Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
ชาลี ซื้ออนาคต AST ให้กลุ่ม ABN AMRO ร่วมถือหุ้น 49%             
โดย จารุสุดา เรืองสุวรรณ
 


   
search resources

หลักทรัพย์เอเชีย
ชาลี โสภณพนิช




ชาลี โสภณพนิช เปิดทางให้กลุ่ม ABN AMRO ร่วมถือหุ้นและบริหารงานในบล.เอเชีย ด้วยการทำ conditional tender offer โดยมีราคาเสนอซื้อที่ให้พรีเมียม สูงถือ 40% ของราคาในตลาด และสูงกว่าราคาประเมิน NAV ถึง 27% หากดีลนี้สำเร็จก็ถือเป็นก้าวสำคัญของบล.ต่างชาติที่รุกคืบเข้ามาสู่ธุรกิจหลักทรัพย์ไทย โดยอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นไทยตกต่ำสุดขีดในเวลานี้

ในยามที่ความทุกข์เข็ญมาเยือนทุกคนต้องดิ้นรนฝ่าฟันเพื่อความอยู่รอดด้วยกันทั้งนั้น ดังเช่นบริษัทห้างร้านทั้งหลายกำลังพยายามทำทุกวิถีทางที่เชื่อว่าจะสามารถนำพากิจการของตนฝ่าคลื่นลมพายุไปได้อย่างปลอดภัยจนถึงฝั่ง

การร่วงดิ่งลงชนิดที่ยังมองไม่เห็นวี่แววว่าจะสามารถตีกลับขึ้นมาได้ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย กระหน่ำซ้ำเติมบาดแผลของบริษัทหลักทรัพย์ให้เจ็บลึกหนักมากขึ้น เมื่อวอลุ่มการซื้อขายแผ่วลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยไม่ถึงวันละ 5,000 ล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาด แต่ก็เพียงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้นที่ตลาดฟื้นตัว เพราะรากเหง้าของปัญหาอยู่ที่เศรษฐกิจทั้งระบบที่ตกอยู่ในห้วงของภาวะการถดถอย ในขณะที่ปัญหาทางการเมืองก็มีผลให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เคยหลั่งไหลเข้ามา ต้องมาสะดุดหยุดลง ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์ลดฮวบฮาบลงอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

Merger & Acquisition (M&A) เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อกันว่า จะช่วยให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้ ซึ่งทางการไทยก็ให้การสนับสนุนวิธีการนี้อย่างเต็มที่ แม้ว่าดีลของไทยทนุกับบงล.เอกธนกิจ (Fin1) ที่แบงก์ชาติหนุนเต็มที่จะล้มไปก็ตาม ในเวลาเดียวกันก็ถือเป็นจังหวะที่ดีของบริษัทต่างชาติที่ต้องการสร้างเครือข่ายธุรกิจในเมืองไทยจะเข้ามาเฟ้นหาพาร์ตเนอร์ไทยตามแนวทางนี้

บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ AST ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่บริษัทเอบีเอ็น แอมโร โฮร์ โกแว็ตต์ เอเชีย (ABN AMRO Hoare Govett Asia) บริษัทในเครือของกลุ่มธนาคาร ABN AMRO สัญชาติดัตช์ ให้ความสนใจ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ABN AMRO ได้มีการรุกคืบขยายเครือข่ายทางธุรกิจในเอเชียมากขึ้น โดยเมื่อปี 1994 ธนาคารได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัทวาณิชธนกิจฮ่องกง Hoare Govett Asia (HG ASIA) ในสัดส่วน 20% เพื่อให้เป็นฐานในการเจาะตลาดและสร้างฐานธุรกิจวาณิชธนกิจในเอเชียโดยเฉพาะ หลังจากนั้นในปี 1995 ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 60% เมื่อปี 1995 ด้วยการซื้อหุ้นต่อจากบริษัทสมิธบาร์นีย์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ABN AMRO Hoare Govett Asia ในที่สุด

สำหรับดีล AST นี้ HG ASIA ได้มีแนวความคิดมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ถึงโอกาสและจังหวะที่เหมาะสม และในที่สุดเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา HG ASIA ได้ประกาศที่จะขอเสนอซื้อหุ้น (tender offer) AST จากผู้ถือหุ้นด้วยความสมัครใจ โดยมีเงื่อนไขว่าบริษัทจะต้องซื้อหุ้นให้ได้อย่างน้อยที่สุด 40% หรือจำนวน 52 ล้านหุ้น แต่ไม่เกิน 49% หรือ 63 ล้านหุ้นจากหุ้นทั้งหมดที่นักลงทุนถือครองอยู่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน มีบงล.ทิสโก้ ทำหน้าที่เป็นผู้รับคำเสนอขายของนักลงทุน และบริษัทฟินันซ่า ไทย เป็นที่ปรึกษาในการเข้าซื้อหุ้นให้กับ HG ASIA ซึ่ง HG ASIA ก็เป็นผู้ถือหุ้นหนึ่งของฟินันซ่า ไทย ในสัดส่วนประมาณ 30% เช่นกัน

การประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ของทาง HG ASIA ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่คนในวงการไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย ซึ่งไม่เคยระแคะระคายถึงความประสงค์ของ HG ASIA มาก่อนเลย ทั้งๆ ที่เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจร่วมกันมาตั้งแต่ปี 1991 ซึ่ง HG ASIA ได้ส่งผ่านคำสั่งซื้อหุ้นให้แก่ AST คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 40% ของรายได้ จากธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ทั้งหมดของ AST จนกระทั่งถึงวันที่ได้รับจดหมายจาก HG ASIA ในวันเดียวกันกับการเปิดแถลงต่อสาธารณชนของ HG ASIA

ในเรื่องนี้ที่ปรึกษาทางการเงินของ HGASIA ได้ชี้แจงว่า ที่ต้องเก็บเงียบเป็นความลับ เพราะเกรงจะติดปัญหาในเรื่องของตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับสัดส่วนหุ้นที่จะต้องขอเสนอซื้อ เพราะ HG ASIA ไม่ต้องการที่จะขอทำเทนเดอร์ 100% ขณะที่ ชาลี โสภณพนิช บุตรชายคนสุดท้องของชาตรี โสภณพนิช ที่ทำหน้าที่ดูแล AST ในฐานะ CEO ได้เผยถึงความรู้สึกว่า

"ครั้งแรกที่เห็นจดหมายผมคิดว่าเป็นเรื่องดีสำหรับบริษัท แต่ก็อยากจะได้คุยกับเขาก่อนว่า เขามีความเห็นอย่างไร และทันทีที่เราคุยกัน ฟังดูแล้วเขาก็มีเหตุผลและก็เป็นผลดีกับบริษัทเรา แม้ว่าที่ผ่านมาเราก็ไม่เคยมีความคิดที่จะให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบริษัทเลย ผมมีความมั่นใจกับดีลนี้พอสมควร ซึ่งที่สำคัญก็คือ value ที่เขา offer ให้กับผู้ถือหุ้น เพราะปัจจุบันหุ้นกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์มีการเทรดที่ discount ของมูลค่าที่แท้จริงมากๆ และในยามที่ไม่มีใครมั่นใจที่ซื้อขาย การที่เขาเสนอราคาพรีเมียม 40% เมื่อเทียบกับตลาดรวมและ 30% ของ NAV ถือว่าเป็นราคาที่ดีมาก เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะสำเร็จน่าจะมีพอสมควร"

ยุทธวิธีนี้เป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่กลุ่มธนาคาร ABN AMRO ได้นำมาใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อ serve ต่อเป้าหมายของบริษัท ดังสโลแกนที่ว่า 'ธนาคารแห่งเครือข่าย' ซึ่งในส่วนของประเทศไทยกลุ่ม ABN AMRO มีเป้าหมายที่จะเข้าสู่ธุรกิจหลักทรัพย์ให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่จำกัดอยู่เพียงสำนักงานตัวแทนที่ทำเฉพาะงานวิจัย โดยต้องการที่จะมีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ตลอดจนถึงการมีที่นั่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย และวิธีนี้นี่เองที่ ABN AMRO ตัดสินใจนำมาใช้เพื่อเป็นสะพานในอันที่จะก้าวไปให้ถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด

ความที่ AST มียักษ์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพและตระกูลโสภณพนิชหนุนหลังอยู่ โดยถือหุ้นรวมกันประมาณกว่า 45% เป็นเสมือน solution สำคัญที่ทำให้ HG ASIA ตัดสินใจที่จะขอเข้าถือหุ้นใน AST เพราะนั่นหมายถึงความมั่นคงของบริษัทในอนาคต และเมื่อผสมผสานกับความเชี่ยวชาญและฐานอันมั่นคงของกลุ่มธนาคาร ABN AMRO แล้วยิ่งช่วยเสริมให้ AST มีศักยภาพความสามารถเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ในยุคการแข่งขันที่เสรีและทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ ซึ่งทางฝั่งของ AST เองก็คงจะเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับเช่นเดียวกัน เพราะ HG ASIA มีแม่ที่แข็งแกร่งและมีฐานเงินทุนที่แน่นหนามาก ซึ่งหากสามารถผนึกกันได้สำเร็จทั้ง HG ASIA จะกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งมากของ AST ดังนั้นจึงยอมเปิดทางและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพื่อให้ดีลนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

"AST เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ หลักในการพัฒนาฐานทางธุรกิจของเราในไทยให้แข็งแกร่ง และเราต้องการที่จะทำงานร่วมกับ AST ต่อไป และเราก็เชื่อว่าธุรกิจของเราจะไปด้วยกันได้ดี เราเชื่อว่าการที่เราเป็นพาร์ตเนอร์กับ AST จะทำให้ธุรกิจของเราในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ไทยแข็งแกร่งขึ้นในอนาคตอันใกล้" คำยืนยันของ จอร์จ มอร์แกน กรรมการผู้จัดการของ HG ASIA ประจำประเทศไทยที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ AST

ในดีลนี้ HGASIA เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะต้องประสบความสำเร็จ เพราะได้มีการเตรียมการและวางแผนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดีและรอบด้าน อันจะเห็นได้จากการให้พรีเมียมแก่นักลงทุนมากกว่า 40% จากราคาที่ขอเสนอซื้อเมื่อเทียบกับราคาหุ้นของ AST ในตลาดที่อยู่ในระดับประมาณ 20 บาท ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลประโยชน์แก่นักลงทุนในสภาวะที่ตลาดหุ้นตกต่ำขณะนี้ โดยเชื่อว่าภายหลังการประกาศเทนเดอร์ราคาในตลาดจะขึ้นไปอยู่ที่ระดับประมาณ 31-33 บาทเท่านั้น เพราะคงไม่มีใครที่ต้องการซื้อที่ระดับราคา 35 บาทเท่ากับราคาเทนเดอร์ในตลาด เพราะถือเป็นต้นทุนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่บงล.กรุงศรีอยุธยา (AITCO) ในฐานะที่ปรึกษาอิสระของฝ่าย AST ได้ประเมินไว้ที่ระดับ 27.53 บาทต่อหุ้นเท่านั้น ในเวลาเดียวกันที่ระดับนี้ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) จะอยู่สูงถึงระดับประมาณ 100 เท่า ของ P/E ของกลุ่ม

"ยังมีนักลงทุนรายย่อยบางรายที่ซื้อหุ้น AST ในระดับที่สูง บางรายถืออยู่ประมาณ 70-80 บาท ถามว่าควรที่จะขายหรือไม่ คำตอบก็คือควรขาย เพราะว่าราคานี้ให้พรีเมียม จากการประเมิน NAV ที่ AITCO ได้ประเมินออกมาอยู่ที่ระดับ 27.53 บาทต่อหุ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าราคาที่เทนเดอร์นั้นสูงกว่าราคาประเมิน 27%" ข้อแนะนำของทาง HG ASIA ที่มีถึงนักลงทุน โดยผ่านทางนักวิเคราะห์และโบรกเกอร์

หากดีลไม่ประสบความสำเร็จคือไม่สามารถซื้อหุ้นได้ตามเงื่อนไขอย่างน้อย 40% ราคาหุ้น AST ในตลาดอาจมีความเป็นไปได้ที่จะดิ่งลงต่ำถึงหุ้นละ 15 บาท ซึ่งนั่นก็หมายความว่า นักลงทุนจะต้องขาดทุนมากขึ้นอีก แต่สำหรับ HG ASIA ก็ได้เตรียมแผนสองรองรับไว้เช่นกันหากดีลล้มเหลว โดยจะเข้าไปเสนอซื้อบล.แห่งอื่นๆ แทน

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของดีลนี้มีความเป็นไปได้สูงมาก เพราะทั้งสองฝ่ายสามารถประสานประโยชน์กันได้อย่างลงตัว ขณะที่ทางกลุ่มแบงก์กรุงเทพ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ AST ก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนสถานะของตนเอง จากที่เป็นเสมือนธุรกิจครอบครัวให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งชื่อของ ABN AMRO Bank ก็สามารถการันตีอนาคตของ AST ได้มากกว่าครึ่งแล้ว และคำกล่าวต่อไปนี้ของชาลี คงจะสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังของกลุ่มโสภณพนิชได้ดีทีเดียว

"ดีลนี้มันเป็น conditional tender offer คือถ้าซื้อได้ไม่ครบ 40% เขามีสิทธิที่จะถอน และดีลก็ไม่เกิด แต่ถ้าหากผลของ tender ออกมาขาดไปไม่เยอะและผมก็ไม่ได้ขาดเหลืออะไรผมก็อาจจะ tender เหมือนกันเพราะถ้าไม่ถึง 40% ดีลก็ไม่เกิด แต่ตัวเลขที่แน่นอนไม่ทราบ คงไม่ใช่ 100% ที่มี หรือคงไม่ใช่ 0% แต่ถ้าหากไม่มีใคร tender เลยแล้วผมจะให้ทั้งหมด 40% คงไม่ใช่อย่างนั้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us