Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
สิทธิการเข้ารับการรักษา ความหวังที่เห็นอยู่รำไร             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย จารุสุดา เรืองสุวรรณ
 

   
related stories

โรงพยาบาล..หุ้นน่ามอง..ที่ถูกเมิน

   
search resources

ทรงยศ ชัยชนะ
Hospital




แม้ว่าบรรดาผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหนาๆ ทั้งหลายจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลกันมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะความเจ็บป่วยไม่สามารถห้ามกันได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้มีหน้าใหม่ๆ เปิดร.พ.กันอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งทางหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงคือกองประกอบโรคศิลป์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต้องเหนื่อยหนักขึ้นไปอีกในการเข้าตรวจตราและสอดส่องให้สถานพยาบาลนั้นมีความเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยมากที่สุด ปัจจุบันกองกำกับโรคศิลป์อยู่ภายใต้การดูแลของ น.พ.ทรงยศ ชัยชนะ ในฐานะผู้อำนวยการ

"หน้าที่หลักคือออกใบอนุญาต ดูแลและกำหนดมาตรฐานซึ่งเรามี พ.ร.บ.สถานพยาบาล ปี 2504 เป็นมาตรฐานในการดูแลข้อกำหนดในพ.ร.บ.นี้จะเน้นเพียงสิ่งแวดล้อม ความสะอาด และกำหนดอย่างกว้างๆ ว่าเหมาะสำหรับการดูแล รักษาผู้ป่วยหรือไม่

เพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยได้รับการบริการในสถานที่ที่เหมาะสมและถูกต้องตามข้อกำหนด หน่วยงานนี้จะมีหน้าที่ในการออกพื้นที่ไปตรวจตามร.พ.ต่างๆ ด้วย แต่เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนร.พ.มีเป็นจำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่ของทางราชการมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ในระยะหลังนี้การออกตรวจสถานพยาบาลเริ่มซาน้อยลง และไม่ทั่วถึง ซึ่งในเรื่องนี้ ทางกองประกอบโรคศิลป์เองก็ตระหนักดีจึงได้มีการแก้ไขด้วยการกระจายอำนาจออกไปในส่วนที่เป็นพื้นที่ต่างจังหวัด

"เนื่องจากต้องไปตรวจโรงพยาบาลแห่งใหม่อยู่เรื่อยๆ เราได้แก้ไขด้วยวิธีการกระจายอำนาจออกไป เช่น ในต่างจังหวัดก็ให้สาธารณสุขจังหวัดรับผิดชอบ ซึ่งจะครอบคลุมมากขึ้น"

โดยทีมงานที่จะออกไปตรวจนั้นจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย คือ แพทย์ เภสัชกรและพยาบาล โดยแพทย์จะเข้าไปดูระบบวิธีการรักษา เภสัชกรจะดูทางด้านข้อกฎหมาย ด้านข้อมูลต่างๆ ส่วนพยาบาลจะเข้าไปตรวจตามจุดต่างๆ ของโรงพยาบาล ที่เป็นเช่นนั้น น.พ.ทรงยศได้ให้เหตุผลว่า

"เพราะพยาบาลถือว่าเป็นผู้ที่ต้องดูแลคนไข้และประจำอยู่ในโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนลักษณะการเข้าไปตรวจนั้นเราจะดูในแง่พื้นฐานเท่านั้น เพราะในการปฏิบัติงานจริงๆ ต้องขึ้นอยู่กับคนที่ทำงานด้วย แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ไปดู"

ปัจจุบัน ทางกองประกอบโรคศิลป์ ได้เริ่มที่จะเอาจริงเอาจังมากขึ้น โดยได้มีการจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เพื่ออกตรวจตามร.พ.ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 10 ทีมๆ ละ 3 คน ซึ่งก่อนที่จะออกตรวจนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ร.พ.นั้นๆ รับทราบก่อน

อย่างไรก็ตาม ตามสถิติเท่าที่ผ่านมา พบว่าการกระทำผิดของสถานพยาบาลตามพ.ร.บ.นั้น มีน้อยมาก ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรอบของข้อกฎหมาย แม้ว่าในบางแห่งยังมีจำนวนบุคลากรไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนเตียง แต่ก็ได้รับการยืดหยุ่น เพราะทางกองฯตระหนักดีถึงเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้ทางภาคเอกชนก็พยายามแก้ไขปัญหานี้ด้วยการสร้างบุคลากรขึ้นมารองรับอย่างเช่นพญาไท ก็ได้ใช้มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นฐานในการผลิตบุคลากร ขณะที่ร.พ.อีกหลายแห่งก็มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพนักงานขึ้นมาภายใน และมีการส่งพนักงานไปดูงานและศึกษาต่อต่างประเทศ

"เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวทางการแก้ปัญหาของเราคือ ต้องเข้าไปดูที่ระบบของแต่ละโรงพยาบาลประกอบด้วย เช่น ความปลอดภัยและความสามารถของเขาว่า เมื่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจะหาบุคลากรเพิ่มได้หรือไม่ เพราะข้อกฎหมายบางอย่างเราไม่มี เช่น ห้องฉุกเฉินเราไม่มีข้อกำหนดว่าต้องมีบุคลากรประจำกี่คน ดังนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและตามสภาพของแต่ละโรงพยาบาล" น.พ.ทรงยศ เล่า

สำหรับมาตรฐานของราคา น.พ.ทรงยศ กล่าวว่า มาตรฐานการควบคุมด้านราคายังไม่มีกฎหมายที่แน่ชัด เพียงแต่ได้เข้าไปให้คำแนะนำเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นเรื่องจรรยาบรรณ

"เราเข้าไปในลักษณะที่ว่าเขาเก็บค่ารักษาเหมาะกับโรคนั้นเพียงไร รักษาดีและปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาการร้องเรียนเรื่องราคามีน้อยมาก"

ในเรื่องของบทลงโทษผู้กระทำผิด จะเป็นการลงโทษทางวิชาชีพ คือพักใบอนุญาต และลงโทษทางอาญาและทางแพ่ง แต่การลงโทษโดยยึดใบอนุญาตคืนนั้น ปัจจุบันไทยยังยืดหยุ่นกว่าต่างประเทศ เพราะบุคลกรยังขาดแคลน

"เอกชนในบ้านเรามีสิทธ์ตามรัฐธรรมนูญ การที่จะทำอะไรกับเอกชนเราต้องมีอำนาจ แต่ขณะนี้เราไม่มีเพราะไม่มีกฎหมาย จะไปทำอะไรเขาได้"

ความล้าสมัยของกฎหมาย และการไม่มีอำนาจของหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง ได้กลายเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาโรคของผู้บริโภค ซึ่งในเรื่องนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เล็งเห็นและได้มีการผลักดันให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.สถานพยาบาล ปี 2504 ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้บริการมากขึ้น

ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถานพยาบาล ที่แก้ไขปรับปรุงใหม่แล้ว โดยพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ เนื้อหาสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ประกอบกิจการและดำเนินกิจการสถานพยาบาล การเลิก การย้าย การเปิดสถานพยาบาล การเพิกถอนในอนุญาตและการโฆษณากิจการของสถานพยาบาล

2. กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานพยาบาลประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือผู้อนุญาตในเรื่องการออกกฎกระทรวง การอนุญาต การปิดและเพิกถอนใบอนุญาต การพัฒนาคุณภาพในสถานบริการ การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการสถานพยาบาล

3. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล

4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแลสถานพยาบาล

5. กำหนดเพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้ครอบคลุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น

6. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการและดำเนินกิจการการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

"กฎหมายใหม่นี้ค่อนข้างดี เราจะให้อำนาจกับกรรมการในการออกประกาศข้อกำหนดซึ่งประกาศข้อกำหนดไม่ต้องแก้กฎหมาย ดังนั้นเราสามารถออกได้ทันทีและทันสมัยได้ตลอดเวลา แต่ว่าตัวแม่ต้องออกมาก่อน" น.พ.ทรงยศ กล่าว

ขณะนี้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ในระหว่างการนำเข้าพิจารณาในรัฐสภา เพื่อลงมติประกาศออกมาเป็นกฎหมาย ก็ได้แต่หวังว่าพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้จะออกมาใช้ได้ในเวลาอันใกล้นี้ เพราะนี่คืออาวุธสำคัญในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน และสามารถควบคุมจรรยาบรรณของสถานพยาบาลได้อีกทางหนึ่งด้วย ก็ขอฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลชุดนี้อย่าให้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us