|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"ทิสโก้" สำรวจเม็ดเงิน "เฮดจ์ฟันด์" ยังไหลทะลักไปกระจุกในตลาดที่ทำสถิตินิวไฮ ในรอบ 4-5 ปี อย่าง อย่าง เกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตรงกันข้ามตลาดหุ้นไทยยังติดเงินเฟ้อที่กดดันให้ดอกเบี้ยพุ่งสูงกว่าประเทศแถบเดียวกัน แต่ถึงอย่างไรกองทุนต่างชาติก็ยังลังเลจะเข้ามาลงทุน เพราะยังห่วงปัญหาเมืองแช่นาน บวกกับปัจจัยดึงดูดมีไม่มากพอ ต้องรอไปถึงปลายปี จนกว่าตลาดอื่นราคาไต่ขึ้นสูง ตลาดหุ้นไทยก็อาจราคาถูก และได้เปรียบ...
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ เห็นว่าตลาดหุ้นปี 2548 ที่ผ่านมา แรงซื้อจากต่างประเทศยังสูง แต่ถึงอย่างนั้นตลาดหุ้นไทยผลดำเนินงานหน้าตาก็ยังออกมาไม่สู้ดีนัก ส่วนหนึ่งก็เพราะการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ที่พลอยผลักให้เงินเฟ้อถีบตัวสูง จนกลายเป็นแรงกดดันให้ดอกเบี้ยไต่ขึ้นสูงสุดหากเทียบกับตลาดละแวกเดียวกัน
หากสำรวจเม็ดเงินจากกองทุนขนาดใหญหรือบรรดาเฮดจ์ฟันด์ต่างประเทศที่แต่ละกองบริหารเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ยังพบว่าเงินที่เตรียมขนมาลงทุนในตลาดเอเชียส่วนใหญ่จะไปกระจุกแน่นอยู่ในเกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งตลาดเหล่านี้มีผลดำเนินงานที่ค่อนข้างน่าสนใจ
แต่ถ้าเทียบกับตลาดหลายๆแห่งก็ยังพบว่า ส่วนใหญ่ทำสถิตินิวไฮในรอบ 4-5 ปี ผลดำเนินงานขยับสูงราวกับนัดกันไว้ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แต่ที่โดดเด่นและหน้าตาออกมาสะสวยที่สุดก็คือ ตลาดหุ้นเกาหลีที่ถีบตัวสูงระดับ 50% ต่างจาก 2-3 ปีก่อนที่ค่อนข้างเฉื่อย
" เม็ดเงินไหลเข้ามาแล้ว 1.2 แสนล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับที่ไหลไปทั่วโลก ถือว่าน้อยมาก แต่ถ้ามองตอนนี้นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในตลาดเหล่านี้ก็คงเริ่มกังวลบ้างแล้ว เพราะราคากำลังสูงขึ้น"
นักวิเคราะห์ มองว่า เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่พุ่งเร็ว ทำให้นักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนต่างๆ วิตกเป็นตามๆกัน และความกลัวก็ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนไกล กลุ่มที่เคยถือยาวก็เริ่มเทขายออกมา แต่ที่เข้าใจก็ยังถืออยู่
นอกจากดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่วิ่งเร็วแซงหน้าตลาดอื่น ปัญหาการเมืองที่แช่ตัวเนิ่นนานก็ทำให้ต่างประเทศห่วงพอๆกัน ตลาดหุ้นไทยจึงมีหน้าตาออกมาไม่ดี ขณะเดียวกัน พีอีเรโชหรือ ราคาเทียบกับรายได้ก็ต่ำมาก
" ปัจจัยบวกที่เข้ามาแต่ละครั้ง เช่น ตัวเลขสภาพัฒน์ ที่ประกาศออกมาเสียสวยหรู หรือการเมืองที่เริ่มคลี่คลายเล็กๆ ก็ยังไม่ใหญ่พอจะดึงเงินนอกให้เข้ามาลงทุนได้ เพราะต่างประเทศยังรอปัจจัยบวกที่มากกว่านี้"
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ยังวิ่งฉิว นอกจากจะตรึงให้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนย้ายตัวลำบากกว่าตลาดรอบข้าง และอาจจะจอดแน่นิ่ง สาเหตุสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือ ดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูง ทำให้เงินที่ลงทุนในหุ้นย้ายข้ามไปลงทุนในตลาดพันธบัตรระยะยาว ที่มีผลตอบแทนน่าสนใจกว่า การที่ยีลด์หรือผลตอบแทนสูงกว่าจึงทำให้มีเงินบางส่วนไหลกลับไปตลาดตราสารหนี้
นักวิเคราะห์มองว่าตลาดหุ้นไทยอาจจะถูกเรียกว่าถูกปิดกั้นโอกาส แต่ถ้ามองในมุมที่ได้เปรียบอย่างราคาที่ค่อนข้างต่ำ บรรดากองทุนต่างๆก็อาจมองเป็นอัดับแรก และจะดึงดูดความสนใจได้มากพอควร
ขณะเดียวกัน ต่างชาติจะเชื่อมั่นมากขึ้นถ้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์เริ่มเห็นเป็นรูปร่างบ้าง หรือภายใต้สมมุติฐานว่ารัฐบาลรับฟังปัญหาไม่สร้างภาพ นโยบายที่กำหนดไว้ในช่วงก่อนเลือกตั้งทำให้เกิดขึ้นก็จะทำให้นักลงทุนมั่นใจ
สำคัญที่สุดคือ เงินเฟ้อที่เป็นปัญหาหลักอาจจะลดลง ถ้าราคาน้ำมันไม่เพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นในไตรมาสแรกหุ้นก็น่าจะค่อยๆปรับขึ้นอย่างช้าๆ เพราะดอกเบี้ยยังปรับขึ้นได้อีก เงินเฟ้อก็จะยังเพิ่มขึ้นต่อไป แต่พอถึงปลายปี เงินเฟ้อจะลดลง เพราะดอกเบี้ยปรับขึ้นมากพอแล้ว ในช่วงปลายปีก็อาจจะเห็นเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามากกว่าปีนี้
นักวิเคราะห์มองว่า ดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูง ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลน่าสนใจมากกว่าปี 2547 ค่อนข้างมาก ดังนั้นปี 2549 การทำกำไรในตลาดหุ้นไทยคงทำไม่ง่าย และอาจไม่เห็นวี่แววว่าจะเหมือนกับ ปตท และปตท.สผ. ที่ราคาปรับขึ้นเพราะน้ำมันถีบตัวสูง
ทางหนึ่งที่น่าสนใจคือ คงต้องถึ่งการลงทุนจากภาครัฐ ที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น และมีแรงใช้จ่ายมากขึ้น เพราะถ้ากำไรบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ไม่สูงมากๆ ก็คงหานักลงทุนที่ทำกำไรจากการลงทุนในหุ้นได้ยากเช่นกัน
ปี 2549 จึงเป็นปีที่ตลาดหุ้นไทย เผชิญหน้ากับความท้าทายที่เข้ามาเยือนทั่วทุกสารทิศ...
|
|
 |
|
|