|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สยาม ไวน์เนอรี่ ประกาศแผนปี 49 ปักธงปั้นธุรกิจไวน์โกยรายได้เพิ่ม ระบุปัจจัยบวกหนุนโอกาสตลาดไวน์โตพรวด ส่วนอาร์ทีดีส่อเค้าโตน้อย เจียดงบ 6 ล้านบาทผุดสื่อโฆษณาคอร์ปอเรตสร้างแบรนด์ครั้งแรกรอบหลายปี พร้อมเร่งขยายช่องทางจำหน่ายเต็มสูบ ปี 49ตั้งเป้ายอดขายไวน์โต 30%
แหล่งข่าวจาก บริษัท สยาม ไวน์เนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายไวน์ยี่ห้อ"มอนซูน แวลลี่ย์" และสปาย ไวน์คูลเลอร์ เปิดเผยกับ"ผู้จัดการรายวัน"ว่า แนวทางการตลาดปี2549 บริษัทได้เตรียมรุกธุรกิจไวน์มากขึ้น โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจไวน์จาก 20% เป็น 30% ส่วนสปาย ไวน์คูลเลอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ปรับสัดส่วนลดลงจาก 80% เหลือเป็น 70% ทั้งนี้เป็นเพราะแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่มโดยรวมหรืออาร์ทีดี ซึ่งแบ่งเป็น ตลาดไวน์คูลเลอร์มูลค่า 2,000 ล้านบาท และตลาดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม 1,000 ล้านบาท ในปี2549มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวใกล้เคียงกับปี 2548
เมื่อเทียบกับทิศทางตลาดไวน์นำเข้าและภายในประเทศตัวเลขในเชิงปริมาณ 16 ล้านลิตรในปี2549 คาดว่าจะมีทิศทางที่ดี เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สอดรับกับกระแสสุขภาพ อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกที่เป็นตัวบ่งชี้ด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองเริ่มหันมาดื่มไวน์เพิ่มขึ้น และกลายเป็นสินค้าที่ไม่ได้ไกลตัวเกินไปสำหรับคนไทย เพราะด้วยโครงสร้างราคาที่ถูก ทำให้หาซื้อได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งสินค้านำเข้ายังมีให้เลือกหลากหลาย ไวน์จึงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเซกเมนต์หนึ่ง ที่กลายเป็นทางเลือกสำหรับคนไทย และเริ่มขยายฐานจากกลุ่มเป้าหมายหลัก 35 ปีขึ้นไป สู่กลุ่มที่เริ่มทำงานอายุ 27 ปีขึ้นไป
ล่าสุดบริษัททุ่มงบ 6 ล้านบาท เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาในเชิงคอร์ปอเรตในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเป็นการนำร่องก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างแบรนด์ครั้งแรกในรอบหลายปีของธุรกิจไวน์ จากก่อนหน้านี้การทำตลาดไวน์จะเป็นลักษณะเงียบๆ โดยไม่มีการสร้างการรับรู้ผ่านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แม้ว่าเนื้อหาของภาพยนตร์โฆษณา จะเน้นในเรื่องการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นหลัก แต่ในทางอ้อมสยามไวน์เนอรี่จะได้ในแง่ภาพลักษณ์ รวมทั้งถือโอกาสสร้างตราสินค้าไปในตัว
แผนการตลาด บริษัทจะเริ่มให้ความสำคัญกับทำตลาดไวน์ภายในประเทศมากขึ้นในปี2549 ควบคู่กับการทำตลาดต่างประเทศ จากที่ผ่านมาการทำตลาดไวน์จะเน้นส่งออก 60% ส่วนตลาดภายในประเทศ 40% ภายใต้ไวน์ทั้งหมด 8-10 ตัว ในเบื้องต้นภายในประเทศได้เตรียมขยายช่องทางจำหน่ายทุกช่องทาง ทั้งในส่วนร้านอาหาร โรงแรม และโมเดิร์นเทรด รวมทั้งเพิ่มฐานลูกค้าที่เป็นไพรเวทมากขึ้น ส่วนตลาดต่างประเทศจะเน้นรักษาฐานลูกค้า ควบคู่กับการทยอยขยายฐานลูกค้าใหม่ จากปัจจุบันมีทั้งหมด 13 ประเทศ ได้แก่ อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ฯลฯ
ด้านการแข่งขันตลาดไวน์ภายในประเทศ ไวน์นำเข้ายังคงเป็นคู่แข่งรายหลัก ประกอบด้วย ไวน์ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และไวน์โลกใหม่ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ดื่มคนไทยยังคงยึดติดกับการดื่มไวน์นำเข้ามากกว่าที่จะดื่มไวน์จากผู้ผลิตไทย ขณะที่ผู้ผลิตไวน์ในประเทศมีเพียง 7 รายใหญ่ ประกอบด้วย กลุ่มชาละวันของสนั่น ขจรประศาสน์,ชาโต เดอ เลย ฯลฯโดยบริษัทไม่ได้มองว่าผู้ผลิตในประเทศเป็นคู่แข่ง แต่กลับถือว่าเป็นกลุ่มที่ช่วยสร้างตลาดและผลักดันไวน์ไทยให้มีอัตราการเติบโตมากกว่า
ผลประกอบในปี 2549 ธุรกิจไวน์ตั้งเป้ามีอัตราการเติบโต 30% เมื่อเทียบกับปี 2548 บริษัทมีอัตราการเติบโต 20%
|
|
|
|
|