Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
เฟรมต่อเฟรมของธวัช 'กรณีมอนเทอเรย์'             
โดย ยังดี วจีจันทร์
 


   
search resources

ธวัช พลังเทพินทร์




ในการแก้วิกฤตของบริษัท กลยุทธ์ที่ธวัช พลังเทพินทร์ นำมาใช้คือ การเปิดอกพูดกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมา ที่ตึกมอนเทอเรย์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน

ธวัชบอกพนักงานว่า ไม่มีเงินสำหรับให้โบนัส และปรับเงินเดือนตามที่ได้สัญญาไว้ ด้านหนึ่งพนักงานก็เข้าใจในความยากลำบากของเขา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นเหตุให้เกิดข่าวลือไปทั่วว่า คู่แข่งมีการลดพนักงาน 30% และลดเงินเดือน 5% ต่อไปนี้ คือคำบอกเล่าของธวัชในระดับเฟรมต่อเฟรม

วันนั้น ผมต้องการให้ทุกคนได้เห็นภาพรวมของบริษัท รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แล้วเราก็แชร์ไอเดียร่วมกัน ผมพบทุกคนนะ 700 กว่าคน ส่วนการแบ่งกลุ่ม เราแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ต้องใช้เวลาพูดคุย 4 ครั้ง

เริ่มประชุมกลุ่มแรก คือกลุ่มผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ ผมตั้งเป้าหมายข้อที่ 1 คือเรื่องความเชื่อมั่นและศรัทธา ผมถามก่อนเลยว่า พวกเราทุกคนเชื่อมั่นและศรัทธาในสินค้าในสิ่งที่บริษัททำอยู่หรือไม่? สิ่งที่ผมได้รับคือ ทุกคนบอกว่ายังเชื่อมั่น

อันดับที่ 2 ผมก็บอกว่า ในภาวะที่ข้างนอกเกิดวิกฤตด้านเศรษฐกิจขึ้น เรามีความร่วมมือร่วมใจกันแค่ไหน? ผมขอร้องให้พวกเราร่วมแรงร่วมใจกัน และเป็นไปได้ไหมที่เราจะรักษาชีวิต 700 กว่าคนไว้ให้ได้ เราอยู่ด้วยกัน สู้ด้วยกัน เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงนโยบาย LAY OFF ทำไงถึงจะสู้ได้ คือลดค่าใช้จ่าย ร่วมแรงร่วมใจกันทุกเรื่อง

ผมได้ FEED BACK ทันที ซึ่งชื่นใจมาก คืออะไรรู้ไหม หนึ่งในพนักงานในห้องนั้นเสนอขึ้นมาว่า ขอให้คู่แข่งลดเงินเดือนคนละ 5% มันก็เกิดไอเดียแตกฉานออกไปใหญ่โต ผมถึงบอกว่า นี่เป็นมิติที่ดีมากเลย คนเขารู้อย่างนี้ เขาจะชื่นชมแค่ไหน พนักงานคู่แข่งเสียสละผลประโยชน์ของตนเองก่อนใครเลย ผมมีความปิติจริงๆ นะ

ก็เลยร่วมแชร์ไอเดียกันว่า พนักงานที่มีรายได้ต่ำกว่าหมื่นบาท เขาเดือนร้อน ทุกบาททุกสตางค์ ทุกเม็ดเงินของเขามีค่ามากต่อครอบครัว ชีวิตของพวกเราต้องมีการเอื้ออาทรต่อกัน นี่เป็นมติที่แสดงถึงวัฒนธรรมองค์กร

พวกเราคุยกัน เกิดประชามติโดยโหวตเสียงกัน แต่ผมก็ยังไม่ประกาศใช้นะ มันเป็นเพียงการหารือเท่านั้น เรายังไม่มีการดำเนินการอะไรทั้งสิ้น

ผมได้นำเอาผลสรุปในวันนั้นไปพูดกับกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 เพื่อแชร์ไอเดียร่วมกัน เขาก็ออกไอเดียเยอะแยะ พนักงาน 700 กว่าคน เราคุยทุกคน

ผมบอกพวกเขาตรงๆ ในตลาดเม็ดเงินไม่มีเลย แห้งขอด และเป็นกันทั้งประเทศเลยนะ เหมือนกับว่า เรือเราจะแข็งแรงอย่างไร แต่ก็ขาดน้ำมัน เพราะข้างนอกน้ำมันมันแห้งขอด เราต้องช่วยกันประหยัดน้ำมัน เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เราหามาได้ เราจะต้องนำมาใช้กับสิ่งที่เป็นประโยชน์

ผมก็บอกเขาตรงๆ ว่า ผมไม่สามารถที่จะจ่ายโบนัสและปรับเงินเดือนได้ในปีนี้ เพราะเม็ดเงินไม่มี ผมรู้สำนึกอยู่ในใจ พนักงานหลายคนอาจจะมีแพลนนิ่งจึงตั้งความหวังไว้ที่เงินเดือน โบนัส แต่พวกเขาก็เข้าใจผม เขาบอกว่า ไม่เป็นไร

เมื่อพวกเขามีสปิริตกันอย่างนี้ จะไม่ให้ผมรักพนักงานของผมได้อย่างไร?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us