Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มกราคม 2549
สมาคมบลจ.ขอเวลาคลัง5ปี แต่งตัวรับFTAไทย-สหรัฐฯ             
 


   
search resources

FTA




สมาคม บลจ. เสนอกระทรวงการคลัง ขอเวลา 5 ปี เตรียมความพร้อมรับมือ FTA ไทย-สหรัฐฯก่อนเปิดเสรีอย่างเต็ม ที่ ระบุต่างชาติเข้ามาตั้งบลจ.ได้ แต่ ต้องกำหนดกรอบเอาไว้ ไม่ใช่ว่าทำ อะไรก็ได้ทุกอย่าง เผยต้องการให้ ก.ล.ต. เข้ามาตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามา และต้องอยู่ภายใต้กฏหมายไทยด้วย ขณะที่ความชัดเจน ในการกำหนดวงเงิน FIF ล่วงหน้า ธปท.-ก.ล.ต. เห็นด้วย เตรียมนำเข้าแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 พร้อมแนวทางเพิ่มสัดส่วนนักลงทุน ด้วยการบุกตลาดภูธร

นายวีรโชติ จิรบวรพงศา ผู้อำนวยการ และเลขาธิการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) สำหรับการเปิดเสรีทางการเงิน หรือ FTA ไทย-สหรัฐฯว่าทางสมาคมบลจ.ได้ส่งหลังสือถึงกระทรวงการคลังไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้พิจารณาและรับทราบถึงแนวทางในการกำกับดูแลผู้ประกอบการต่างชาติที่จะเข้ามาหลังจากเปิดเสรีทางการเงินดังกล่าว โดยสาระสำคัญที่เสนอกระทรวงการคลังไปนั้น ต้องการให้มีการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่ผู้ประกอบการนำเข้า มา

โดยเห็นว่าผู้ประกอบต่างชาติ ที่ต้องการเข้ามาแข่งขันในธุรกิจกองทุนรวมนั้น สามารถเข้ามาตั้งบลจ.ในประเทศได้ แต่ในเบื้องต้นอยากให้มีการกำหนดกรอบเอาไว้ ไม่ใช่หลังจากเข้ามาแล้วสามารถดำเนินการได้ทุกอย่างทันที รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้กฏหมายการกำกับของไทยด้วย ซึ่งสมาคมบลจ. ได้เสนอระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมของบลจ.ในประเทศไว้ 5 ปี ก่อนที่จะมีการเปิดเสรีดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติซึ่งกันและกันไปก่อน โดยในระหว่างนี้ก็ให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ

"ยังไงเรื่องของ FTA ก็จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน อยู่ที่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งจะเหลืออีกกี่ปีก็ตาม เรื่องนี้ขอให้เราพร้อมก่อน แต่ถ้าจะเปิดต้องค่อยๆให้เขาเข้ามา เพื่อให้เราได้ศึกษาซึ่งกันและกันหลังจากนั้นจึงค่อยเปิดเสรีอย่างเต็มที่ เราเองก็ไม่ได้คัดค้านแต่เราต้องดูตัวเราว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อรับการแข่งขันดังกล่าว" นายวีรโชติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการในประเทศ จะต้องสร้างฐานลูกค้าของตัวเองให้กว้างและมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อรองรับ การแข่งขันดังกล่าว เนื่องจากธุรกิจ กองทุนรวม เป็นธุรกิจที่อาศัยความ ไว้วางใจจากผู้ลงทุน จำเป็นที่จะต้องเตรียมควาพร้อมในเรื่องนี้ ซึ่งหลังจากแข็งแกร่งแล้ว การเข้ามาของผู้ประกอบการต่างชาติก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่ก็อาจจะมีนักลงทุนที่มีความรู้บางส่วนสนใจการลงทุนแบบใหม่ๆ บ้าง แต่ก็จะมีการกระจายความเสี่ยงออกไปด้วยเช่นกัน

สำหรับเรื่องการขอวงเงินจัดสรรให้บลจ.นำไปลงทุนต่างประ-เทศผ่านกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) นั้น นายวีรโชติกล่าว ว่า ได้มีการหารือระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต.และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย ส่วนตัวเลขวงเงินที่จะจัดสรรให้แต่ละปีนั้นจะเป็นเท่าไหร่นั้น ยังไม่มีการกำหนด

ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินลงทุน ในต่างประเทศไว้ล่วงหน้าและมีความชัดเจนในแต่ละปี จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เป็นบททดสอบเพื่อรับมือการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งการลงทุนต่างประเทศที่เกิดขึ้นช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการกำหนดวงเงินที่ชัดเจนว่าในอนาคต จะให้อีกหรือไม่และจะให้อีกเท่าไหร่ ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการขายหน่วยลงทุน นอกจากนี้ การที่ไม่ มีวงเงินล่วงหน้า ทำให้บลจ.ต้องรีบ ขอเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับการจัดสรรอีก ซึ่งหากมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน บลจ.ที่ยังไม่มีความพร้อมก็อาจจะรอใช้ในปีต่อไปได้

"เงินที่ได้รับการจัดสรรมาต้องกระจายให้แต่ละบลจ. ในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งการที่บางส่วนยังไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่อง จากต้องการเซตอัปกองทุนให้มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะการลงทุนในต่างประเทศหากเล็กเกินไป ก็ไม่ได้รับความสนใจจากนักลง ทุนมากนัก โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ" นายวีรโชติกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของวง เงินที่ลงทุนในต่างประเทศ สมาคม บลจ.จะบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในแผนที่จะเสนอเข้าไปในแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 ด้วย นอกจากนี้ ยังจะให้ความสำคัญแก่การเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนในธุรกิจ กองทุนรวม ผ่านทั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนอื่นๆ มากขึ้น โดยจะเน้นการขยายฐานผู้ลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัด ด้วยการเข้าไปให้ความรู้ความเข้าในเกี่ยวการลงทุนในกอง ทุนรวมมากขึ้น ซึ่งจะลงลึกไปถึงการวางแผนการลงทุนด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นว่า การลงทุนผ่านกอง ทุนรวมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน และการออม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us