าให้ผลตอบแทนไม่สูงพอ เจ้าของเงินก็อาจเบือนหน้าหนี

ผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตถึงกับบ่นว่า เว้นแต่ว่า ต้องมีกรมธรรม์หรูเลิศ อลังการให้ความคุ้มครองสูงๆ แต่เบี้ยเท่าเดิมเท่านั้นที่จะใช้เป็นแม่เหล็กดึงเม็ดเงินเข้ามาในระบบได้ แต่ที่ว่าก็ทำไม่ได้เพราะติดหลักเกณฑ์ข้อบังคับ

มีธุรกิจประกันชีวิตบางรายที่ยังดันทุรังปล่อยสินค้าที่มีหน้าตาคลับคล้ายคลากับเงินฝากคือให้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่การการันตีผลตอบแทนสูงๆก็ไม่ต่างจากการทำร้ายตัวเอง เพราะตัวเลขเบี้ยที่ดูสวยหรูแต่ผลประกอบการบริษัทอาจสั่นคลอนได้ในที่สุด

ตรงกันข้ามธุรกิจประกันชีวิตหลายรายเลือกจะหันมาจับธุรกิจขั้นพื้นฐานคือความคุ้มครองชีวิต หรืออาจผสมผสานกับการออมทรัพย์ระยะยาว ที่มีเงินคืนตามเงื่อนไขพร้อมผลประโยชน์

กรมธรรม์ที่คลอดออกมาในระยะหลัง มีค่อนข้างมากที่เลือกขายผ่านช่องทางตัวแทน โดยไม่ขายผ่านแขนขาหรือช่องทางขายของแบงก์พันธมิตร พร้อมกับอัดฉีดผลประโยชน์ให้กับทีมขายเป็นพิเศษ

ในสมัยหนึ่ง แบงก์อาจจะมีฐานลูกค้า มีช่องทางสำหรับผู้ผลิตสินค้าให้กับพันธมิตรประกันชีวิต กลายเป็นสูตรสำเร็จที่ค่อนข้างลงตัว แต่เมื่อถึงวันที่เกิดสงครามช่วงชิงเงินออม ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ คู่พันธมิตรที่เคยปรองดองกันก็ต้องหาทางออกให้กับตัวเอง

ทางที่ว่าก็คือ การเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า จากที่เคยขายสินค้าตัวเดียวในร้านเดียว ก็หันมาขายสินค้าของใครมัน คนละร้าน เพราะชั่วโมงสงครามไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับพันธมิตร...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us