Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 มกราคม 2549
ทำไมโค้กแพ้เป๊ปซี่             
โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
 


   
search resources

Marketing
Soft Drink




บัลลังค์แชมป์ของ Coke ได้ถูกโค่นลงแล้วโดยคู่แข่งตลอดกาลอย่าง PepsiCo เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ธ.ค. 48 ที่ผ่านมา ตัวชี้ขาดตัดสินคือ "มูลค่าตลาดของหุ้น" (Market Capitalization) ณ วันนั้น มูลค่าตลาดของ PepsiCo ทะยานขึ้นไปที่ 98.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน Coca-Cola นั้นลดลงมาเหลือ 97.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นั่นคือ Pepsi แซง Coke แล้ว ... หลังจากนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์กันเหตุการณ์นี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งที่ในอดีตมูลค่าตลาดของ Coke เคยมากกว่า Pepsi ถึง 2 - 3 เท่า ประวัติศาสตร์ 112 ปีของแชมป์เก่าได้ถูกทำลายเสียแล้ว

เกิดอะไรขึ้นกันแน่?

สัญญาณนั้นได้ส่งมานานพอสมควรแล้ว หลายปีที่ผ่านมา PepsiCo มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า Coca-Cola มาตลอด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา PepsiCo โต 7.8% ขณะที่ Coca-Cola เติบโตเพียง 2.4%

คงไม่มีใครคัดค้านว่า "น้ำอัดลม" (carbonated drink) กำลังอยู่ในเทรนด์ขาลง

ผู้บริโภคเริ่มสนใจสุขภาพมากขึ้น บริโภคน้ำอัดลม (ซึ่งเป็นผลร้ายต่อร่างกาย) ลดลง หันไปดื่มน้ำเปล่า เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา และเครื่องดื่มชูกำลังมากขึ้น

"เป๊ปซี่" และ "โค้ก" เลือกเดินกันคนละทาง

PepsiCo เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1965 (พ.ศ. 2508) โดยเป็นการรวมกันระหว่าง Pepsi-Cola Co. และ Frito-Lay กลายเป็นบริษัทน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยว (Soft drinks & Snack foods)

ในปี 1998 เป๊ปซี่กระจายธุรกิจออกไปอีก (Diversified) โดยได้ซื้อกิจการน้ำผลไม้ยักษ์ใหญ่ Tropicana

ในปี 2001 เป๊ปซี่ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งโดยซื้อบริษัท Quaker Oats เจ้าของเครื่องดื่มเกลือแร่ (Sport Drink) อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Gatorade ... ด้วยมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

จริง ๆ โค้กก็ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ประมูลซื้อ Quaker Oats ด้วย แต่บอร์ดบริษัท (ซึ่งมี Warren Buffet เป็นหนึ่งในนั้น) ตัดสินใจไม่เอา เพราะเห็นว่าราคาแพงเกินไป

ทำไมเป๊ปซี่เลือกขยายธุรกิจออกไป ในขณะที่โค้กเน้นที่จุดเดิม?

เป๊ปซี่ตระหนักได้เร็วกว่าโค้กมาก ว่าน้ำอัดลมอยู่ในขาลง และเป๊ปซี่จำเป็นต้องขยายไปในเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่ไม่อัดแก๊ส รวมทั้งขนมขบเคี้ยวด้วย หรือพูดอีกแบบได้ว่าเป๊ปซี่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในรสนิยมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้ดีกว่า และตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าด้วย

กลยุทธ์กระจายการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของเป๊ปซี่ได้สะท้อนผ่านไปยังมูลค่าหุ้นที่ทะยานขึ้นเรื่อย ๆ จนแซงโค้กได้ในที่สุด
ปัจจุบัน มากกว่าครึ่งของรายได้บริษัท PepsiCo มาจากขนมขบเคี้ยว ที่มาจากน้ำอัดลมนั้นมีน้อยกว่า 20% เสียอีก

ในขณะที่รายได้เกือบทั้งหมด (มากกว่า 80%) ของ Coca-Cola มาจากธุรกิจน้ำอัดลม ส่วนธุรกิจอื่น ๆ เช่น น้ำผลไม้ Minute Maid เครื่องดื่มเกลือแร่ Powerade และน้ำดื่ม Dasani ที่โค้กพยายามสร้างขึ้นนั้น ก็มีส่วนแบ่งตลาดที่ไล่หลังเป๊ปซี่อีกเยอะ

Isdell ซีอีโอคนปัจจุบันพยายามเปลี่ยนเส้นทางของ Coca-Cola เขาเป็นลูกหม้อเก่าของโค้ก ซึ่งเกษียณอายุไปแล้ว แต่ถูกเรียกตัวกลับมาเมื่อปี 47 เพื่อกู้สถานการณ์อันย่ำแย่ของบริษัท

Coca-Cola นั้นได้เริ่มชะงักงันมานับตั้งแต่การเสียชีวิตคาตำแหน่งของ Roberto Goizueta ซีอีโอผู้ประสบความสำเร็จที่สุดของบริษัท (ตั้งแต่ปี 1997) เขาไม่ได้สร้างทายาทผู้สืบทอดเอาไว้ และซีอีโออีกสองคนหลังจากนั้นก็ไม่สามารถนำพาโค้กให้เติบโตได้ จนในที่สุดบอร์ดบริหารตัดสินใจจะดึง Isdell ให้มาพลิกสถานการณ์

แผนของเขาคือ เน้น "กลุ่มเครื่องดื่มไม่อัดแก๊ส" (non-carbonated drinks) มากขึ้น เพิ่มการทำการตลาดให้มากขึ้น ทว่าดูเหมือนโค้กยังติดกับกรอบเดิม ๆ อยู่ คือใช้วิธีการขยายแบรนด์ออกไป (marginal brand extension) มากกว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่แกะกล่อง (breakthrough new products)

ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 48 โค้กประกาศแคมเปญใหม่ "Welcome to the Coke side of life"
หลังจากที่ได้ใช้ "It's the Real Thing" มาตั้งแต่ปี 1969 เพื่อพยายามชูให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ ของบริษัท นอกจากน้ำดำอย่างโค้ก พร้อมทั้งออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีกหลายตัว โดยเฉพาะ "โค้กรสกาแฟ"

เขาแถลงอีกว่าจะใช้ตำราการซื้อกิจการเล่มเดียวกับที่เป๊ปซี่ได้ทำมาก่อน และจะเริ่มเสาะหาแบรนด์ระดับภูมิภาคที่น่าซื้อ

การแซงหน้าโค้กของเป๊ปซี่ในครั้งนี้บอกอะไรกับเราบ้าง? เป๊ปซี่จะรักษาสถานภาพนี้ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่? กลยุทธ์ใหม่ของโค้กจะประสบความสำเร็จเพียงใด? และจะพลิกกลับมาครองแชมป์อีกครั้งหนึ่งได้หรือไม่?

บทวิเคราะห์

แต่ไหนแต่ไรมา ไม่เคยได้ยินเลยว่าเป๊ปซี่ (Pepsi)จะมีโอกาสแซงหน้าโค้ก(Coke) เอาเพียงแค่ใกล้เคียงก็ยากเสียแล้ว ในโลกน้ำดำ ไม่มีใครอาจหาญเทียบโค้ก กระทั่งเป๊ปซี่ก็ยากที่ทาบรัศมีได้

เป๊ปซี่เองก็รู้ จึงใช้ Gimmick ทางการตลาดต่างๆออกมาสู้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Music Marketing หรือ Sport Marketing ก่อนที่จะพบว่าอย่างดีก็เป็นได้แค่ที่สอง

อย่างไรก็ตาม สถานภาพที่สองของเป๊ปซี่นั้น กลับเป็นผลดีต่อเป๊ปซี่ เพราะทำให้เป๊ปซี่ไม่ดันทุรังที่เอาชนะโค้กในตลาดน้ำดำอีกต่อไป แต่เป๊ปซี่แสวงหา "วิถี" ใหม่ซึ่งแตกต่างจากโค้ก

โค้กนั้นเน้นกลยุทธ์โฟกัส ขายน้ำดำเป็นหลัก น้ำสีเป็นรอง ส่วนน้ำประเภทอื่นๆก็ลงสู่ตลาดเพราะจำเป็นต้องลงเนื่องจากตลาดมาแรงมาก ต้องพยายามเข้าไปมีเอี่ยว

ขณะที่เป๊ปซี่ขยายไปสู่ตลาดฟาสต์ฟูดส์และขนมขบเคี้ยว กระจายความเสี่ยงและขยายเข้าไปในตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเลย์ที่เป็นเจ้าตลาดในธุรกิจนี้

ในด้านเครื่องดื่มใหม่นั้น กลยุทธ์ของเป๊ปซี่มุ่งซื้อแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว เพื่อประหยัดเวลา ไม่ต้องสร้างเอง เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่เกเตอเรด

ส่วนโค้กนั้นถือดีว่าตนเองมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง และมีเม็ดเงินก้อนใหญ่ ใช้ในการโฆษณาไม่จำกัด แต่ทว่าทุนดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้โค้กประสบความสำเร็จในการออกสินค้าใหม่ๆแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับเป๊ปซี่ซึ่งซื้อแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ไม่ต้องลำบากแต่อย่างใด ก็สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้มาก

นับวันเป๊ปซี่จึงโตขึ้นทุกวัน ขณะที่โค้กอยู่ในสภาวะถดถอย เพราะตลาดน้ำดำเติบโตน้อย การประสบความสำเร็จของเป๊ปซี่เหนือโค้กสะท้อนให้เห็นว่ากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงและซื้อกิจการที่ประสบความสำเร็จแล้ว ย่อมดีกว่าการยึดติดกับการโฟกัสในธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง และการสร้างสินค้าตัวใหม่ด้วยตนเองย่อมยากกว่าการซื้อกิจการที่ประสบความสำเร็จ

มูลค่าตลาดของเป๊ปซี่คงเพิ่มไปเรื่อยๆ ขณะที่โค้กคงจะอยู่ที่เดิม เพราะโค้กก็ไม่มีกลยุทธ์ใหม่ๆอะไร เนื่องจากขาดผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถ

หนทางเดียวที่โค้กจะตีตื้นขึ้นมาได้ก็คือการซื้อแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในตลาดแล้วสักสองสามแบรนด์ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเข้าสู่ตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง เพราะตอนนี้โค้กมีเงินสดอยู่ในมือมากถึง 5 พันล้านเหรียญหรือ 200,000 ล้านบาท

ซื้อ Red Bull สิ โค้กจึงจะมีโอกาสชนะเป๊ปซี่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us