Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
บริษัทรับสร้างบ้าน บนเส้นทางสู่ปี 2540             
 

 
Charts & Figures

รายชื่อ 10 อันดับบริษัทรับสร้างบ้านที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในปี 2539


   
search resources

สตาร์บล็อค กรุ๊ป, บมจ.
สุเทพ บูลกุล
Real Estate




ธุรกิจรับสร้างบ้าน เคยบูมสุดๆ พร้อมกับธุรกิจอื่นๆ เมื่อสมัยยุคทองของอสังหาริมทรัพย์ คราวนั้นบรรดานักลงทุนที่รวยหุ้นจากการเป็นนายหน้าขายที่ดินหรือ รวยจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เก็งกำไรต่างต้องการสร้างบ้านเองที่สวยงามหรูหราไม่ซ้ำแบบใครกันทั้งนั้น

เมื่อเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำและการดำเนินงานไม่ยุ่งยากมากนัก ธุรกิจรับสร้างบ้านจึงผุดโผล่กันอย่างมากมายในปี 2531-2533 โดยมีการขยายตัวสูงถึงปีละ 25%

แต่เมื่อภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจโดยทั่วไปซบเซา ก็กลายเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ เหมือนกัน

สุเทพ บูลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทสตาร์บล็อค บริษัทรับสร้างบ้านอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เป็นบริษัทหนึ่งที่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัด เพราะหลังจากแจ้งยอดรายได้ประจำปีเมื่อ 2539 พบว่ามียอดติดลบถึง 2,227 ล้านบาท ปัญหาหลักของบริษัทสตาร์บล็อคเกิดจากภาวะของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ไม่มีงานก่อสร้างใหญ่ๆ เข้ามาเพราะในช่วงหลัง รายได้สำคัญส่วนหนึ่งมาจากการรับงานก่อสร้าง การรับเฉพาะงานสร้างบ้าน ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เกิดขึ้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยก็ตามมา พร้อมๆ กับมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก

ทางออกของสตาร์บล็อคที่คาดการณ์กันไว้ก็คือ บริษัทต้องขายทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือตัวเองและในเดือนมีนาคม 2540 ที่ผ่านมา บริษัทได้ขายหุ้นจำนวน 2.9 ล้านหุ้นในบ.เอส จี. สตาร์พร็อพเพอตี้ ให้แก่บริษัทสุวิทย์และเสรีเป็นเงิน 111 ล้านบาท เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 ขายที่ดิน 7 ไร่กว่าในจังหวัดนครปฐมเป็นเงิน 42 ล้าน ขายอาคารพาณิชย์ ย่านบางกอกน้อยได้เงินมา 10 ล้านบาท รวมทั้งปิดสาขาย่อยบางแห่ง สำหรับทางออกของบริษัทในเรื่องหาผู้ร่วมทุนคงเป็นไปได้ยาก เพราะหนี้สินสูงมากและยังหาทางทำกำไรได้ยากมาก

กรณีของบริษัทสตาร์บล็อค เป็นอุทาหรณ์ให้กับหลายๆ บริษัททีเดียว เพราะทุกวันนี้ ยังมีบริษัทหน้าใหม่อีกหลายรายที่ผันตัวเองจากบริษัทรับเหมาขนาดกลาง แต่ปัจจุบันมีงานที่รับอยู่น้อย และต้องการหาช่องทางใหม่ๆ โดยเฉพาะในธุรกิจตลาดรับสร้างบ้าน

คณะอนุกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัย คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีตัวเลขยืนยันระบุว่า ปัจจุบันบริษัทรับสร้างบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคล และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมีประมาณ 100 บริษัท นอกจากนั้นจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่รับสร้างบ้านโดยไม่ได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลอย่างชัดเจนอีกจำนวนมาก

ปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจรับสร้างบ้าน ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางที่ผู้รับเหมาส่วนหนึ่งกำลังเฝ้ามอง เพื่อจะลงสนามนี้ด้วยหลังจากธุรกิจบ้านจัดสรรหลายโครงการชะลอตัวก็คือ มีการตัดราคาด้วยกันเอง ในขณะที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ว่ากันว่ากำไร ณ วันนี้ของธุรกิจรับสร้างบ้านเหลือเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น

ปัญหาบุคลากร แรงงานที่มีคุณภาพยังขาดแคลนอย่างหนัก ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ผลงานที่ออกมามีปัญหากับลูกค้า ปัญหาการเงิน ธุรกิจรับสร้างบ้าน และผู้สร้างบ้านหลังแรกต้องกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่สูง และยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือเหมือนกับผู้ซื้อบ้านหลังแรก ปัญหาในเรื่องการประสานกับหน่วยงานราชการ ที่ค่อนข้างล่าช้าไม่ว่าในเรื่องของการขออนุญาต ปลูกสร้างหรือการติดต่อขอสาธารณูปโภคต่างๆ

บริษัทรับสร้างบ้านที่ยังคงยืนหยัดอยู่ในวันนี้ จึงจำเป็นต้องพลิกค้นกลยุทธ์ทุกรูปแบบเพื่อความอยู่รอด

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับงานก่อสร้างในปัจจุบันนั้นต้องประสบปัญหาว่าเป็นที่นิยมของตลาดหรือไม่ ลูกค้ายอมรับหรือเปล่า และที่สำคัญต้นทุนจะสูงในขณะที่ปรับราคาบ้านให้สูงขึ้นได้ยาก

ส่วนการขยายสาขาออกต่างจังหวัดนั้น บริษัทรับสร้างบ้านใหญ่ๆ บางรายที่มีความพร้อมก็อาจมองตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ส่วนการขยายเครือข่ายของบริษัทรับสร้างบ้านในรูปแบบของแฟรนไชส์นั้นปัจจุบันบริษัท ซีคอน จำกัดกำลังศึกษารูปแบบซึ่งหากมีการเปิดสาขาในต่างจังหวัดได้จริง ก็จะช่วยสร้างตลาดใหม่ให้กับทางบริษัทเช่นกัน

นอกจากนั้นการขยายไปสู่การรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่หรือการกระจายไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านกำลังหาช่องทางมาโดยตลอด แต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากในภาวะเช่นนี้

สำหรับการกระตุ้นการขายโดยวิธีการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ นั้นบริษัทรับสร้างบ้านเคยใช้งบประมาณมากที่สุดเมื่อปี 2538 ทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แมกาซีน โฆษณากลางแจ้ง รวมกัน 153 ล้าน

บริษัทที่ใช้งบประมาณสูงสุดในปี 2539 คือ บริษัท ซีคอน จำกัด(มหาชน) ประมาณ 13 ล้านบาท ซึ่งใช้สื่อเพียง 2 สื่อเท่านั้นคือหนังสือพิมพ์ประมาณ 11 ล้าน และแมกาซีนอีกประมาณ 2 ล้าน (ดูรายละเอียดในตาราง)

สำหรับแนวโน้มในปี 2540 นี้คาดว่างบประมาณในการโฆษณาก็คงต้องลดลงมาเช่นกัน แต่บริษัทรับสร้างบ้านจะพยายามรักษาคุณภาพทั้งก่อนและหลังการส่งมอบงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเก่าช่วยประชาสัมพันธ์ปากต่อปากเป็นเรื่องที่สร้างภาพพจน์และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด้วย

อย่างไรก็ตามในวงการของบริษัทรับสร้างบ้านยังมีความหวังว่า ในปี 2540 นั้นอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้างเพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น บริษัทพัฒนาที่ดินหลายบริษัท ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ได้ตัดขายที่ดินแปลงเปล่าในโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้น จึงเป็นโอกาสให้บริษัทรับสร้างบ้านที่ดำเนินกิจการมานานจะสามารถใช้ลูกค้าเก่าเป็นฐานในการรักษาส่วนแบ่งตลาด พร้อมทั้งพัฒนาสินค้า สำหรับบริษัทใหม่ๆ จะใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาและเงื่อนไขที่ลูกค้าต้องการเพิ่มขึ้นจากข้อตกลงเดิมที่มีอยู่ เพื่อตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us