|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้แผนสูงเปิดทางออกหนีกรอบรัฐคุมเข้มโฆษณาทางจอทีวี มาโผล่กลางเมืองด้วยสื่อกลางแจ้งสมัยใหม่ ประสิทธิภาพแจ๋วคนเห็น-เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งเมือง ผสานความหมายแฝงความสูงสื่อถึงความพรีเมี่ยมของแบรนด์ได้อีกต่างหาก
หากได้ลองสังเกตตึกในเขตกทม.จะพบว่าปัจจุบันมีการหุ้มตัวอาคาร-ตัวรถและการใช้บัลลูนเป็นสื่อโฆษณากันมากขึ้น
สำหรับสินค้าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียลเอสเตท อุปกรณ์สื่อสาร หรือรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะหันมาใช้สื่อประเภทนี้ เป็นเวทีโฆษณาที่จะคงไม่ใช่เรื่องแปลกนัก หากแต่พบว่าตึกใหญ่ ๆ ในเมืองกรุงเริ่มมีการหุ้มตัวอาคารเพื่อโฆษณาสินค้าที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการโฆษณาบนสื่อเคลื่อนที่อย่างรถส่งของและแท็กซี่ก็ถูกบรรดาน้ำเมาใช้เป็นสื่อโฆษณาในระยะหลัง นับว่าเป็นก้าวที่สามของพัฒนาการจากป้ายคัทเอาท์โฆษณาทั่วๆไปที่นิยมใช้กันในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้งที่ไม่เอื้ออำนวยระยะการมองเห็นที่ถูกบดบัง การใส่ลูกเล่นไม่ได้มากนัก รวมถึงหาทางออกจากการถูกกีดกันของใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีข้อกำหนดมากมายด้านการนำเสนอและเวลาที่ออกอากาศ
รูปแบบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่เริ่มมีการนำมาใช้กันเพื่อที่จะข้ามออกจากกรอบอันจำกัดไปสู่การรับรู้อันไม่จำกัด
วิทอง ตัณฑกุลนินาท ผู้จัดการทั่วไป เอ็กเซลเล้นท์ กราฟฟิก ผู้ผลิตสื่อโฆษณา มองว่าจุดประสงค์หลักของการที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้สื่อโฆษณาด้วยเทคนิคใหม่ๆ เหล่านี้ก็เพื่อสร้างช่องทางการรับรู้ให้มากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากมาตรควบคุมเวลาการออกอากาศซึ่งประกาศใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2546 อนุญาตให้ยิงสปอตได้เฉพาะช่วง 22.00-05.00 น.เท่านั้น ส่งผลให้โฆษณาอาจจะไม่ครอบคลุมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากเหมือนก่อนหน้านี้
ขณะที่โฆษณาหุ้มตึก สื่อเคลื่อนที่และบอลลูนนี้จะมีประสิทธิภาพสามารถเข้ามาเสริมการรับรู้ในทดแทนโฆษณาช่วงกลางวันได้ดี ไม่ต้องเปิดโทรทัศน์ก็ยังเห็นได้เนื่องจากทำเลที่สังเกตได้ชัด สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักได้ดี นอกจากนี้ความสูงของโฆษณาที่หุ้มอยู่บนตึกนั้นยังสามารถสื่อถึงความพรีเมี่ยมและเหนือชั้นของแบรนด์ไปในตัวได้อีกด้วย
ในขณะที่แหล่งข่าวจากวงการวางแผนสื่อโฆษณารายหนึ่งให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า เดิมทีการโฆษณาเครื่องเดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โทรทัศน์เป็นสื่อหลักเพราะครอบคลุมได้ทั่วประเทศ แต่หลังจากรัฐได้ออกกฎหมายควบคุมเวลาโฆษณาให้อยู่ในช่วง 4ทุ่ม-ตี5 ซึ่งในทางปฏิบัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะโฆษณาอยู่เพียง 2 ชั่วโมงแรกเท่านั้นคือ 4ทุ่ม-เที่ยงคืน ประกอบกับล่าสุด สสส.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐก็ออกโฆษณารณรงค์ให้ประชาชนลดการบริโภคของมึนเมาอีก ทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ลดลงไปมากและหันมาให้น้ำหนักมากขึ้นกับการจัดกิจกรรมและสื่อ Below the line อย่างเช่นสื่อ ณ จุดขายแทน รวมถึงการเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนกีฬาประเภทต่างๆอาทิ ฟุตบอลและชกมวย ซึ่งก็จะมีผลพลอยได้จากการเป็นโฆษณาแฝงในการถ่ายทอดสดกีฬานั้นๆ
สำหรับการการใช้สื่อโฆษณาชนิดหุ้มตึกและสื่อเคลื่อนที่นั้นจะเริ่มต้นโดยใช้วิธียิงสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์สักพักหนึ่งเป็นหัวหอกมาปูทางสร้างกระแสในวงกว้างก่อนจากนั้นจึงค่อยใช้สื่อเหล่านี้ตามออกมาเพื่อสนับนุนตอกย้ำการรับรู้ในระยาวอีกครั้งซึ่งจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีฐานลูกค้าใหญ่ในกทม.ได้ดีอีกทั้งยังประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการกระหน่ำโฆษณาโดยยิงสปอตโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีความระมัดระวังในการใช้สื่ออยู่พอสมควรไม่ได้ลงโฆษณากันมากมายเกร่อไปหมดเนื่องจากต้องระวังในเรื่องของภาพลักษณ์และการรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไปด้วย มิฉะนั้นแล้วโฆษณาก็อาจนำผลล่อมาสู่แบรนด์ได้เช่นกัน
คาดว่ารูปแบบการโฆษณาดังกล่าวนี้คงมีตามออกมาให้ได้เห็นอีกเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้จะสามารถเข้าไปจับจองทำเลทองได้มากขนาดใหนและตราบใดที่รัฐยังไม่ออกกฎข้อบังคับอื่นๆเพิ่มเติมออกมา
ทั้งนี้จากการพิจารณาผลกระทบของการที่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ออกมาใช้อาคารสูงเป็นสื่อในการโฆษณา โดยสามารถสลัดพ้นจากกฏหมายควบคุมการโฆษณาที่ระบุว่าป้ายโฆษณาสินค้าประเภทนี้จะต้องห่างจากรัศมีสถานศึกษาไม่ต่ำกว่า 500 เมตร แต่ด้วยความสูงที่โดดเด่นของอาคารอาจทำให้สถานศึกษาแม้อยู่นอกรัศมีของอาคารนั้นพลอยมองเห็นไปด้วยโดยไม่จงใจ อย่างเช่นกรณีของอาคารใบหยกทาวเวอร์ 2 ที่ตั้งอยู่ในเขตราชเทวีใจกลางกรุงเทพฯซึ่งหุ้มด้วยโฆษณาสุราจอห์นี่ วอล์กเกอร์ แบล็กเลเบิ้ล ส่งผลให้ผู้คนที่อยู่อาศัยในเขตรอบๆในรัศมีไม่ต่ำกว่า6-8 กิโลเมตรจากพื้นราบ โดยเฉพาะหลาย ๆ โรงเรียนบนถนนศรีอยุธยา เห็นโฆษณาเครื่องดื่มฉลากดำก่อนเข้าโรงเรียน และก่อนกลับบ้าน เป็นประจำทุกวัน
ด้านผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา น.พ.บัณทิต ศรไพศาล กล่าวว่าภาพรวมการใช้งบโฆษณาประเภท Above the line ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปี 2548 มีแนวโน้มที่จะลดลงอีก จากปี2547 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้า 10.6% หลังเริ่มมีการควบคุมในปี 2546 โดยเหลือเพียง 2,235 ล้านบาทจากเดิมที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย7%ทุกปีตั้งแต่ปี 2544 งบโฆษณาทั้ง 3 ชนิดลดลงจากเดิมคือ โฆษณาทางโทรทัศน์ลดลงจาก 1,727 ล้านบาทเป็น 1,412 ล้านบาท ลดลง 18.2% โฆษณาทางวิทยุลดลงจาก 172 ล้านบาทเป็น 87 ล้านบาทหรือ -49.1% และงบโฆษณากลางแจ้งจาก 78 ล้านบาทเป็น 62 ล้านบาทหรือ-20.7% แต่กลับมีผลให้เกิดการโฆษณาทดแทนในสื่อใหม่ๆมากขึ้นโดยสื่อโฆษณาเคลื่อนที่เพิ่มจาก 1.7 ล้านบาทเป็น 12 ล้านบาทหรือ +583% สื่อโฆษณาในห้าง ร้านค้าต่างๆเพิ่มจาก 3.3 ล้านบาทเป็น 8.4 ล้านบาทหรือ +148% นับได้ว่าสื่อชนิดใหม่นี้เป็นทิศทางของการลงทุนโฆษณาธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
|
|
|
|
|