Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มกราคม 2549
ตลท.ทำเฉยขายชินฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Stock Exchange




"แม้ว" หงุดหงิดถูกจี้ถามขายหุ้นเครือชินคอร์ป"สังศิต" เชื่อขายเพื่อต่อยอดลงทุนธุรกิจพลังงาน หลังตลาดมือถืออิ่มตัว จวก "แม้ว" ไม่เข้าใจ ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน วงการหุ้นปักใจเชื่อดีลขายหุ้นเกิดขึ้นในครึ่งปีแรก ชี้ อาจมีทั้งซื้อด้วยเงินสดและแลกหุ้น มั่นใจสิงเทล เก็บ "แอดวานซ์ฯ-แซทเทลฯ-ไอทีวี" ระบุเป็นไปได้ที่จะมีการเอาหุ้นชินฯออกจากตลาด ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯวางเฉยปล่อยนักลงทุนเล่นเก็งกำไรตามข่าวได้ตามใจชอบ ไม่คิดถามบริษัทฯให้ชี้แจง เคลียร์ข้อสงสัย

วานนี้ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ CNS วิเคราะห์ข่าว การขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ป ให้แก่บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอม (สิงเทล) ของตระกูลชินวัตร ว่า ปัจจุบันสิงเทลถือหุ้นอยู่ใน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (ADVANC) 19% และถือหุ้นใน บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ประมาณ 1% ดังนั้น ยืนยันการขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นหรือพันธมิตรรายเดิมจะเป็นการง่ายมาก

แม้ว่าในวานนี้(10 ม.ค.) ชินฯไม่มีการแถลงข่าว การขายหุ้นให้กับพันธมิตรต่างชาติ แต่เชื่อว่าดีลดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นภายในครึ่งแรกของปี 2549 แน่นอน เนื่องจากการลงทุน 3G รวมถึงการทำตลาด เทคโนโลยี 3G จะบังคับให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาพันธมิตรใหม่ภายในปีนี้
ในส่วนของรูปแบบการขายหุ้นชินฯ เชื่อว่าน่าจะเป็นแบบผสมระหว่างการซื้อเงินสด (Cash) และการแลกหุ้น (Share swap) เพราะสิงเทลอาจจำเป็นที่จะต้องเก็บเงินลงทุนไว้สำหรับธุรกิจ 3G สำหรับมูลค่าการซื้อขายที่สูงถึง 70,000 ล้านบาท อาจไม่ได้ชำระในรูปของเงินสดแต่เพียงอย่างเดียว

สำหรับประเด็นเรื่องการขายกิจการที่เหลือ บล. พัฒนสิน มั่นใจว่า สิงเทลน่าจะเก็บธุรกิจหลักได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ฯ, บมจ.ชิน แซทเทลไลท์ และบมจ.ไอทีวีไว้ขณะที่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องน่าจะขายคืนให้กับกลุ่มตระกูลชินวัตรเพื่อให้บริหารงานต่อไป ได้แก่ ไทยแอร์เอเชียและแคปปิตอล โอเค

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นได้ที่จะมีการนำหุ้นชินฯออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ(ตลท.) (delisting) เนื่องจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ รวมถึงการถือหุ้นของตระกูลผ่านนอมินี (Nominess) ทางอ้อม โดยผ่านสถาบันการเงินต่างประเทศ รวมกันทั้งสิ้น 50% ซึ่งมากพอที่อาจจะทำให้หุ้น บมจ.ชินคอร์ปเหลือสภาพคล่องน้อยกว่า 15% หลังจากที่สิงเทลประกาศรับซื้อหุ้นคืนจากประชาชน (tender offer)

ด้านรายงานข่าวระบุว่า การถือทางอ้อมหุ้นชินฯ นั้นเมื่อปี 2547 เคยพบว่า ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ถือหุ้นชินฯ ผ่าน Custodian UBS AG SINGAPORE,BRANCH-PB SECURITIES CLIENT CUSTODY และ UBS AG, SINGAPORE BRANCH ประมาณ 10.9% ซึ่งเป็น การถือของ Ample Rich Investments LTD

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองกรรมการผู้จัดการ ตลท. เปิดเผยว่า เรื่องการนำหุ้นชินฯออกจาก ตลท.ขึ้นอยู่กับนโยบายผู้ถือหุ้นว่าจะเป็นการควบรวมลักษณะใด ซึ่งหากเป็นการควบรวมโดยการจัดตั้งบริษัทใหม่เหมือนกับ การควบรวม บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) และ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) มาร์เกตแคปก็จะไม่หายไปไหน

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่มีการสอบถามไปยัง บมจ.ชินคอร์ป จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว เนื่องเพราะต้องรอให้ได้ข้อสรุปก่อน ซึ่งขณะนี้ทราบกันดีว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการขายหุ้น ซึ่งก็ไม่มีใครทราบข้อมูลที่ชัดเจน ดังนี้นักลงทุนควรรอดูว่าข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร"

ด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ยังไม่มีนโยบายขายหุ้นชินฯที่ถืออยู่ 0.98% ในขณะนี้ออก

"ทักษิณ-ลีกวนยู" เอื้อซึ่งกัน

แหล่งข่าวจากวงการค้าหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่หลายคนยังมั่นใจว่าพันธมิตรใหม่ของ บมจ. ชินคอร์ป ของตระกูลชินวัตร ให้สิงเทลหรือในรูปแบบ กองทุนที่มีสิงเทลเข้าไปเกี่ยวข้องทางอ้อม ทั้งนี้ ก็เพราะ สิงเทลเป็นบริษัทที่มีรัฐบาลสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่ ขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์มีองค์การเพื่อการลงทุน (กองทุน)ที่สำคัญและรู้จักดีก็ คือ ทามาเซค (TA-MASEK) และ GIC ซึ่งไม่ว่าจะซื้อด้วยส่วนไหนโดย นัยก็คือสิงเทลเหมือนกัน

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลชินวัตรกับ "ลีกวนยู" ซึ่งคุมสิงเทล ก็เป็นพันธมิตรทางธุรกิจของกันมานาน

ย้อนหลังไปดูเมื่อครั้งที่ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2542 ตระกูลชินวัตร ยอม ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.แอดวานซ์ ลงมาแล้ว โดยให้ บมจ.ชินคอร์ปขายหุ้นสามัญของ บมจ.แอดวานซ์ ให้แก่ Singapore Telecom International Private Limited (STI) 18 ล้านหุ้น และ ให้ บมจ. แอดวานซ์ ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือ Private Placement ให้อีก 36 ล้านหุ้น เป็นผลให้บมจ.ชินคอร์ป ลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 55% เหลือ 40% โดยมีกลุ่มสิงเทล เข้ามาถือหุ้นประมาณ 20% โดยให้เหตุผลขณะนั้นว่าเป็นการเสริมสร้างสถานะทางการเงินของบริษัทฯ และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการเปิดเสรีโทรคมนาคม ปัจจุบันลูกนายลีกวนยูนั่งเป็นผู้คุมการบริหารคนสำคัญในกองทุนยักษ์ของรัฐบาลสิงคโปร์รวมถึงสิงเทล

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายกฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ยังดำเนินมาต่อเนื่องมาสู่การใช้อำนาจรัฐเชื่อม สัมพันธ์ โดยก่อนหน้านี้ยังแก้ปัญหาธนาคารพาณิชย์ไทย ด้วยการนำธ.ทหารไทย ธ.ดีบีเอสไทยทนุ ที่มีกลุ่มดีบีเอส สิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ถือหุ้น รวม เข้ากับ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ)

ปัจจุบัน กลุ่มสิงเทล นอกจาก ถือหุ้นใน บมจ. แอดวานซ์ แล้วยังถือหุ้นในบมจ.ชินคอร์ป 1.08% และใน บมจ.ซีเอสล็อกซอินโฟ อีก 13.45% 2546 นอกจากนี้ บมจ.ชินคอร์ป ยังร่วมทุนกับ ธ.ดีบีเอส (DBS Bank Ltd) จากสิงคโปร์ ร่วมกันจัดตั้งบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด (Capital OK) โดย บมจ. ชินคอร์ป ถือหุ้น 60% และ DBS ถือหุ้น 40% เพื่อดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคล (Consumer Finance) ในราคาประเทศไทยและเปิดให้บริการในปีต่อมา และในปลายปี 2548 ที่ผ่านมา บ. แคปปิตอลโอเค ยังได้เตรียมแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อขยายสินเชื่ออีกด้วย ทักษิณเลี่ยงตอบขายชิน

รายงานข่าวแจ้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตอบ คำถามสั้นๆ ถึงกรณีที่นักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในขณะนี้จำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง เป็นผลจากการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นเครือชินคอร์ป หรือไม่ โดยทั้งนี้นายกฯไม่ได้ให้ความเห็นอะไรมากนักกล่าวเพียงว่า "ค่าเงินบาทที่แข็ง เป็นเพราะเงินดอลลาร์อ่อนทั่วโลก"

เมื่อถามว่า จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทาง การในการซื้อขายหุ้นเครือชินคอร์ป จริงหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า"ไม่มี ไปเอาที่ไหนมา วันนี้มาประชุม ครม." ก่อนที่จะเดินจากไปขึ้นห้องเพื่อประชุม ครม. ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด

"สังศิต" ชี้ขายหุ้นลงพลังงาน

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวถึง การขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปว่า ไม่เชื่อว่า การขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปเพื่อความพยายามเพื่อ หลีกเลี่ยงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เข้าใจเรื่องผล ประโยชน์ทับซ้อน และไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ ทุกครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดถึงเรื่องคอร์รัปชัน มักจะพูดว่า เป็น เรื่องของการให้สินบนเท่านั้น นิยามคอร์รัปชันของ พ.ต.ท.ทักษิณ แคบมาก

การที่จะมีการขายหุ้นชินคอร์ปคงเป็นเพราะต้องการนำไปลงทุนในธุรกิจพลังงานที่กำลังโตอย่างเร็ว มีอนาคตในระยะยาว มี ผลตอบแทนสูงกว่ามาก ตัวเลขผลกำไรของ ปตท. เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีการแปรรูป ผลกำไรจะมีสูง เมื่อเทียบกับตลาดมือถือที่เริ่มเข้าถึงจุดอิ่มตัว จำนวน ของผู้บริโภคจะไม่เติบโตมากกว่านี้ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯถือว่าเต็มที่แล้ว ส่วนใหญ่มีมือถือกันหมดเหลือในกลุ่มชนบท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย อัตราการเติบโตก็จะน้อยตาม ที่สำคัญ จะต้องทุ่มทุน มหาศาลเพื่อไล่ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us