Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มกราคม 2549
L.P.N.ตีตลาดคอนโดฯถูก ตั้งเป้าอีก2ปียอดขายรวมทะลุหมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์

   
search resources

แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.
Real Estate




ปี 48 L.P.N. โกยยอดขายกว่า 7,000 ล้านบาท โตกว่า 60% มีรายได้รวม 3,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดคอนโดฯด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 31% เผยปี 49 ตั้งเป้าเปิดตัว 5 โครงการ มูลค่ากว่า 8,500 ล้านบาท เตรียมผุดคอนโดฯ 5 แสนบาท/ยูนิต กว่า 3,000 ยูนิตในครึ่งปีหลัง ระบุภายใน 2 ปี ยอดขายทะลุ 10,000 ล้านบาท

นายทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L.P.N. กล่าวถึงผลประกอบการปี 2548 ว่า บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่สูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสามารถสร้างยอดขายได้ 4,100 ยูนิต มูลค่า 7,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนกว่า 60% และมีรายได้รวมประมาณ 3,600 ล้านบาท สูงกว่าปี 2547 ซึ่งมีรายได้รวม 2,500 ล้านบาท เกือบ 50%

ทั้งนี้ รายได้รวมของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพักอาศัยใน 3 โครงการ รวมประมาณ 2,281 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 3,400 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ สามารถส่งมอบห้องชุดให้แก่ลูกค้าได้ตามเป้าหมายในทุกโครงการและจากจำนวนคอนโด-มิเนียมที่คาดว่าจะมีการจดทะเบียน ณ สิ้นปี 2548 ประมาณ 11,000 ยูนิต ส่งผลให้ L.P.N มีส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจคอนโดมิเนียม 31% หรือประมาณ 3,420 ยูนิต

"การที่ L.P.N. ยังสามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดคอนโดมิเนียมได้นั้นเกิดจากการแสวงหาตลาดใหม่ๆ (Market Space) ที่แม่นยำอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันต่ำ แต่มีความต้องการสูง (Blue Ocean) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เราดำเนินงานมาตลอดตั้งแต่ช่วงวิกฤต เศรษฐกิจ ทำให้ LPN เป็นผู้นำในการสร้างตลาดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น โครงการลุมพินี เพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา โครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ห่างจากถนนสีลมเพียง 4.5 กม. ด้วยราคาขายเพียง 1.5 ล้านเศษ ในขณะที่โครงการอื่นๆ มีราคาขายมากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งถือเป็น ตัวอย่างของการพัฒนาโครงการ ตามแนวคิดข้างต้น"นายทิฆัมพรกล่าว

สำหรับแผนการพัฒนาในครึ่งปีแรกของปี 2549 บริษัทฯ มีแผนที่จะเปิดตัวคอนโดมิเนียม จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) ลุมพินี เพลส พหล-สะพานควาย อาคารชุดพักอาศัยสูง 28 ชั้น จำนวน 2 อาคาร บนถนนประดิพัทธิ์ จำนวนประมาณ 1,100 ยูนิต มูลค่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดพรีเซลในวันที่ 20-22 มกราคมนี้ 2) ลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า เฟส 2 จำนวน 600 ยูนิต มูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท และ 3) ลุมพินี เพลส ท่าพระ จำนวน 1,200 ยูนิต มูลค่าประมาณ 2,400 ล้านบาท

นอกจากนี้ จะเปิดตัวอีก 2 โครงการในช่วงครึ่งปีหลัง โดยโครงการที่ 4 จะเป็นการพัฒนาโครงการเจาะกลุ่มลูกค้าในระดับประมาณ 5 แสนบาท/ยูนิต ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าระดับ C+ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกที่ดินในการพัฒนา คาดว่าภายในครึ่งปีแรก จะสามารถซื้อที่ดินได้ ส่วนแบรนด์ ที่จะนำมาใช้กับสินค้านี้อยู่ระหว่างการเลือก ขณะนี้จะใช้ชื่อลุมพินี เซ็นเตอร์ ไปก่อน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ประมาณ 3,000 ยูนิต ขนาดที่ดินประมาณ 10 ไร่ อย่างไรก็ตามการพัฒนาคอนโดฯระดับนี้กำไรขั้นต้นจะอยู่ที่ประมาณ 30% โดยในช่วงแรกอาจลดราคาลงมาเพื่อทำตลาด

อย่างไรก็ตาม การเลือกที่ดินในการพัฒนา คอนโดฯราคา 5 แสนบาท จะอยู่ในแนวรถไฟฟ้า และทางโครงการสามารถบริการรถขนส่งได้ รวมถึงการพิจารณาอัตราส่วนการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (FAR) เป็นตัวประกอบ ซึ่งหาก FAR ต่ำก็จะสามารถซื้อที่ดินได้ในราคาถูก โดยหลักของการพัฒนาโครงการระดับนี้ต้นทุนของราคาที่ดินไม่ควรเกิน 50,000 บาท/ตร.ว. โดยที่ดินที่สามารถ นำมาพัฒนาได้ อาทิ ในซอยอ่อนนุช, ห้วยขวาง ส่วนโครงการที่ 5 ได้แก่ ลุมพินี เพลส มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท จำนวน 600 ยูนิต

สำหรับงบลงทุนในการซื้อที่ดินในปี 2549 มีจำนวน 1,500 ล้านบาท คาดว่าในครึ่งปีแรกจะใช้งบซื้อที่ดินประมาณ 700-800 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2548 บริษัทตั้งงบซื้อที่ดิน 1,000 ล้านบาท แต่ใช้ไปเพียง 500 ล้านบาท จึงได้นำงบในส่วนดังกล่าวมาใช้ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องแผนรับรู้รายได้ จากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในปี 2548-2550 โดยในปี 2548 จำนวน 3,400 ล้านบาท ปี 2549 จำนวน 4,510 ล้านบาท ส่วนในปี 2550 คาดว่าจะมียอด รับรู้จากการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 6,030 ล้านบาท

"โอกาสที่จะทำเป้ายอดขายให้ได้ในที่ระดับ 10,000 ล้านบาท/ปี นั้นอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทก็สามารถสร้างยอดขายในระดับใกล้เคียงคือ 7,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งในอีกไม่เกิน 2 ปี เชื่อว่าบริษัทจะสามารถทำได้" นายทิฆัมพรกล่าว
นอกจากใช้กลยุทธ์หลัก Blue Ocean แล้ว ยังมีกลยุทธ์อื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่

1. กลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน (Focus) ที่มุ่งพัฒนาคอนโดฯเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระดับกลาง-กลางล่าง ครอบครัวใหม่ หรือผู้ที่ต้องการบ้านหลังที่สองใกล้ที่ทำงานหรือสถานศึกษา ในราคาขายที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท การบริหารต้นทุนอย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด (Cost Leadership) ที่ทำให้บริษัทฯ สามารถกำหนดราคาขายที่สอดรับกับความสามารถในการผ่อนชำระในอนาคตของลูกค้า และการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ทั้งทางในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะในรูปแบบของ LPN Design และบริการทั้งก่อนและหลังการขาย โดยเฉพาะการบริหารอาคารชุด ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของบริษัทตลอดมา

2. กลยุทธ์ด้านการพัฒนาโครงการ ได้แก่ การพัฒนาคอนโดมิเนียมในรูปแบบชุมชนเมืองขนาดย่อม (Small Size Township) ภายใต้คอนเซ็ปต์ LPN X-Place เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการรอบด้านของการใช้ชีวิตในเมือง โดยมีโครงการลุมพินี วิลล์ ศูนย์วัฒนธรรมเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 80% และการกระจายการพัฒนาโครงการสู่ทำเลใหม่ (Location Expansion) โดยปี 2548 ได้ขยายทำเลใหม่ไปยังย่านฝั่งธนบุรี ได้แก่ โครงการลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า ซึ่งสามารถปิดการขายได้ 100% แล้ว หรือลุมพินี วิลล์ พหล-สุทธิสาร ย่านสะพานควาย ซึ่งได้เปิดตัวไปเมื่อกลางปี 2547 ปัจจุบันโครงการเสร็จสมบูรณ์มีลูกค้าเข้าอยู่อาศัยแล้วกว่า 80% สะท้อนให้เห็นอุปทานของตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Supply) ในระดับราคาเฉลี่ย 30,000-40,000 บาท/ตร.ม. ยังมีปริมาณที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่เกิดขึ้นจริง (Real Demand)

โดยในปี 2548 ที่ผ่านมาบริษัทฯได้พัฒนา อาคารชุดพักอาศัยทั้งสิ้น 4 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 7,000 ล้านบาท ได้แก่ 1) ลุมพินี เซ็นเตอร์ แฮปปี้แลนด์ เฟส 5 2) ลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า 3) ลุมพินี วิลล์ ศูนย์วัฒนธรรม และ 4) ลุมพินี เพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา ซึ่งเป็นการ ดำเนินงานตามกลยุทธ์ในการมุ่งขยายฐานลูกค้า โดยการพัฒนาโครงการในเขตชุมชนรอบนอกที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Out-Skirt Area) ใกล้ระบบคมนาคมและขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ซึ่งทุกโครงการล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการตอบรับที่ดี ทั้งจากฐานลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในปี 2549 ว่า บริษัทฯ มีแผนพัฒนาคอนโดมิเนียม จำนวน 5 โครงการ มูลค่ากว่า 8,500 พันล้านบาท และมีแผนการรับรู้รายได้มากกว่า 4,500 ล้านบาท จาก 4 โครงการที่เปิดตัวในปี 2548 และทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ และนอกจากกลยุทธ์ต่างๆ ข้างต้นที่ LPN ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องแล้ว ในปี 2549 นี้ บริษัทฯ ยังมีกลยุทธ์ ใหม่ๆ ในการรักษาความเป็นผู้นำด้านธุรกิจคอนโดมิเนียมท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง ได้แก่

1. การรักษาฐานลูกค้าเก่าระดับกลางบน-กลาง โดยพัฒนาคอนโดมิเนียมใจกลางเมืองในระดับราคา 1 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี ใกล้ระบบคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ โดยเน้นกลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจสูงสุด ด้วยการให้บริการที่แตกต่าง (Differentiation) โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนห้องชุดให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด (Semi-Tailor Made) โดยไม่กระทบกับโครงสร้างหลัก ภายใต้รูปแบบ ที่บริษัทฯ กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง

2. การเจาะฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งมีคู่แข่งน้อยราย คือ ตลาดคอนโดมิเนียมระดับ C+ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูง แต่ปริมาณสินค้าในตลาดยังมีจำนวนจำกัด ด้วยราคาขายเพียง 5 แสนบาทต่อยูนิต ผ่อนชำระต่อเดือนประมาณ 3-4 พันบาท โดยพัฒนาโครงการในรูปแบบของ Small Size Township บนทำเลที่แวดล้อมด้วยระบบคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ หรือแหล่งชุมชนหนาแน่น นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังมีแผนพัฒนาห้องชุดรูปแบบใหม่ ภายใต้มาตรฐาน LPN Design ให้มีพื้นที่ใช้สอย ที่สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว

3. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุด หลังการโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อสร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้พักอาศัย ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความแตกต่าง (Differentiation) และเป็นจุดแข็งของบริษัท 4) การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CESR) ให้ความสำคัญและวางแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมเมืองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบายของบริษัทในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us