Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
Habitat ความทันสมัยเหนือกาลเวลา             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Revival of the Empire British Connection
Cultural Metamorphosis
UK-School Intellectual Womb?
ManUtd. Mega store From Culture to business
39 ปี Habitat
BOOTS เชื่อมั่น อยู่รอด
Tesco Colonized Trader
Orange : Global Brand Value from UK
Barclays Capital กับตลาดตราสารหนี้

   
www resources

BBC Homepage
www.guardian.co.uk
www.telegraph.co.uk
www.business2.com

   
search resources

Habitat Thailand
ชนินทร์ สิริสันต์
Furniture




เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านจาก "Habitat" เป็นสินค้าอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์และ บุคลิกของคนอังกฤษ ที่กล้าเข้ามามี อิทธิพลกับชีวิตของผู้คนในเมืองไทย ในช่วงเกิดวิกฤติทางการเงิน

เมื่อ 5 ปีก่อน หลังจากชนินทร์ สิริสันต์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Habitat (Thailand) ตกลงซื้อแฟรนไชส์ "แฮบิแทต" จากประเทศอังกฤษมาได้เพียงไม่นาน ภาวะเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะพุ่งดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันหนึ่งในที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท ถึงกับมีคำถามขึ้นมาว่า จะปิดบริษัทยอมขาดทุนตั้งแต่ตอนนั้นหรือจะยังไม่ยอมแพ้เดินหน้าต่อไปดี

ด้วยความมั่นใจของทีมงานและหุ้นส่วนบริษัทที่เชื่อมั่นในตัวแฮบิแทตว่า ในระยะยาวแล้ว สินค้าในลักษณะนี้คือ "ของจริง" ที่ต้องขายได้และเป็นที่ต้องการ ของผู้คนในอนาคตแน่นอน

หลังจากนั้นงานพิมพ์ แค็ตตาล็อก ที่จะต้องระบุราคาสินค้าแต่ละชิ้นลงไป ด้วยก็เริ่มขึ้น พร้อมๆ กับประกาศลดราคาเงินบาท อย่างแรกที่ชนินทร์ทำได้ในตอนนั้นก็คือสั่งโรงพิมพ์ลบราคาของสินค้าออกจากแค็ตตาล็อก เพื่อจูงใจให้คนได้มีโอกาสเข้ามาเห็นสินค้า ก่อนที่จะปฏิเสธเพราะราคาที่ค่อนข้างสูงเป็นเหตุ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นเขาพยายามยืนราคาเดิม แล้วก็บริหารต่อไป ทั้งๆ ที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เพราะสินค้าเกือบทุกชิ้นในร้านแฮบิแทต ล้วนนำเข้าจากประเทศอังกฤษทั้งสิ้น

ในช่วงเริ่มต้นกิจการ แฮบิแทตประสบปัญหาในเรื่องการขายอย่างหนัก เพราะนอกจากเป็นแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเข้ามาและยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของลูกค้าในเมืองไทยแล้ว ยังต้องเจอกับปัญหาวิกฤติของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาการลดค่าเงินบาทที่กระหน่ำซัด ซ้ำเติมเข้ามาอย่างเต็มๆ ด้วย

แฮบิแทต ต้องใช้กลยุทธ์ในเรื่องราคา ในเรื่องบริหารจัดการ และการลดต้นทุน จนสามารถผ่านวิกฤติคราวนั้นมาได้ พร้อมๆ กับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผู้บริหารมั่นใจพอที่จะเริ่มมอง ทำเลแห่งใหม่ในเมืองไทย เพื่อขยายสาขา รวมทั้งกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการที่จะขยายไปยังประเทศสิงคโปร์ซึ่งชื่อเสียงของแฮบิแทต เป็นที่รู้จักอย่างดีอยู่แล้ว

"5 ปีที่ผ่านมาเรายังอยู่ได้เพราะการตอบรับค่อนข้างดีมีลูกค้ากลุ่มหนึ่ง เป็นลูกค้าเราตั้งแต่ปีแรกแล้วยังกลับมาซื้อตลอดเวลา ยอดสมาชิกของแฮบิแทตตอนนี้ มีประมาณ 5-6 พันราย เมมเบอร์จะมาร้านแฮบิแทตอย่างน้อย 1 ครั้งในเวลา 2 เดือน หลายคนคงไม่ทราบนะครับว่าจริงๆ แล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ลูกค้าของเราเป็น ลูกค้าคนไทย มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เป็นนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และชาวต่างชาติที่อาศัยในเมืองไทย"

ลูกค้าคนไทยของแฮบิแทตส่วนใหญ่ จะเป็นคนรุ่นใหม่มีหน้าที่การงานและฐานะที่ค่อนข้างมั่นคง ชนินทร์ได้ให้คำนิยามผู้ที่เป็นลูกค้าของแฮบิแทตเพิ่มเติมว่า เป็นกลุ่มของผู้ที่รักบ้านมากเป็นอันดับ 1 สนใจในเรื่องคุณภาพชีวิต รัก และมีความ สุขที่จะให้ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเป็นของ ที่มีดีไซน์

ปัจจุบัน แฮบิแทตในเมืองไทยเป็นเพียงสาขาเดียวในเอเชีย ก่อนหน้าที่แฮบิแทตจะถูก Ingvar Kamprad (ผู้ซึ่งมีรายชื่อติดใน Fobes Billionaire List) เจ้าของ Ikea ซื้อไปนั้น ในเอเชียเคยมีสาขาของแฮบิแทตในประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง แต่เมื่อระบบการบริหารแฟรนไชส์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สาขาในสองประเทศ นั้นก็เลยปิดตัวไปเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว

ตามข้อตกลงในการซื้อแฟรนไชส์มาเปิดที่ไทยนั้น ชนินทร์ยังได้รับสิทธิ พิเศษ สามารถเปิดร้านในประเทศอื่นๆ ในเอเชียอีกด้วย

"วันนี้มันเหมือนกับเราได้มาอยู่ตรงจุดเริ่มต้นอีกครั้ง ในขณะที่หนทางข้างหน้าน่าจะแจ่มใส และไทม์มิ่งนี้ ก็เป็นช่วงที่ดีสำหรับการลงทุนด้วยเพราะต้นทุน ในเรื่องพื้นที่ขายยังอยู่ในช่วงทรงตัว" ชนินทร์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" อย่างค่อนข้าง มั่นใจภายใต้บุคลิกที่ดูง่ายสบายๆ ดูเหมือนว่า เขาเป็นผู้บริหารในวงการธุรกิจคนหนึ่งที่ไม่ค่อยยอมเปิดตัวให้สัมภาษณ์เท่าไรนัก จะเห็นเป็นภาพข่าวในหน้าสังคมเสียมากกว่า หรือไม่ก็จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ของเขาในหนังสือ ตกแต่งบ้านทั่วไป เพราะนอกจากแฮบิแทตแล้ว ปัจจุบันชนินทร์ยังมีบริษัทที่ เขาบริหารอยู่หลายบริษัท เช่น บริษัท Chanintr Fine Furnishings นำเข้าสินค้า ระดับสูงจากอเมริกา บริษัท Chime Design รับตกแต่งภายใน และดีไซน์เฟอร์ นิเจอร์เพื่อการส่งออกและบริษัท CHMsystems บริษัทนำเข้าเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน (office furniture) ระดับสูง

ปัจจุบัน แฮบิแทตมีอยู่ประมาณ 100 สาขา ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ประมาณ 80 สาขา ที่เหลือจะอยู่ในประเทศสเปน เบลเยียม เยอรมนี และประเทศไทย

ชนินทร์ สิริสันต์ ยืนยันว่าปัจจุบันบริษัทแม่ของแฮบิแทตจากประเทศอังกฤษ ยังไม่มีแผนที่จะเปิดสาขาเองในเอเชีย เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่กำลังให้ความสำคัญในการ บริหารแฟรนไชส์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยยึดหลักการที่ไม่รุกเร็ว แต่ค่อยขยับแต่ละก้าวอย่างมั่นคงมากกว่า

ชนินทร์เติบโตและไปเรียนหนังสือในประเทศ อเมริกาตั้งแต่อายุ 5 ขวบจบปริญญาตรีทางด้านการเงินและการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กและมาเรียน MBA ที่ศศินทร์ และเป็นคนหนึ่งที่ชอบงานดีไซน์ และเรื่องตกแต่งบ้านอย่างมาก เมื่อกลับมาเมืองไทย เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา จึงได้ปักหลัก ทำธุรกิจทางด้านเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายในมาโดยตลอด

แม้จะเติบโตมาจากประเทศอเมริกาและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นั่น แต่เมื่อตัดสินใจทำธุรกิจเปิดร้านขายเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าตกแต่งบ้านเขากลับเลือกแฮบิแทต สินค้าที่สะท้อนบุคลิกผู้คนจาก ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลที่ว่าการดีไซน์ของแฮบิแทต จะออกสไตล์ยุโรปมากกว่าอเมริกัน และเป็นสไตล์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนไทยได้ดีมาก

จากประสบการณ์ในชีวิตจริง ชนินทร์พบว่าในประเทศอเมริกา หรือยุโรป ซึ่งผู้คนมีคุณภาพของชีวิตที่ดี จะให้ความสำคัญกับเรื่องบ้านเป็นอันดับแรก แล้วถึงจะไปมองเรื่องรถ ต่างกับวิถีชีวิตในเมืองไทยหรือเอเชียที่ให้ความสำคัญกับเรื่องรถยนต์ที่หรูหราราคาแพงกว่าบ้าน แต่เขาได้เห็นชัดเจนว่า หลังจากเมืองไทยประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ความคิดของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องบ้านที่อบอุ่นสวยงามเพิ่มขึ้น โดยเรื่องรถกลับไปเป็นปัจจัยรอง

"ผมมั่นใจตั้งแต่แรกแล้วว่าใน 5 ปี 10 ปี ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปแน่ เมื่อฐานะเขามั่นคงขึ้น ความต้องการในเรื่องของแต่งบ้านที่แน่นอนชัดเจนและชีวิตของเขาต้องมีดีไซน์เพิ่มขึ้น แล้วก็เป็นจริงอย่างที่คาด ทุกวันนี้ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเป็นสากลมากขึ้น

ในพื้นที่ 800 ตารางเมตรของร้านแฮบิแทต ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่มีสินค้า หลัก 6 ประเภทคือ เครื่องครัวของใช้บนโต๊ะอาหาร, ของตกแต่ง, ไฟ, งานสิ่งทอ, เฟอร์ นิเจอร์ และงานเบาะ สินค้าทั้งหมดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ถูกออกแบบมาจากทีมงานดีไซเนอร์ในประเทศอังกฤษ อีก 20 เปอร์เซ็นต์ ทีมงานของแฮบิแทตไปรวบรวมเสาะหา มาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

90 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าที่แฮบิแทตเมืองไทย สั่งซื้อจากบริษัทแฮบิแทตในอังกฤษ แต่อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ชนินทร์สามารถเลือก ซื้อของเข้าร้านเองเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในเมืองไทยมากที่สุด

ชนินทร์อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้สาขา ส่วนใหญ่ของแฮบิแทตจะอยู่ในยุโรป และมีทีมงานดีไซเนอร์เป็นชาวตะวันตกทั้งหมด แต่แนวทางการดีไซน์กลับไม่มีผลต่อสินค้าซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ของคนเอเชีย เป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของผู้คนที่มีความสากลมากขึ้น และผลงานดีไซน์ที่ทันสมัย มีความ เป็นตะวันตกและตะวันออกที่ผสมกลมกลืน ไปอย่างสวยงามนั่นเอง ทำให้สินค้าของแฮบิแทตเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก

แต่ละปีหัวหน้าทีมงานทางด้านดีไซน์ของแฮบิแทต ที่ชื่อ Tom Dixon ได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เขามา เมืองไทยประมาณ 2 ครั้งต่อปี เพื่อศึกษาและค้นหาไอเดียจากคนไทย แล้วนำไปประกอบกับแนวคิดของเขา ว่ากันว่านายทอมคนนี้ รักและหลงใหลเมืองไทยมากทีเดียว และมันได้สะท้อนไปยังผลงานของเขาที่ออกมาด้วย

ทอม มีอายุประมาณ 40 ปี เป็นผู้ที่ออก แบบเฟอร์นิเจอร์ให้กับยี่ห้อดังๆ ของประเทศอิตาลี และอังกฤษ มาก่อนหลายปี ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับแฮบิแทต เป็นดีไซเนอร์ที่ Sir Terence Conran เคยให้สัมภาษณ์ เขาดีใจที่แฮบิแทตได้คนนี้เข้ามาเพราะมีแนวคิดตรงกันกับเขาซึ่งเป็นคนก่อตั้งคนแรกอย่างมากๆ ทีเดียว

ในช่วงเกิดวิกฤติทางการเงินที่ผ่านมานั้นแฮบิแทต เลือกที่จะโฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้ารายได้ สูง เพราะมองว่า เป็นทางเดียวที่ทำให้บริษัทจะอยู่รอดได้ ในขณะเดียวก็ต้องพยายามลดมาร์จินลง เพื่อให้สินค้าราคาลดลง และลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายเข้า บริษัทแม่จากอังกฤษเอง ก็ได้ช่วยเหลือโดยเอางานเบาะงานโซฟามาผลิตที่เมืองไทยบางส่วน โดยที่นำเข้าพวกวัสดุ เช่น พวกโครง พวกผ้าเข้ามา และทางเอเย่นต์จะ รับผิดชอบในเรื่องการหาโรงงานที่มีคุณภาพและควบคุมการประกอบสินค้าต่างๆ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถตั้งราคาได้ในราคาที่ลดลง และลดอัตราการเสี่ยงในเรื่องค่าเงินที่ผันผวน อยู่ตลอดเวลาได้อีกด้วย

"ในขณะเดียวกันก็พยายามใช้กลยุทธ์ทางด้านการขาย โดยทำไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้งกับลูกค้าโดยตรง พยายามเน้นให้สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกให้มากขึ้น เรารู้ชัดว่าเรามีกลุ่มอยู่ ตรงไหนเราต้องดูแลให้ดีที่สุด"

การบริการหลังการขาย การให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้า ที่เป็นสมาชิกในเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องที่ทางบริษัทพยายามหากลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ตลอดเวลา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us