|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โรงพยาบาลเอกชล รับโอนทรัพย์สินของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว ระบุกู้เงินจากแบงก์กรุงเทพ เพื่อชำระมูลค่ารวม 300 ล้านบาท
นางพจนา มาโนช รองประธานกรรมการ บริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด (มหาชน) หรือ AHC กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548 บริษัทได้ดำเนินการซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด ตามข้อตกลงในราคา 310 ล้านบาท ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี เรียบร้อยแล้ว โดยทางบริษัทได้นำเงินหมุนเวียน จำนวน 10 ล้านบาท และกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) จำนวน 300 ล้านบาท เพื่อชำระราคาค่าทรัพย์สินดังกล่าว
โดยรายละเอียดของการกู้เงินจำนวน 300 ล้านบาท มีระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ภายใน 8 ปี โดยชำระดอกเบี้ยจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ในอัตรา 2 ปีแรก อัตราดอกเบี้ย MLR ลบ ร้อยละ 1.00 ต่อปี หลังจากครบกำหนด 2 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ MLR ลบ ร้อยละ 0.50 ต่อปี และเมื่อครบกำหนด 5 ปี เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MLR ลบ ร้อยละ 0.25 ต่อปี
สำหรับการซื้อทรัพย์สินของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและที่ประชุมผู้ถือหุ้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่บริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการโอนกิจการ กับนางวิไลวรรณ ยอดศรี ซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท และเป็นคดีอยู่ที่ศาลจังหวัดชลบุรีคดีหมายเลขดำที่ 1702/2548 ระหว่างนางวิไลวรรณ ยอดศรี โจทก์ กับ นายบุญชัย ผลิตวานนท์ ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน
จากเหตุการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการบริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด (มหาชน) จึงได้ชะลอการซื้อเพื่อรอฟังคำสั่งศาลเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ศาลจังหวัดชลบุรี ได้มีคำสั่งเพิกถอนการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์โดยให้เหตุผลว่า หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการโอนขายทรัพย์สินของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ซึ่งโจทก์เองอาจไม่สามารถเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่หากมีปัญหาโอนทรัพย์สินไปโดยมิชอบโจทก์ก็ย่อมอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบตามกฎหมายได้อยู่แล้ว เมื่อพิจารณาถึงความเสียหายและความรับผิดที่จะเกิดขึ้น จึงเห็นควรยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเสีย
ดังนั้น คณะกรรมการ AHC จึงได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท เพื่อพิจารณาว่า บริษัทสามารถเข้าซื้อทรัพย์สินของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด ได้หรือไม่ ซึ่งที่ปรึกษากฎหมายได้ให้ความเห็นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ศุภมิตรเวชการ จำกัด ดำเนินการ โอนขายทรัพย์สินได้ บริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด (มหาชน) ก็สามารถเข้าซื้อทรัพย์สินดังกล่าวได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ และถือว่าเป็นผู้ซื้อโดยสุจริต บริษัทจึงได้ดำเนินการซื้อทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวต่อไป
|
|
|
|
|