Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
โรงพยาบาล..หุ้นน่ามอง..ที่ถูกเมิน             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย จารุสุดา เรืองสุวรรณ
 

   
related stories

สิทธิการเข้ารับการรักษา ความหวังที่เห็นอยู่รำไร

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Hospital
Stock Exchange




เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยกำลังบูมสุดขีด เป็นยุคทองของนักลงทุนอย่างแท้จริง โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ ไฟแนนซ์ สื่อสารหรืออสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นขวัญใจของคนที่ชอบเล่นกับการขึ้นลงของราคา ในขณะที่หุ้นกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มการแพทย์กลับมีนักลงทุนจำนวนไม่มากนักให้ความสนใจ ทั้งๆ ที่เป็นหุ้นที่มีศักยภาพในการทำกำไรดีมาโดยตลอด เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างเม็ดเงินที่มีการเติบโตสูขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุไฉนจึงเป็นเช่นนั้น?

ในช่วงปี 2534-2536 โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง เช่น PYT(พญาไท) มีกำไรเพิ่มขึ้น 133.95 ล้านบาท, 142.80 ล้านบาทและ 271.86 ล้านบาทตามลำดับ, BH(บำรุงราษฎร์) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 109.56 ล้านบาท, 148.75 ล้านบาทและ 183.83 ล้านบาท, BGH(กรุงเทพ) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 81.10 ล้านบาท, 96.88 ล้านบาทและ 118.27 ล้านบาท, SVH(สมิติเวช) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 102.68 ล้านบาท, 127.90 ล้านบาทและ 135.36 ล้านบาท หรือแม้แต่ RAM(รามคำแหง) ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 61.20 ล้านบาท, 67.81 ล้านบาท ยกเว้นปี 2536 ที่กำไรสุทธิลดลง 57.12 ล้านบาท

สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลมีกำไรอย่างต่อเนื่อง มาจากเศรษฐกิจในช่วงนั้นเป็นยุคเฟื่องฟู การแข่งขันของธุรกิจนี้ยังไม่รุนแรงนัก เพราะจำนวนโรงพยาบาลยังมีไม่มากนัก

กำไรที่เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับสัดส่วนหุ้นที่มีอยู่ในตลาด ทำให้หุ้นกลุ่มนี้มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงมาก เช่น ในปี 2535 RAM จ่ายปันผลหุ้นละ 7 บาท ส่วน BGH ก็จ่าย 7 บาทในปี 2536 ในขณะที่หุ้นตัวอื่นๆ จ่ายเงินปันผลเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับ 3-5 บาท ส่วนหุ้น SVH จ่ายปันผลต่ำสุดโดยจ่ายแค่หุ้นละ 1.50 บาทในปี 2536

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ให้ความเห็นถึงหุ้นกลุ่มนี้ว่า ในช่วงที่ตลาดหุ้นคึกคักนั้นได้มีการแนะนำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกลุ่มโรงพยาบาลเกือบทุกคน เพราะมองเห็นศักยภาพของหุ้นกลุ่มนี้ แม้ว่าจะเห็นข้อเสียที่ขาดสภาพคล่อง เพราะหุ้นส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จะกอดหุ้นไว้แน่น "โอกาสที่เขาเหล่านั้นจะนำหุ้นตัวเองออกมาซื้อขายในตลาดนั้นแทบไม่มี เพราะเขาเห็นแนวโน้มการเติบโตของโรงพยาบาล และที่สำคัญหุ้นแต่ละตัวจ่ายปันผลดีๆ ทั้งนั้น ผู้ถือหุ้นจึงไม่ค่อยยอมปล่อยหุ้น" นักวิเคราะห์ผู้ไม่ประสงค์ออกนามรายหนึ่ง อธิบาย

เมื่อเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพดี ลงทุนแล้วคุ้มค่าขณะที่ความต้องการของตลาดเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะถือเป็นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต ดังนั้นจึงทำให้ผู้ประกอบการรายเก่าเร่งขยายกิจการเพื่อรองรับกับดีมานด์ของตลาดในขณะที่รายใหม่ก็พรั่งพรูเข้ามาสู่ตลาดมากมาย ในที่สุดก็เกิดการแข่งขันกันอย่างสูงเหมือนในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลประกอบการเริ่มตก

นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา กำไรสุทธิของโรงพยาบาลเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ขยายการลงทุนมาก เช่นในปี 2537-2539 PTY มีกำไร 260.29 ล้านบาท, 288.12 ล้านบาทและ 240.80 ล้านบาท ตามลำดับ,BH มีกำไร 141.10 ล้านบาท, 110.36 ล้านบาทและ 92.79 ล้านบาท, BGH มีกำไร 128.41 ล้านบาท, 114.37 ล้านบาทและ 140.68 ล้านบาท, SVH มีกำไร 86.62 ล้านบาท, 108.21 ล้านบาทและ 29.74 ล้านบาท ส่วน RAM มีกำไร 77.69 ล้านบาท, 60.25 ล้านบาทและ 79.41 ล้านบาท

อีกทั้งเงินปันผลก็เริ่มมีแนวโน้มลดลงแม้ว่าบางแห่งยังจ่ายในอัตราสูงอยู่ อย่างในปี 2539 BGH จากที่เคยจ่าย 7 บาท ลดลงเหลือ 3.50 บาท หรือ RAM จ่าย 4 บาท ในขณะที่ SVH งดจ่ายเงินปันผล

ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลเริ่มสั่นคลอนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คือ สภาพเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ซึ่งคงไม่ผิดนักที่มีผู้กล่าวไว้ว่าธุรกิจโรงพยาบาลเป็นเครื่องวัดสภาพเศรษฐกิจตัวหนึ่ง เพราะเมื่อใดที่คนมีเงินก็จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกันมาก แต่เมื่อใดที่เงินในกระเป๋าหดลง การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีราคาแพง จึงเป็นเรื่องที่ต้องไตร่ตรองถึงความจำเป็นจริงๆ ดังนั้นจึงทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มเจ็บตัว หลังจากขยายการลงทุน เพราะจำนวนเม็ดเงินที่ลงทุนไปส่วนใหญ่จะมาจากการกู้ยืม เมื่อเศรษฐกิจไม่เป็นใจทำให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรมากขึ้นทำให้ค่าจ้างสูงขึ้น จึงมีผลกระทบถึงผลประกอบการของบริษัทโดยตรง

"ปีนี้เราจะไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นกลุ่มนี้เลย ถ้าขายได้ก็ให้ขายเพราะโอกาสที่เขาจะจ่ายเงินปันผลดีๆ หรือหวังกำไรจากราคาหุ้นแทบจะไม่มี แม้ว่า P/E จะต่ำแต่ระดับราคาหุ้นก็ลงมาเช่นกัน และหุ้นเกือบทุกตัวในกลุ่มนี้จะ undervalue ซึ่งโดยรวมแล้วปีนี้หุ้นกลุ่มนี้ไม่มีอะไรน่าสะดุดใจเลย" นักวิเคราะห์ กล่าว

นักวิเคราะห์รายเดิมยังอธิบายต่อไปว่า ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าคาดว่าหุ้นกลุ่มนี้คงจะไม่เป็นที่สนใจมากนัก เพราะผลการดำเนินจะยังคงชะลอตัวเนื่องจากต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปเป็นค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังต้องรอโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่ได้ลงทุนไปมีกำไรก่อน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจะใช้เวลา 3 ปีถึงจะคุ้มทุน ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่บริษัทจะต้องพยายามรักษาสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองเอาไว้ให้ดี

"ถ้านักลงทุนมีเงินเย็นจริงๆ เราก็แนะนำให้เล่น เพราะในอนาคตหุ้นกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพดี คือเล่นระยะยาวเพื่อรอเงินปันผล"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us