Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
จักรยานยนต์ไทย เกือบสายไป เหตุเพราะหิวเงินแท้ๆ             
 


   
search resources

สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นินนาท ไชยธีรภิญโญ
Motorcycle




สิ้นเสียงการประกาศจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากภาครัฐเพียงไม่กี่วัน เกือบทุกกลุ่มธุรกิจ ต่างร้องคัดค้านกันแทบทั้งสิ้น มีเหตุผลที่เหมาะสม น่าฟังบ้าง และเหตุผลที่น้ำหนักน้อยบ้าง ปะปนกันไป แต่มีอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ และอาจมองได้ว่า ปฏิบัติการหาเงินเข้ารัฐอย่างเร่งด่วนครั้งนี้ผิดพลาด เสียมากกว่าได้

28 พฤษภาคม 2540 ที่ผ่านมา ตัวแทนผู้ประกอบการผลิตและจำหน่าย รถจักรยานยนต์ของไทยประกอบด้วยฮอนด้า ซูซูกิ คาวาซากิ และยามาฮ่า ซึ่งอาจรวมถึงคาจิว่า ที่อยู่ในเครือเคพีเอ็นด้วยกัน ซึ่งคาจิว่าเป็นรายใหม่และน่าจะกระทบหนักที่สุด ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้เข้าชี้แจงถึงผลกระทบจากที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าเพิ่มขึ้น 9 รายการ โดยมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งรถจักรยานยนต์สองจังหวะเข้าข่ายนั้นด้วย

นินนาท ไชยธีรภิญโญ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวว่า หลังจากรับทราบนโยบายของภาครัฐ กลุ่มผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ได้มาประเมินถึงผลกระทบจากการประกาศจัดเก็บภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ ซึ่งผลสรุปออกมาว่า ต้องหารือเพื่อชี้แจงให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรับทราบปัญหา โดยสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์มีความเห็นว่า การประกาศนโยบายด้านภาษีครั้งนี้ ควรจะมีการบอกให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องมีเวลาในการเตรียมตัว ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของภาครัฐ

รถจักรยานยนต์สองจังหวะถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้า 9 รายการที่ต้องถูกจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 10% ทั้งที่ก่อนหน้าไม่มีการจัดเก็บมาก่อน โดยภาครัฐตีกรอบว่าเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลพิษ จากการประกาศจัดเก็บภาษีในครั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่า จะส่งผลให้อุตสาหกรรมของประเทศหยุดชะงัก และก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเวลานี้ ไม่เหมาะสมที่จะทำการจัดเก็บภาษีในอัตราสูง โดยเฉพาะสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะสินค้าจะมีต้นทุนสูงขึ้น และหากผู้ประกอบการในสามารถแบกรับภาระต้นทุนได้ ผู้บริโภคก็จะต้องเป็นผู้รับแทน ผลก็คือ ทำให้กำลังซื้อตกลงไปด้วย ทำให้ตลาดรวมตกลง

"หากผู้ประกอบการ ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้ ผู้บริโภคก็จะต้องเป็นผู้รับแทน"

เป็นคำกล่าวที่ชัดเจนมาก และไม่อาจกล่าวโทษผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียวได้ ก็เพราะต้นทุนสูงขึ้นจริงๆ และการที่คนภาครัฐจะมองว่า การขึ้นราคาคงเกิดยากเพราะจะมีการแข่งขันกันในหมู่ผู้ผลิต ซึ่งคงต้องบอกว่าประเมินผิด เพราะอุตสาหกรรมนี้ดูเหมือนแข่งขันกันแรง แต่ถ้ามองให้ลึกในส่วนงานอย่างนี้ ผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีอยู่เพียง 4 รายนั้นจับมือกันเหนียวแน่นมาก

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คนภาครัฐคงต้องตามให้ทันในกรณีการขึ้นราคาจำหน่ายว่า จะเป็นจริงตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผู้บริโภคก็ไม่อาจมั่นใจได้เลย ปฏิบัติการของรัฐครั้งนี้ จึงเหมือนเอาเคราะห์กรรมมาโยนใส่ผู้บริโภคโดยแท้

ยังดีที่กลุ่มผู้ประกอบการได้ดิ้นรนในขั้นต้นบ้าง เพราะการขึ้นราคาในประเทศ ก็ยังไม่ช่วยอะไรได้มาก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เข้าสู่ยุคการส่งออกมาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้ารัฐไม่ช่วย ก็คงไปแข่งในตลาดโลกได้ยากลำบากขึ้น

"ปัญหาใหญ่ก็คือ แบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ กำลังซื้อก็น้อยลง ปีนี้ยอดขายรวมอาจเหลือเพียง 8-9 แสนคัน ระยะยาวยังจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ตลาดรวมคงถดถอยลงอีกแน่นอน การจัดเก็บภาษีครั้งนี้ค่อนข้างทำให้เกิดความตื่นตระหนก เพราะไม่มีใครคิดว่าจะทำกันในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เป็นที่รู้กันว่ารัฐต้องการรายได้เพิ่ม ซึ่งก็น่าหาทางออกด้านอื่น" คำกล่าวจากหลายๆ ผู้ประกอบการที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกัน และเป็นการชี้ให้เห็นสภาพของตลาดในประเทศ

สำหรับการดิ้นรนของผู้ประกอบการผลิตรถจักรยานยนต์นั้น มีเป้าหมายเดียวคือ การให้งดเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์สองจังหวะไปชั่วขณะ ไม่ใช่การให้ภาครัฐยกเลิกประกาศ โดยกลุ่มผู้ผลิตต้องการเวลาในการปรับตัว เพราะอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนด้วยเงินลงทุนสูง เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นย่อมได้รับผลกระทบ

"เดิมเราเป็นที่สามรองจากจีนและอินเดีย แต่ล่าสุดอินโดนีเซีย เพิ่งแซงหน้าเรา ตลาดเขาขึ้นถึง 1.8 ล้านคัน ยิ่งเรามาเจอมาตรการนี้อีก ตลาดส่งออก เราคงไม่มีทางสู้ได้ เพราะมีต้นทุนสูงกว่า ปริมาณผลิตก็น้อยกว่า และการแข่งขันยังมีความรุนแรงอยู่มาก"

ยิ่งดูถึงรายละเอียดในหนังสือที่ยื่นต่อภาครัฐแล้ว ยิ่งน่าเห็นใจผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ของไทย

1. อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ ปัจจุบันมีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศถึง 90% มีการจ้างงานกว่า 50,000 คน รวมถึงยังได้พัฒนาด้านคุณภาพและราคาจนแข่งขันกับต่างชาติได้ โดยมีมูลค่าการส่งออกเป็นรายได้เข้าประเทศต่อปีกว่า 7,000 ล้านบาท

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในไทย กว่า 80% อยู่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และจักรยานยนต์เป็นพาหนะราคาถูกที่ทดแทนระบบขนส่งมวลชนที่ไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ

3. ตลาดรถจักรยานยนต์ในไทยเคยมียอดจำหน่ายรวมสูงสุดถึง 1.45 ล้านคัน แต่เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง ปี 2539 ตลาดลดลงเหลือ 1.25 ล้านคัน และในปี 2540 มีแนวโน้มว่าจะลดลงจากปี 2539 อีก 12-13%

4. สมาคมมีความตระหนักอย่างดีว่า ทุกฝ่ายมีหน้าที่ในการส่งเสริมการลดมลภาวะด้านต่างๆ

5. อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ได้เตรียมการและดำเนินการผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งประเภทสี่จังหวะ และสองจังหวะ โดยปฏิบัติตามมาตรฐานบังคับใช้เกี่ยวกับสารมลพิษที่ออกมากับไอเสียตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

6. ผู้ประกอบการได้พยายามเพิ่มการผลิตรถแบบสี่จังหวะเข้ามาในสายการผลิต จนปัจจุบันรถจักรยานยนต์สี่จังหวะมีอัตราการผลิตถึง 25% ของกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์โดยรวม และยังมีแผนที่จะเพิ่มการผลิตให้มากยิ่งขึ้น โดยเตรียมปรับปรุงเครื่องจักรรวมทั้งการสร้างแม่แบบต่างๆ ซึ่งปกติต้องใช้เวลา 3-4 ปี ซึ่งทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้โดยทันที

7. ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่เป็นประชาชนมีรายได้ประมาณ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน การประกาศจัดเก็บภาษีในครั้งนี้จะส่งผลกระทบโดยทันที เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมายังผู้ผลิตรถจักรยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน อาจทำให้การจ้างงานน้อยลง จนส่งผลต่อไปยังการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนิติบุคคล รวมถึงภาษีเงินได้ที่อาจไม่เป็นไปตามคาดการณ์

7 หัวข้อหลักนั้น เหมือนภาครัฐคอยกลั่นแกล้งเอกชนโดยแท้

โดยไม่ตั้งใจ หรือ โดยสติปัญญาไม่ต้องคิดให้มากก็มองออก
ยังดีที่กลับใจได้ทัน

บางครั้งการยอมเสียหน้าของคนบางคน ก็ยังดีกว่าที่จะดันทุรังต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us