Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
UK-School Intellectual Womb?             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Revival of the Empire British Connection
Cultural Metamorphosis
ManUtd. Mega store From Culture to business
Habitat ความทันสมัยเหนือกาลเวลา
BOOTS เชื่อมั่น อยู่รอด
Tesco Colonized Trader
Orange : Global Brand Value from UK
Barclays Capital กับตลาดตราสารหนี้

   
search resources

Dulwich International College Phuket
Shrewsbury International School
International School




คงไม่มีสินค้าและบริการชนิดใดจากประเทศอังกฤษ ที่สามารถส่งผ่านอิทธิพลทางความคิดในระดับนานาชาติได้มากเท่ากับระบบการศึกษาของ ราชอาณาจักรอันเก่าแก่แห่งนี้ และด้วยคุณค่ามาตรฐานของสังคมไทยในปัจจุบัน นี่อาจเป็น ห้วงเวลาของการ reproduction ผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้กรอบความคิดเดิมที่น่าสนใจยิ่ง

การเปิดตัวโรงเรียน Shrewsbury International School ในฐานะโรงเรียน จากอังกฤษแห่งที่ 3 ที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคมปี 2545 ที่ผ่านมา โดยจะเริ่มดำเนินการเรียนการสอนได้ในช่วงกลางปี 2546 อาจได้รับการประเมินว่าเป็นเพียงรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ของนักพัฒนาที่ดินที่พยายาม พลิกฟื้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ

เนื่องเพราะการเปิดโรงเรียน Shrewsbury International School ขึ้นในประเทศไทย ในครั้งนี้ มีชาลี โสภณพานิช แห่ง City Realty เป็นผู้แถลงถึงการลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท

หากในอีกมิติหนึ่งกรณีดังกล่าว นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมากในแวดวงการศึกษาไทยและเป็นทิศทางที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะการเข้ามาตั้งโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ภายใต้ชื่อสถานศึกษาชั้นนำของอังกฤษ 3 แห่ง ล้วนแต่มีรากฐานความสัมพันธ์กับสังคมไทยมานานกว่า 100 ปี และเป็นภาพสะท้อนอิทธิพลทางความคิดที่ระบบการศึกษาอังกฤษมีต่อสังคมไทยที่ชัดเจนอย่างยิ่ง

ในปี 2537 Dulwich International College-DIC เริ่มเปิดดำเนินการในจังหวัดภูเก็ต ท่ามกลางการออกแบบที่จำลองภาพตัวอาคารและอาณาบริเวณ โดยรอบให้มีความละม้ายกับบรรยากาศการศึกษาในประเทศอังกฤษ โดยมีกลุ่มประสิทธิ์พัฒนาของตระกูลอุไรรัตน์ เป็น ผู้ซื้อสิทธิในชื่อมาจาก Dulwich College

หลังจาก Dulwich International College-DIC เปิดดำเนินการได้เพียง 4 ปี ในปี 2541 โรงเรียนนานาชาติจากอังกฤษแห่งที่สองในนาม Harrow International School ก็เริ่มเข้ามาดำเนินการในไทยบ้าง โดยใช้พื้นที่ของโครงการ Bangkok Garden บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นที่ตั้งโรงเรียนในช่วงเริ่มต้น ก่อนที่จะย้ายไปสู่ที่ตั้งใหม่ย่านดอนเมืองในไม่ช้า

การเข้ามาของ Dulwich, Harrow และ Shrewsbury มองอีกด้านหนึ่งมิได้มีความแตกต่างไปจากการขยายฐานการ ผลิตเข้าสู่พื้นที่ที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นกระแส นิยมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็เป็นการ access to the market ที่มีกลุ่มชนชั้นนำไทยร่วมเป็น presenter และตัวแทน การจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ไปพร้อมกันอย่างได้ผล

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถานศึกษาจากอังกฤษ ได้รับการวางตำแหน่งไว้เป็นประหนึ่งสินค้าระดับบนสุด และเป็นแหล่งบ่มเพาะรูปการจิตสำนึก ที่มีอิทธิพลในเชิงความคิดและวัฒนธรรมที่ฝังรากซึมลึกลงไปในระดับจิตวิญญาณ โดยมีชนชั้นนำไทยร่วมเป็นองค์อุปถัมภ์ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

การเปิดประเทศเพื่อรับเอาวิทยาการและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาสู่สยามประเทศในช่วง 100 ปีเศษที่ผ่านมา ติดตามมาด้วยการเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และการเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอังกฤษ ทำให้สายสัมพันธ์ในเชิงประวัติศาสตร์ของสถาบันการศึกษาเหล่านี้มีความแนบแน่นกับชนชั้นนำของสังคมไทยยิ่งขึ้นไปอีก

กระบวนทัศน์ที่ชนชั้นนำไทยได้รับจากการศึกษาดังกล่าว ถูกถ่ายทอดและส่งผ่าน เข้าสู่สังคมไทยอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาประเทศ ที่เกี่ยวเนื่องกับการวางรากฐานด้านระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การจัดวางระบบการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงคุณค่าในเชิงนามธรรมว่าด้วยความเป็นไพร่-ผู้ดี ที่ประเมินผ่านการศึกษาด้วย

และดูเหมือนว่าคุณค่าในเชิงนามธรรมที่อังกฤษได้รับจากการกำหนดนิยามใน ฐานะ "เมืองผู้ดี" ดังกล่าวจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ สถานศึกษาจากอังกฤษ ได้รับความสนใจและเป็นจุดหมายสำหรับการส่งบุตรหลานไปร่ำเรียน นอกเหนือจาก การเป็นแผ่นดินเจ้าของภาษา การไปศึกษา ต่อยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในอังกฤษ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่แตกต่างไปจากการ "ชุบตัว" ของกลุ่มชนชั้นนำให้มีความก้าว หน้าและตามทันวิทยาการจากตะวันตกมากขึ้น ขณะที่กลุ่มชนชั้นอื่นๆ ก็พยายาม จะก้าวเดินตามร่องรอย ด้วยหวังว่าวิธีการดังกล่าวจะส่งผลให้ได้มาซึ่งสถานะความเป็นผู้ดี และขยับสถานะจากการเป็นมวล ชนพื้นฐานไปสู่การเป็นกลุ่มชนชั้นนำในอนาคต

นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย และคลี่คลายไปสู่สังคมวงกว้างมากขึ้นนับตั้งยุคอาณา นิคม ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมถึงสงครามโลกอีก 2 ครั้ง ที่ทำให้ ฐานของการเป็นชนชั้นนำถ่างกว้างออก โดยมิได้จำกัดอยู่เฉพาะพระบรม วงศานุวงศ์ หรือขุนนางราชสำนักชั้นสูงเท่านั้น หากแต่ข้าราชบริพารในระดับรองลงมา หรือกระทั่งพ่อค้า วานิช และกลุ่มชนชั้นเศรษฐีใหม่ก็ร่วมอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

เป็นกระบวนการของความพยายามที่จะสานต่อความสัมพันธ์ในระบบเครือข่าย และยกฐานะจากการเป็นสามัญชน ไปสู่ลำดับชั้นที่สูงกว่าที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ภายใต้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ได้ส่งผลให้อังกฤษ มิใช่คำตอบเดียวที่มีอยู่สำหรับการไปศึกษาวิทยาการจากโลกตะวันตก เพราะการปรากฏตัวขึ้นของสหรัฐอเมริกาในฐานะมหาอำนาจจากโลกใหม่ ก็ดี รวมถึงเหตุผลทางด้าน เศรษฐกิจในห้วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ความสนใจศึกษาต่อในต่างประเทศมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือแคนาดา ซึ่งล้วน แต่เป็นทางเลือกที่แทรกตัวเข้ามาสู่การรับรู้ของสังคมไทยมากขึ้นเป็นลำดับ พร้อม กับทางเลือกว่าด้วยโรงเรียนนานาชาติภายในประเทศอีกด้วย

แต่ สถานศึกษาจากอังกฤษก็ยังอยู่ในฐานะ prestigious product ที่มีความเหนือกว่าทางเลือกอื่นๆ จากเหตุผลของมิติทางประวัติศาสตร์ และการดำรงสถานะเป็น exclusive choice ที่มิใช่ว่าทุกคนจะสามารถเลือกได้

แนวทางการประชาสัมพันธ์การมีอยู่ของโรงเรียนทั้ง 3 แห่งนี้เน้นไปที่การ นำเสนอประวัติความเป็นมาของสถาบัน ควบคู่กับศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในอดีต มา เป็นจุดสนใจ พร้อมกับนำเสนอภาพของศิษย์เก่านักเรียนไทยจากตระกูลที่มีชื่อเสียงในสังคมทั้งที่เป็นราชนิกุล และสายตระกูลชั้นนำไม่ว่าจะเป็นปันยารชุน และเกษมศรี มาเป็นตัวแบบในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการอ้างอิงเหล่านี้ดูจะเป็นสิ่งที่จับต้องและสัมผัสได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานการศึกษาที่มีความเป็นนามธรรมและอาจจะวัดได้ยาก

การอ้างอิงบุคคลหรือกลุ่มตระกูลที่มี ชื่อเสียงในสังคมในลักษณะดังกล่าวดูจะ เป็นเรื่องราวปกติในการ "ทำตลาด" ของสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศไปแล้ว และมีแนวโน้มที่จะสืบทอดต่อกันไปอีกในอนาคต

ตราบเท่าที่ปัญญาที่แท้จริงของสังคมไทยยังต้องพึ่งระบบการศึกษาจากต่างประเทศมาเป็น "มดลูก" ช่วยทำคลอด เช่นนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us