Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
ฮ่องกงใหม่ อนาคตยังกำหนดได้             
โดย รัศมี หาญวจนวงศ์
 

 
Charts & Figures

การอพยพออกของฮ่องกง
สถานภาพในเวทีโลกของฮ่องกง
ตลาดหุ้นฮ่องกงเติบโตอย่างขนานใหญ่--ขณะที่หุ้น "เรดชิป" แห่กันเข้ามาจุดพลุ

   
related stories

อนาคตของอุตสาหกรรมฮ่องกง บนความเสี่ยงกับวุฒิภาวะของปักกิ่ง

   
search resources

Economics
Hong Kong
Social




ความหวั่นไหวต่ออนาคตคือความรู้สึกที่อื้ออึงอยู่บนทุกตารางนิ้วของฮ่องกง เป็นบรรยากาศที่ไม่ลงตัวระหว่างความคาดหวังกับความวิตกกังวล สะสมนานปีมานับแต่ก่อนวันดีเดย์ 1 กรกฎาคม 2540-วันส่งมอบฮ่องกงคืนสู่การปกครองของจีน ตอกย้ำอยู่จนทุกโมงยามของปัจจุบัน ความคาดหวังที่จะฉกฉวยโอกาสใหม่ๆ มูลค่ามหาศาลจากแผ่นดินใหญ่ของจีน ต่อสู้อยู่กับความหวาดระแวงตัวตนอันแท้จริงของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอิงตลาดโลก

ผู้คนทั่วไป นักลงทุน นักวิชาการ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกแอบซ่อนความหวั่นใจว่า จีนอาจไม่สามารถสัมผัสหยั่งเข้าไปถึงปัจจัยที่สร้างความเป็นฮ่องกงได้จริง ในขณะเดียวกันทุกฝ่ายก็ไม่อาจปฏิเสธว่า ฮ่องกงภายใต้อธิปไตยจีนสามารถนำมาซึ่งความรุ่งเรือง อีกเฟสหนึ่งแก่ดินแดนอดีตอาณานิคมอังกฤษแห่งนี้

วิชั่นหลากหลายกระแสผุดขึ้นในมโนภาพของผู้ที่มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เฝ้าดูเอาใจช่วย

บ้างมองเห็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลรองรับการขยายตัวของฮ่องกงผืนแผ่นดินเหยียดลึกไม่เฉพาะแค่ในมณฑลกวางตุ้ง แต่ยังสยายไปยังมณฑลอื่นๆ ทางตอนในของแผ่นดินจีน ซึ่งมีทรัพยากรราคาถูกเหมือนได้เปล่ามาช่วยบำรุง บำเรอชีวิตและการประกอบการของผู้คนชาวฮ่องกง

บ้างหวังเม็ดเงินจากบริษัทยักษ์ของจีนที่จะหลั่งไหลเข้าตลาดทุนของฮ่องกง อันจะนำพาให้ฮ่องกงเป็นแหล่งเงินทุนใหญ่ที่สุดของเอเชียยุคศตวรรษที่ 21

บ้างมั่นใจว่าฮ่องกงในฐานะสะพานเชื่อมดวงดาวสู่แผ่นดินของผู้บริโภคเรือนพันล้านปากท้อง จะยึดเหนี่ยวบริษัทข้ามชาติจากโลกตะวันตกให้ต้องยึดพื้นที่ในฮ่องกงไว้ให้มั่น พร้อมกับเร่งระดมเม็ดเงินจากทั่วโลกมาลงทุนกับบริษัทชั้นนำจากจีนบนผืนดินของฮ่องกง

แต่บ้างหวั่นวิตกต่อกระแสเผด็จการ ซึ่งแม้จะแฝงเร้นไว้แนบเนียน ก็อาจไม่แคล้วจะยื่นมือเข้าแทรกแซงและควบคุม อันจะผลักไสบริษัทระดับโลก ต้องพ่ายหนีออกไปจากฮ่องกง

บ้างทำนายว่าระบบเศรษฐกิจของฮ่องกงจะต้องเข้าสู่ความฟอนเฟะ จากการทำตามอำเภอใจของบรรดาวิสาหกิจจากจีน ซึ่งไม่เคยคิดจะยอมรับกฎเกณฑ์ระเบียบทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ในขณะที่จะไม่มีใครหรือองค์การใดสามารถคุมประพฤติวิสาหกิจเหล่านี้ได้

บ้างเห็นกลียุครออยู่ในอนาคตอันใกล้ เมื่อคลื่นมนุษย์หลั่งไหลเข้าสู่ฮ่องกง สร้างภาระทางสังคมรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความขาดแคลนด้านที่อยู่อาศัย ความไม่เพียงพอทางการศึกษา หรือความโกลาหล ความไม่สงบสุขในชุมชน

บนการวิเคราะห์ ความเชื่อ และสังหรณ์ที่ต่างๆ กัน ผู้คนชาวฮ่องกงได้ลงมือกำหนดอนาคตของตนเองในส่วนที่ตนทำได้มาตลอดระยะ 13 ปีที่ได้รับทราบแน่นอนแล้วว่า ฮ่องกงไม่อาจพ้นเงื้อมมือของจีนไปได้ หลังจากที่จีนประสบความสำเร็จบีบให้อังกฤษยอมลงนามคืนฮ่องกงสู่อธิปไตยของจีน ตามแถลงการณ์ร่วมระหว่างอังกฤษ-จีน ปี 1984


เส้นทางอนาคตเลือกไว้กว่าทศวรรษแล้ว

คนฮ่องกงจำนวนไม่น้อยตัดสินใจเลือกแนวทางการอพยพออก ซึ่งตกอยู่ในช่วงประมาณปีละ 30,000-65,000 คน นับว่าไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรฮ่องกงปัจจุบัน 6.4 ล้านคน (ดูกราฟแจกแจงการอพยพออกระหว่างปี 1987-1995) ทั้งนี้ ชาวฮ่องกงที่ถือพาสปอร์ต 2 สัญชาติ หรือมีวิธีอพยพอื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ของประชากรฮ่องกงทั้งหมด

ส่วนคนฮ่องกงที่ยังปักหลักอยู่นั้น มีตั้งแต่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจสังคม กลุ่มที่ย้ายทุนออกไปบ้างแล้ว แต่ยังรอดูรอหาโอกาสดีๆ ไปจนถึงกลุ่มที่ตั้งเป้าหมายจะแสวงประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้ลงทุนไปแล้วอย่างต่อเนื่อง ทั้งในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่

ทุนของคนกลุ่มนี้เองที่แย่งชิงกันซื้อโอกาสแห่งอนาคต ส่งผลให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงเฟ้อขึ้นติดอันดับอสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดในโลก อีกทั้งยังทำให้ราคาของหลักทรัพย์ดีดตัวขึ้นทำ New High ซ้ำแล้วซ้ำอีก นับจากปลายปี 1995 มา ดัชนีฮั่งเส็งทะยานขึ้นกว่า 20% แล้ว สวนกระแสขาลงเรื้อรังของตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในเอเชีย

คนเหล่านี้เป็นเจ้าของเม็ดเงินมหาศาลมากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ ที่หว่านเข้าไปลงทุนในจีน มากมากขณะที่ทำให้ สัดส่วนการลงทุนของฮ่องกงในจีน สูงถึง 54% ของการลงทุนต่างชาติในจีนทั้งหมด

คนกลุ่มนี้เป็นนายจ้างของชาวจีนท้องถิ่นบนแผ่นดินใหญ่จำนวนกว่า 5 ล้านคนซึ่งเกือบเท่ากับประชากรทั้งหมดของฮ่องกง

ร่วมใจสานฝัน สร้างสรรค์ฮ่องกงใหม่

รัฐบาลใหม่ของฮ่องกงที่มี ต่งเจี้ยนหวา เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร แม้ในช่วงที่ยังไม่ได้เข้ารับมอบงานอย่างเป็นทางการ ก็ได้พยายามฉายภาพความเรืองรองที่รัฐตั้งเป้าหมายไว้อย่างอลังการ เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมสานฝัน สร้างสรรค์อนาคตเฟสใหม่ให้แก่ฮ่องกง

เศรษฐกิจของฮ่องกงได้รับการกำหนดให้ขยายตัวเข้าไปยังตอนในของแผ่นดินใหญ่จีน ตัวเมืองฮ่องกงจะต้องขยายพื้นที่ มหานครฮ่องกงใหม่จะแผ่บริเวณลึกเข้าไปครอบคลุมเมืองใหญ่น้อยในแถบปากแมน้ำจูเจียงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว จนฮ่องกง กับ กวางโจว ผนึกกลายเป็นเมืองคู่แฝด โดยที่กวางโจว จะเป็นอุปทานตอบสนองตลาดที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่ต้องการบ้านชานเมืองขนาดกว้างขวางไปจนถึงคฤหาสน์หรู เพื่อการพักผ่อนของกลุ่มผู้มีอันจะกิน

ทางด้านอุตสาหกรรม จะสามารถขยับขยายเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในดินแดนตอนใต้ของจีนได้สะดวกถนัดถนี่ยิ่งขึ้น

ปัจจัยอำนวยความสะดวกทุกอย่างล้วนแต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งขยายความร่วมมือกับทางการฝ่ายมณฑลกวางตุ้งสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ไปจนถึงการระดมผุดโรงงงานอุตสาหกรรมครบครันด้วยเทคโนโลยีระดับสูง

ในด้านการศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยี รัฐบาลของต่งเจี้ยนหวา กำหนดจะทุ่มงบประมาณให้เป็นพิเศษ โดยมุ่งเน้นจะตอบสนองการยกระดับ และการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ธุรกิจการเงินได้รับการวางตัวให้เป็นแกนของระบบเศรษฐกิจ ทางการฮ่องกงตระเตรียมโครงสร้างที่จะบีบให้วิสาหกิจจีนที่มาลงทุนในฮ่องกง ยอมปรับใช้ระบบบัญชีและระบบการบริหารแบบมาตรฐานสากล ในขณะที่บริษัทข้ามชาติจากโลกตะวันตก ถูกคาดหวังว่ายังมีความพึงใจที่จะใช้ฮ่องกงเป็นฐานระดมเม็ดเงินจากทั่วโลก มาลงทุนกับวิสาหกิจสัญชาติจีนที่มีศักยภาพดี

ความคาดหวังและภาพฝันของฝ่ายที่เชื่อมั่นในอนาคตของฮ่องกง ได้รับการตอบสนองอย่างคับคั่งจากบรรดาบริษัทต่างชาติ ในช่วงระหว่างปี 1990-1995 จำนวนบริษัทข้ามชาติที่ตั้งสำนักงานใหญ่บนฮ่องกงเพิ่มขึ้น 36% คือจากจำนวน 581 รายเป็น 793 ราย ภายในอาคารสำนักงานที่เบียดเสียดในฮ่องกง ล้วนเต็มไปด้วยสำนักงานสาขาของบริษัทชั้นนำของโลก ที่มาตั้งหลักอยู่ในฮ่องกง เพื่อใช้เป็นศูนย์ติดต่อออกไปยังเมืองธุรกิจของประเทศอื่นๆ

ฮ่องกงยังสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางของเอเชียในด้านต่างๆ อย่างเหนียวแน่น ซึ่งทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย ทำให้ตลาดค้าเงินตราฮ่องกงใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และทำให้ตลาดค้าทองคำฮ่องกงใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ปัจจุบันนี้การลงทุนของต่างชาติในฮ่องกงมีมูลค่ารวมประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว

ทรัพย์ศฤงคารหรือนรกบนดินที่จะได้รับคืนมา

การยืนหยัดขยายการลงทุนในฮ่องกงและจีนตลอด 13 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นการตัดสินใจกำหนดให้อนาคตผสานเข้ากับอ้อมแขนของจีนแผ่นดินใหญ่ และการตัดสินใจนี้เองที่ก่อให้เกิดความหวั่นไหวต่ออนาคต

เพราะหลังจากที่เงื้อมเงาของการปกครองเผด็จการสังคมนิยมเข้าปกคลุมทุกหัวระแหงของฮ่องกงอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ก็ถึงเวลารอดูตัวตนแท้จริงของรัฐบาลปักกิ่งว่า จะสามารถอดกลั้นไม่กระทำต่อชาวฮ่องกง อย่างที่ปฏิบัติต่อชาวจีนแผ่นดินใหญ่ได้นานเพียงไร

นอกจากนั้นชาวฮ่องกงยังระทึกใจกับกระแสถั่งโถมเข้ามาอย่างเต็มรูปแบบของระบบต่างๆ ของจีน ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการที่ลือเลื่องว่าเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง หนำซ้ำยังมักจะยุ่มย่ามเข้าแทรกแซงกิจการภาคเอกชน อีกทั้งระบบการควบคุมสื่อมวลชนและระบบเศรษฐกิจอันฟอนเฟะกับตลาดหลักทรัพย์ที่ฉ้อฉล

รูปธรรมง่ายๆ ซึ่งเป็นที่กริ่งเกรงของบรรดาผู้ประกอบการ ได้แก่ความไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐบาลปักกิ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้บ่อยโดยไม่แจ้งหรือประกาศเตือนล่วงหน้า, ลักธิพวกพ้องที่จะบั่นทอนบรรยากาศการแข่งขันเสรี, การไม่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาคำมั่นสัญญาหรือข้อตกลงในหนังสือสัญญา, อีกทั้งการไม่แยกแยะระหว่างเรื่องการเมืองออกจากการค้า ผลกระทบจากลักษณะเหล่านี้นั่นเองที่ฮ่องกงหวั่นเกรงว่าจะเกิดขึ้น และมาทำลายความคาดหวังทั้งมวล ซึ่งจะส่งผลเป็นการฆ่าทั้งเป็นต่อนครฮ่องกงโดยรวม

ต้นทุนของจีน : ล้มเหลวคือพังครืน

อย่างไรก็ตาม ความวิตกถูกลบล้างบรรเทาด้วยการวิเคราะห์ถึงผลบวกผลลบที่จีนจะต้องแบกเป็นต้นทุน

หากฮ่องกงถูกทำลายไปด้วยน้ำมือของจีน เศรษฐกิจของจีนเองย่อมต้องถูกระทบอย่างรุนแรงไปด้วย ด้วยว่าการลงทุนของจีนได้จมลงไปมากมายในฮ่องกง รัฐบาลปักกิ่งย่อมไม่ต้องการความล้มเหลวในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองอย่างยากจะเยียวยา นอกจากนั้น เกียรติภูมิของจีนในสายตาชาวโลก กับการจูงใจไต้หวันให้โอนอ่อนเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของมหาอำนาจจีน ย่อมขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการผนึกผสานฮ่องกง

ขณะนี้ การพึ่งพิงของจีนต่อฮ่องกงนั้นมหาศาล จีนจำเป็นต้องใช้ฮ่องกงเป็นตัวเชื่อมโยงสู่ตลาดโลก ความสำเร็จทางเศรษฐกิจในระดับตัวเลขในด้านการธนาคาร ด้านการบริหาร ด้านการบัญชี และด้านกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งนับแต่ละทวีขึ้นเรื่อยๆ

แนวโน้มวันนี้ยังสดใส

ไม่ว่าความแตกต่างระหว่างฮ่องกงกับจีนจะชัดเจนเพียงไร ความผสมผสานเข้าหากันที่ปรากฏให้เห็นมานานกว่าทศวรรษดูจะดีวันดีคืน แนวโน้มฮ่องกงยุคใหม่ส่อไปในทางโอนอ่อนให้จีนมาก สื่อมวลชนฮ่องกงเพลามือลงไปเมื่อนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับจีน รัฐบาลใหม่ของฮ่องกงหลีกเลี่ยงที่จะแย้งกับจีนต่อหน้าสาธารณะ ในด้านของกฎหมาย ก็เริ่มปรับเพื่อสร้างความพอใจแก่ฝ่ายจีน อาทิ การออกข้อบังคับในเรื่องการชุมนุมประท้วง

แนวโน้มเหล่านี้ถึงกับถูกหลายๆ ฝ่ายเตือนว่า อาจส่งผลให้ฮ่องกงเสียคุณลักษณ์ความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค พ้อมกับการถลำเข้าไปพึ่งพิงแผ่นดินใหญ่มากเกินไป แทนที่จะกระจายออกไปทั่วภูมิภาค นอกจากนั้น ยังจะทำให้เสถียรภาพของฮ่องกง ต้องไปผูกติดอยู่กับความมั่นคงทางการเมืองและสังคมของจีนเกินความจำเป็น

ต่งเจี้ยนหวา ในฐานะหัวหน้าคณะบริหารของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ย่อมเป็นบุคคลสำคัญ ผู้จะประคองดุลยภาพระหว่างเมืองแห่งทุนนิยมเมืองนี้กับมหาอำนาจเผด็จการสังคมนิยม

เขาได้รับเครดิตในด้านความไม่ใฝ่อำนาจ การวางตัวเป็นกลาง เขามีฐานอำนาจการเมืองในฮ่องกงช่วยหนุนหลังไม่มากเลย แต่เขานับว่าเป็นคนของปักกิ่งตัวจริง ในเดือนธันวาคม 1996 เขาสามารถกวาดคะแนนสนับสนุนจากคณะกรรมการสรรหา(ซึ่งเป็นคณะที่แต่งตั้งโดยจีน) ได้อย่างท่วมท้นคือ 320 เสียงจากทั้งหมด 400 เสียง กระนั้นก็ตามบุคคลใกล้ชิดของเขาให้ข้อมูลว่า ณ หลังฉาก เขาเป็นบุคคลประเภทที่กล้าลุกขึ้นต่อกรกับฝ่ายจีน เช่น การทัดทานรัฐบาลปักกิ่งเพื่อช่วยปกป้องรักษาตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือนระดับสูงของฮ่องกงหลายราย

เดิมพันอนาคต แพงเท่าชีวิต

ถ้าเหตุการณ์เป็นไปอย่างราบรื่นผลประโยชน์ลงตัว ผู้ด้อยโอกาสในฮ่องกงพบชีวิตที่ดีขึ้น สภาพการณ์ทางสังคมและการเมืองย่อมไม่มีการเผชิญหน้าท้าทายกับการแทรกแซงควบคุมจากปักกิ่ง แต่หากเป็นตรงข้าม ถ้ามีปัจจัยการเรียกร้องความเท่าเทียมกับฮ่อง เกิดขึ้นในดินแดนกว้างใหญ่ของจีน หรือปัญหาความล้มเหลวที่จะควบคุมวิสาหกิจของลูกท่านหลานเธอ มิให้มาสำแดงอิทธิฤทธิ์ของลักธิพวกพ้องกับลักธิเลือกปฏิบัติในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม หรือถ้าเส้นศีลธรรมของผู้นำปักกิ่งบอบบางเกินกว่าจะยอมรับวัฒนธรรมเสรีนิยมได้ อันจะส่งผลให้เกิดการลงไม้ลงมือขึ้น สัมพันธภาพของฮ่องกงกับจีนจะยังสงบอยู่ได้หรือ อาการศิโรราบต่อนายใหม่จะยั่งยืนไปได้หรือ

อนาคตส่วนที่ยังเหลือให้ชาวฮ่องกงต้องกำหนดตัวเองย่อมจะโดดเด่นขึ้นเรียกร้องคำตอบ อนาคตยังกำหนดได้อีกหลายฉาก แต่ราคาที่ต้องจ่ายนั้นคือ เดิมพันของชีวิตแห่งฮ่องกงทั้งมวล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us