|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"บุญรอดฯ"ผ่าโครงสร้างเบียร์อาซาฮี ยกเครื่องงาน ด้านการตลาดทำเองแทนทีมเดิมของบีแอนด์เอ รับมือสมรภูมิฟองเบียร์งัดฟูลพอร์ตแข่งเดือด ละเลงศึกปั้น "อาซาฮี" เสริมความแข็งแกร่ง เซกเมนต์พรีเมียม ชี้เป็นเบียร์ที่มีอนาคตดี เผยปีที่ผ่านมาครองแชร์ 2.78% แซงหน้าคลอสเตอร์
แหล่งข่าวจากบริษัท บี แอนด์ เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเบียร์อาซาฮี เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาทางบริษัทฯได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ครั้งใหญ่นับตั้งแต่ได้ทำตลาดเบียร์อาซาฮีในไทยมา โดยขณะนี้ทางกลุ่มบุญรอดฯจะเข้าเป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานด้านการตลาดเบียร์อาซาฮีทั้งหมด จากเดิมที่ ก่อนหน้านี้แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงาน โดยบุญรอดฯดูแลด้านการขาย ส่วนบีแอนด์เอฯจะเป็นผู้ดูแลงานการตลาด ซึ่งบีแอนด์เอฯมีผู้บริหารระดับสูง 4 คน เป็นคนไทย 2 คนที่ มาจากบุญรอดฯและคนญี่ปุ่น 2 คน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่บุญรอดฯได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ สัดส่วน 51% ซึ่งมากกว่าบริษัทญี่ปุ่นถือหุ้น 49% ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจปรับโครงสร้างในครั้งนี้
การที่บุญรอดฯดึงงานด้านการ ตลาดเบียร์อาซาฮีเข้ามาบริหารเอง เพราะแนวโน้มการแข่งขันตลาดเบียร์ แต่ละค่ายจะต้องมีสินค้าครบพอร์ต หรือทุกเซกเมนต์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่ายเบียร์ด้วยกันแล้ว บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ได้เริ่มรุกกลยุทธ์นี้อย่างชัดเจนและส่งผลให้มีสินค้าครบพอร์ตตั้งแต่ปีที่ผ่านมา คือ เบียร์ไฮเนเก้นอยู่ในเซกเมนต์พรีเมียม, เบียร์ไทเกอร์อยู่ ในเซกเมนต์สแตนดาร์ด และเบียร์เชียร์อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี
ส่วนค่ายไทยเบฟฯ ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีเบียร์ช้าง-เบียร์อาชาอยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี และในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ก็เตรียมเปิดตัวเบียร์ระดับพรีเมียมแต่เป็นเซกเมนต์ใหม่ยี่ห้อ "ช้างไลท์" นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดตัวเบียร์อีก 2 ตัว อยู่ในระดับพรีเมียม และสแตนดาร์ดอีกด้วย
ขณะที่บุญรอดฯ ปัจจุบันมี "เบียร์ลีโอ"แข็งแกร่งในเซกเมนต์ อีโคโนมี และเป็นเบียร์ที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดเมื่อปีที่ผ่านมา กระทั่งมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 25% ส่วนเบียร์สิงห์แข็งแกร่งในเซกเมนต์ สแตนดาร์ด มีส่วนแบ่ง 14-15% ส่วน เซกเมนต์พรีเมียมบุญรอดฯยังไม่มีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีเบียร์อยู่ในพอร์ตแล้วก็ตาม แต่เบียร์อาซาฮีกำลังกลายเป็นเบียร์ที่มีอนาคตในเซกเมนต์พรีเมียม ซึ่งสิ้นปี 2548 มีส่วนแบ่งตลาด 2.78% มากกว่าคลอสเตอร์เบียร์ในเครือบุญรอดฯมีส่วนแบ่งเพียง 2.71% จากมูลค่าตลาดรวม 82,000 ล้านบาท
ดังนั้น การที่บุญรอดฯทำตลาด เองพร้อมกับจัดจำหน่ายเองด้วยนั้น จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการต่างๆ ทั้งหมดในการทำตลาด จากเดิมที่ต่างคนต่างทำหน้าที่กัน ซึ่งยังสามารถที่จะวางแผนในภาพรวมเป็นแพกเดียวกับแผนตลาดรวมของเบียร์ในกลุ่มทั้งหมดได้ด้วย
ล่าสุดนายวิวัฒน์ หล่อจีระชุณห์กุล ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอนด์เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด จะเข้ามาดูแลด้านการตลาดเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้ปรับทีมการตลาดใหม่ภายใต้ทีมจากบุญรอดฯ อย่างไรก็ตาม โพซิชันนิง หรือ ตำแหน่งการตลาดเบียร์อาซาฮีจากนี้ไป คงจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะโพซิชันนิงเดิมดีอยู่แล้ว โดยวางไว้เป็นเบียร์อินเตอร์เนชั่นแนล หลังจาก ก่อนหน้านี้เบียร์อาซาฮีวางโพซิชันนิง เป็นเบียร์ญี่ปุ่น ทำให้ขายได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
สำหรับงบการตลาดเบียร์ อาซาฮีปีนี้วางไว้ใกล้เคียงกับปี 2548 คือ ราว 90-110 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นแผนเดิมวางงบไว้ที่ 200 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม 10% หรือมียอดขาย 1,000 ล้านบาท
ส่วนผลประกอบการในปีที่ผ่านมามีประมาณ 370-380 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้านี้เป้าหมายเดิมตั้งเป้ามีส่วนแบ่ง 30% โดยขึ้นมาเป็นเบอร์สองของตลาดอย่างชัดเจน จากปัจจุบันเบอร์สองจะมีทั้งเบียร์คลอสเตอร์, อาซาฮี และเบียร์นำเข้าซึ่งมีส่วนแบ่งไล่เลี่ยกัน ส่วนผู้นำตลาดอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเบียร์ไฮเนเก้น ครองส่วนแบ่ง 90-92% มูลค่า 9,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา เบียร์อาซาฮี ถือว่าเปิดฉากรุกตลาดอย่างหนักเริ่มตั้งแต่การรีแบรนด์จากเบียร์เจ เทรนด์สู่เบียร์ระดับอินเตอร์เนชั่น แนล เน้นตอกย้ำภาพลักษณ์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากเบียร์ อื่นอย่างชัดเจนภายใต้คอนเซ็ปต์ "คิดในแบบที่แตกต่าง"หรือ "Think Difference" ควบคู่กับกลยุทธ์มิวสิก มาร์เกตติ้ง ดึง"โดม-ปกรณ์ลัม"ศิลปินตัวแทนของคนที่มีความคิดแบบที่แตกต่างสร้างสรรค์ผลงานของ ตนเอง ฯลฯ
|
|
|
|
|