Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
ธวัชชัย จึงสงวนพรสุข กับโอเปิล ฮุนได เรโนลต์ ยังไงก็เบลอ!!!             
โดย สันทิฏฐ์ สมานฉันท์
 

 
Charts & Figures

ยอดจำหน่ายรถยนต์ฮุนไดในประเทศไทย นับจากปีแรกจนถึงปี 2539


   
www resources

Hyundai Motor Homepage
โฮมเพจ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

เจเนอรัล มอเตอร์
ธวัชชัย จึงสงวนพรสุข
Auto Dealers
ฮุนได-Hyundai




ในที่สุด 'บันเทิง จึงสงวนพรสุข' ก็ประกาศวางมือ

หมดยุคเถ้าแก่อย่างเขาแล้ว

ธวัชชัย จะเป็นคนรุ่นที่สองที่จะเข้ามาสืบสานธุรกิจของบรรเทิง

แต่การสืบทอดครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อุปสรรคมีทั้งเบื้องหน้าและอนาคต

ฮุนได ที่กลายเป็นธุรกิจหลัก

ธวัชชัย จะรักษาไว้ได้อย่างไร ต้องฝีมือเพียงเท่านั้น

แต่ยังไม่ทันไร แนวนโยบายเมื่อครั้งรุ่นพ่อ กำลังจะถูกนำมาใช้อีกแล้ว

นี่ ธวัชชัย จะเข้ามาสืบสานธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ คนรุ่นใหม่ หรืออะไรกันแน่ สับสนเหลือเกิน

เสมือนคราวเคราะห์ครั้งใหญ่ ของ "บันเทิง จึงสงวนพรสุข" เพราะดูเหมือนเคราะห์กรรมต่างๆ กำลังถาโถมเข้าสู่องค์กรของเขาอย่างรอบด้านทีเดียว

11 มิถุนายน 2539 หรือประมาณ 1 ปีมาแล้ว เมื่อ เจเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย ถึงการเข้ามาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์โอเปิลในไทย องค์กรพระนครยนตรการก็สั่นคลอนทันที ด้วยกระแสข่าวที่ว่า จีเอ็มจะยกเลิกการให้สิทธิ์การเป็นตัวแทนจำหน่ายแก่พระนครยนตรการ และสิ่งที่ตอกย้ำกระแสข่าวนั้น ก็คือในวันแถลงข่าวไม่เห็นเงาของ "จึงสงวนพรสุข" แม้แต่คนเดียว ซึ่งผิดวิสัยเกินไป

จนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาประเด็นในเรื่องสิทธิ์การจำหน่ายรถยนต์โอเปิลก็ได้บทสรุป

พระนครยนตรการ เหลือเพียงแค่สิทธิ์ในการจำหน่ายรถยนต์โอเปิลในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดแผนงานตลาดในระดับภาพรวม ไม่มีสิทธิ์แต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ไม่มีสิทธิ์ดำเนินการอะไรหลายๆ อย่างเหมือนที่ตนเองเคยกระทำมาเมื่อหลายปีก่อนเมื่อครั้งที่นำรถยนต์โอเปิลกลับมาปัดฝุ่นใหม่ในตลาดเมืองไทยอีกครั้ง

ทุกวันนี้ พระนครยนตรการ ด้วยจำนวนโชว์รูมเพียง 3 สาขา (อีก 3 สาขาที่ยังจำหน่ายอยู่ด้วยนั้นอยู่ระหว่างรอรถยนต์ยี่ห้อใหม่ที่ "บันเทิง" กำลังเจรจา ขอสิทธิ์เข้ามาเสียก่อน 3 สาขาที่ว่าจึงจะเลิกจำหน่ายรถยนต์โอเปิล) จึงดูเหมือนว่า อะไรๆ มันเงียบเหงาเสียเหลือเกิน

ผลแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีการพูดกันว่า จีเอ็มยอมชดเชยค่าความเสียหายและค่าเสียโอกาสทางธุรกิจให้ ซึ่งแน่นอนว่าคุ้มกับ 500 ล้านบาทที่ บรรเทิงตีเป็นมูลค่าออกมา ซึ่งใครหลายคนบอกว่า "คุ้ม" แม้แต่บรรเทิงเองก็ยอมรับว่า เพียงพอ

แต่ถ้าใจจริงแล้ว ถามว่า บรรเทิงอยากให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ แน่นอนว่า คำตอบก็คือ ไม่

ไม่มีทางหรอกที่บรรเทิง อยากจะปล่อยโอเปิล ซึ่งประคบประหงมมากว่า 10 ปี ต้องหลุดมือไป

ต้นปีที่ผ่านมา บันเทิง เปรยออกมาถึงแนวทางที่ตนเองจะเริ่มวางมือจากธุรกิจที่มีอยู่

ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า เหตุผลใดบรรเทิงจึงคิดตัดใจที่จะวางมือจากกลุ่มธุรกิจที่ตนเองสร้างสมมานับสิบปี ทั้งที่อดีตนั้นผจญมรสุมมามากมายหลายหน แต่บรรเทิงก็กัดฟันฝ่าฟันมาได้ตลอด

การตัดเยื่อใยของจีเอ็ม เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้บรรเทิงได้คิดและตัดสินใจในที่สุด

"เป็นธรรมดาที่กลุ่มทุนต่างชาติจะต้องเข้ามาเปิดตลาดด้วยการลงทุนของตนเอง เพราะตลาดของไทยได้เปิดสู่ระดับโลกแล้ว ศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจยังมีอีกมาก ทุกรายจึงต้องการที่จะเข้ามาแข่งขันได้อย่างเต็มที่ สำหรับกิจการที่ยังคงอยู่ อย่างการจำหน่ายฮุนไดนั้น คงไม่ห่วงว่าเกาหลีจะเข้ามา เพราะคงหลีกเลี่ยงไม่ได้" ความรู้สึกนึกคิดของบรรเทิงที่ถ่ายทอดออกมา

แน่นอน บันเทิง อกหักจากจีเอ็ม

การเดินทางขององค์กรธุรกิจในยุคต่อไปโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างแต่ก่อนเสียแล้ว บรรเทิงรู้ดีว่าห้วงเวลานับจากนี้ คงไม่อาจอาศัยสายสัมพันธ์เมื่อครั้งเก่าก่อน ไม่อาจอาศัยบุคลิกของเจ้าสัวหรือเถ้าแก่ในการเจรจา เพื่อที่จะรักษาสถานภาพของตนเองได้อีกต่อไป การเดินเกมธุรกิจจะต้องถึงกันทันกัน การเจรจาต่อรองจะต้องชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ได้เสียที่เข้มข้นขึ้น

กาประกาศวางมือเพื่อดันทายาทคนสำคัญ "ธวัชชัย จึงสงวนพรสุข" เข้าดูแลกิจการที่มีอยู่ โดยเฉพาะการนำพาในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับยานยนต์ให้ดำรงสถานะอยู่ต่อไป นับเป็นข้อต่อสำคัญของเครือข่ายแห่งนี้ทีเดียว

บันเทิง ยอมรับว่าถึงเวลาของคนรุ่นใหม่ หรือพ้นยุคของตนเองไปแล้ว

บันเทิง มองว่าหลังจากตนเองวางมือแล้ว ซึ่งคงภายในปีนี้ การบริหารงานต่างๆ คงต้องเปลี่ยนแปลงอีกมาก การดึงผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์อื่นๆ จะต้องมีอีกหลายตำแหน่งงาน การกระจายอำนาจและวิสัยทัศน์เป็นเรื่องสำคัญในยุคต่อไป ดังนั้น ธวัชชัย คงต้องเข้ามามีบทบาทในส่วนงานของฮุนไดมากขึ้น เพราะในส่วนของโอเปิลนั้น แทบจะไม่มีความสำคัญแล้ว

การวางตำแหน่งงานและโครงสร้างต่างๆ เสียใหม่จึงลงตัวกับการที่ศิริชัย สายพัฒนา ลาออก เพื่อเปิดทางให้กับทายาทคนสำคัญของจึงสงวนพรสุข ได้เข้ามาดูแลงานเสียเอง

ส่วนวันชัย น้องชายของธวัชชัย ซึ่งเข้ามาเรียนรู้งานการทำตลาดฮุนไดจากศิริชัยในช่วง 1-2 ปีมานี้นั้น บรรเทิงได้ส่งไปเรียนต่อ ทั้งนี้มีการพูดกันวงในว่า วันชัย ไม่ค่อยพอใจนักที่ตนเองต้องเปิดทางให้กับพี่ชายที่ไม่มีงานจะต้องบริหารหลังจากจีเอ็มยึดโอเปิลคืนไป

อย่างไรก็ดี แม้การมาของธวัชชัย จะเป็นจังหวะเดียวกับที่ บริษัท ยูไนเต็ดโอโตเซลส์ ซึ่งทำตลาดฮุนไดนั้น ต้องขาดหัวแรงหลักอย่างศิริชัยไปก็จริง แต่ก็มีการยืนยันว่า บรรเทิงนั้น ต้องการที่จะผลักดันให้ธวัชชัยขึ้นมาสานกิจการในเครือก่อนหน้านั้นแล้ว

มาถึงวันนี้การทำตลาดรถยนต์ฮุนไดในประเทศไทย จึงกลายเป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม และเป็นฐานที่มั่นสำคัญที่ธวัชชัยจะต้องประคับประคองให้คงอยู่ต่อไปให้ได้

"สำหรับฮุนได เชื่อว่าอีกไม่เกิน 3 ปี ทางเกาหลีจะต้องเข้ามาร่วมทุนอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ก็จะไม่ปฏิเสธแต่ประการใด แต่กลับจะยินดีที่จะทำให้เราสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น" คำกล่าวของบรรเทิง

การที่ฮุนไดจากเกาหลีใต้จะเข้ามาด้วยตนเองนั้น ยังเป็นข้อกังขาอยู่ว่า จะซ้ำรอยเดิมอย่างจีเอ็มหรือไม่ และเวลา 3 ปีที่บรรเทิงคาดการณ์ไว้นั้น จะไม่นานเกินไปหรือ

เพราะเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตัวแทนของฮุนได มอเตอร์ แห่งเกาหลีใต้ ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ซึ่งแม้ภายหลังการเข้าพบ ตัวแทนจากฮุนไดกล่าวว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ฮุนไดยังไม่พร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากติดขัดในเรื่องของการป้อนชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมเกื้อหนุนอื่นๆ แต่ในความเป็นจริง ไม่อาจมั่นใจได้ว่าฮุนไดกำลังเตรียมแผนอย่างไร

สำหรับการลงทุนในประเทศไทยของบริษัทรถยนต์ต่างชาตินั้น ผู้อยู่ในวงการมักกล่าวว่ารายใดที่ต้องการจะเข้ามาลงทุนและมองว่า ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอ แน่ใจได้เลยว่า ปี 2540 จะต้องเริ่มวางแผนแล้ว และปี 2541 ก็จะได้เห็นการประกาศตัวอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ฮุนได มอเตอร์ ได้มีการสำรวจและศึกษาถึงรายละเอียดในการที่จะเข้ามาลงทุนในไทยหลายรอบแล้ว และคาดการณ์ว่าภายในปีหน้า (2541) จะชัดเจนว่าจะเป็นการลงทุนลักษณะใด หรือจะร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญบรรเทิงจะถูกเลือกอีกหรือไม่

ไม่อาจปฏิเสธว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ฮุนไดในไทยเริ่มตกต่ำลง ปัญหาสำคัญก็คือ เรื่องภาพพจน์และคุณภาพของงานบริการทั้งของบริษัท ยูไนเต็ด โอโตเซลส์ เอง ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์บริการของสำนักงานใหญ่ ยิ่งเหล่าดีลเลอร์ที่แต่งตั้งขึ้นมาด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่างานบริการเป็นเช่นใด

การละเลยในส่วนงานบริการนับเป็นนโยบายที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ และอาจกล่าวได้ว่ายอดจำหน่ายฮุนไดที่มีอยู่ปีละ 6-7 พันคันใน 3 ปีหลังนั้นมาจากความน่าสนใจของตัวผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ที่โดดเด่นพร้อมกับราคาที่ได้เปรียบคู่แข่งค่ายญี่ปุ่น แต่เมื่อมองถึงงานบริการ กับภาพพจน์ของสินค้าที่ถูกตีตราว่าเป็นรถยนต์เกาหลีใต้ ซึ่งด้อยค่ากว่ารถยนต์ญี่ปุ่น ลูกค้าจึงขยาดที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวฮุนได

ยิ่งโตโยต้า และฮอนด้า สองค่ายยักษ์รถยนต์นั่งเมืองไทยต่างห้ำหั่นกันด้วยสงครามราคาเช่นทุกวันนี้ ผู้ที่จะเข้ามาซื้อจึงนับหัวได้เลยในแต่ละวันของแต่ละโชว์รูม

ยอดจำหน่ายรถยนต์ฮุนได 5 เดือนล่าสุดคือตั้งแต่มกราคมจนถึงพฤษภาคมปีนี้ (2540) มีเพียง 1,978 คันเท่านั้น

ไม่อยากนึกภาพเลยว่าส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งของไทยนั้นในตอนสิ้นปี ฮุนไดจะเหลือเท่าใด จากทุกวันนี้เหลือไม่ถึง 1% ทั้งๆ ที่ปีแรกของการเข้าสู่เมืองไทยนั้นแย่งส่วนแบ่งตลาดได้ถึงเกือบ 5% ซึ่งนับว่าไม่ธรรมดาสำหรับรายใหม่ และเป็นน้องใหม่ที่คนไทยไม่เคยได้ยลโฉมเสียด้วย

ผลงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า สายสัมพันธ์ระหว่างบรรเทิง กับทางฮุนไดจะออกมาในรูปใด เมื่อถึงคราวที่ฮุนไดจะเข้ามาเอง

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่ว่าไม่เคยมีผู้ท้วงติงบรรเทิง

เมื่อราว 4 ปีก่อนผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งซึ่งทำงานกับบรรเทิงมานับสิบปี ได้วางแผนงานด้านงานบริการและการสร้างภาพพจน์ไว้อย่างสวยหรู แต่ที่สุดแผนงานนั้นถูกตัดทอนจนเรียกได้ว่าไม่มีชิ้นดี ผู้ที่ตัดทอนจะเป็นคนอื่นไปไม่ได้ เหตุผลก็เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินไป ซึ่งผิดวิสัยของเถ้าแก่ผู้นี้

นักบริหารที่มองการณ์ไกลหลายคนมองว่า นี่จะเป็นต้นเหตุของความพ่ายแพ้ในอนาคตของการทำตลาดรถยนต์ฮุนไดในไทย ที่สำคัญกว่านั้นแผนงานที่ร่างขึ้นนั้นถูกใจทางฮุนได มอเตอร์ ไม่น้อยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่นการสต็อกอะไหล่ ในแผนงานมองว่าจำเป็น แต่ก็ถูกตัดทอนลงไป การคุมมาตรฐานของศูนย์บริการ ซึ่งต้องมีทั้งภาพลักษณ์ และฝีมือของช่าง แต่เนื่องจากต้องลงทุนสูง คืนทุนช้า ประกอบกับยุ่งยาก ในขณะที่ต้องการสร้างจำนวนดีลเลอร์ให้พึ่บพั่บในเวลาอันรวดเร็ว นโยบายตรงนี้จึงมองว่าไม่จำเป็น ที่สุดเมื่อโตเร็ว ก็ย่อมตายเร็ว

ทั้งนี้ผู้บริหารในยุคร่างแผนงานที่เด่นมากในยุคนั้นมีเพียงไม่กี่คนที่ยังอยู่กับองค์กรแห่งนี้

สำหรับ ธวัชชัย เขากล่าวถึงองค์กรของเขา ที่เขาจะต้องเป็นผู้รับภาระอันหนักหนาสาหัสนี้ว่า เขาได้รับมอบหมายจากบิดาให้เข้ามาดูแลการลงทุนของกลุ่มในอนาคต เป็นลักษณะของการมองระยะยาวมากกว่า ซึ่งแนวโยบายหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ จะเน้นการพัฒนาธุรกิจที่เป็นธุรกิจใหม่ๆ แต่ก็ยังคงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่

"ในช่วง 3-5 ปีจากนี้เรามีโครงการที่จะลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด"

ธวัชชัย ได้ยกตัวอย่างของธุรกิจที่จะดำเนินต่อไปในอนาคตในยุคที่เขาเข้ามาดูแล เช่น การรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งที่ผ่านมาเครือข่ายแห่งนี้ได้มองข้ามไป เพราะแม้จะมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ทันสมัย แต่กลับไม่มีอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนของตนเองเป็นเครือข่ายเลย ซึ่งอาจนับว่าเป็นจุดด้อยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็ว่าได้

"กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทปั๊มตัวถัง จัดทำโมชิ้นส่วนต่างๆ นอกจากนี้กำลังเจรจากับทางไต้หวันเพื่อร่วมกันก่อตั้งโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในไทย โดยทางไต้หวันเขาสนใจตลาดไทยมาก"

แต่ยังมีส่วนงานหนึ่งที่เครือข่ายแห่งนี้ตั้งความหวังไว้มาก

"ทางกลุ่มของเราพร้อมที่จะทำตลาดรถยนต์ยี่ห้อนี้ เนื่องจากมองว่าเป็นรถที่มีคุณภาพยิ่งรุ่นใหม่ๆ ที่พัฒนาออกสู่ตลาด ไม่ได้เป็นรองใครเลย แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่เป็นที่สรุป ต้องรอทางฝรั่งเศสอย่างเดียว ว่าจะเอาอย่างไร"

รถยนต์ที่ธวัชชัยพูดถึงก็คือ เรโนลต์

เครือข่ายแห่งนี้ได้เข้าเจรจาขอสิทธิ์การจำหน่ายรถยนต์เรโนลต์จากฝรั่งเศส ในราวหนึ่งปีมาแล้ว และไม่ใช่รายเดียวที่ต้องการจะนำรถยนต์เรโนลต์กลับมาจำหน่ายในไทยอีกครั้ง ยังมีอีกหลายรายที่ขอสิทธิ์จากฝรั่งเศสด้วย

หลายปีมาแล้วที่เรโนลต์ยุติการจำหน่ายในไทย และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าเรโนลต์ ฝรั่งเศส จะตัดสินใจเรื่องนี้ มีเหตุผลเพียงสองประการ

ประการแรก เป็นธรรมดาที่เรโนลต์ ฝรั่งเศส มักตัดสินใจในแต่ละเรื่องล่าช้าผิดปกติ ซึ่งคู่ค้ารายเดิมได้เคยสัมผัสกับพิษสงแห่งความล่าช้านี้แล้ว

ประการที่สอง สถานการณ์ของเรโนลต์ ฝรั่งเศส เองย่ำแย่เอามากๆ ถึงขั้นปิดโรงงานหลายแห่ง ยังไม่รวมถึงคนงานในแต่ละฐานผลิตเริ่มส่อเค้ามีปัญหา ดังนั้นการที่จะพิจารณาในเรื่องการเปิดตลาดในประเทศต่างๆ นั้นจึงเป็นเรื่องที่คงเก็บเอาไว้ก่อน เพราะลำพังแค่รับสถานการณ์ภายในก็แย่อยู่แล้ว ถ้าขืนให้บุกออกตลาดโลกอีกคงขาดใจตายแน่ๆ

ความหวังของบรรเทิงและธวัชชัย ในเรื่องการได้สิทธิ์เรโนลต์เข้าทำตลาด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว แต่ถ้าได้มาจริง ก็ใช่ว่าจะสามารถสร้างตลาดได้โดยง่าย ดูเหมือนจะยากยิ่งกว่าค้าขายฮุนไดด้วยซ้ำไป

ลำพังสิ่งที่มีอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะรักษาได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ กลับจะบุก เปิดฉากใหม่อีกแล้ว

นี่ บันเทิง ส่ง ธวัชชัย มาสืบสานธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่

หรือว่าส่ง ธวัชชัย มาสืบสานยุทธศาสตร์เก่าๆ ที่บรรเทิงเคยใช้แล้วก็ประสบความสำเร็จอย่างลมๆ แล้งๆ กันแน่

ขึ้นอยู่กับว่า ธวัชชัย จะได้คิดเหมือนที่ บันเทิง ได้ฉุกคิดหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us