Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
กสท.ตกเป็นจำเลย จริงใจ มิใช่หลวมตัว             
 


   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์




ประธานาธิบดีคลินตันกล่าวว่า เขาต้องการให้เด็กอเมริกันอายุ 8 ขวบทุกคนสามารถอ่านออกเขียนได้ เด็กอายุ 12 ขวบทุกคนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทุกคน และเด็ก 18 ขวบทุกคน สามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

นี่เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ในเมืองไทยเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 มีผู้ให้บริการหรือ ISP กว่า 12 บริษัท และยังมีอีก 6 บริษัท ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้ดำเนินการได้ และอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดให้บริการ

อย่างไรก็ตาม การให้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด ในเรื่องของค่าบริการที่แพงเกินไป และคุณภาพที่ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้ใช้ หน่วยงานที่ตกเป็นจำเลยใหญ่คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ไอเอสพี และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)

ต่างก็โยนความผิดกันไปมา นี่เป็นเหตุให้สององค์กรคือ ชมรมนักข่าวไอที (ITPC) สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (NITC) ร่วมมือกันจัดสัมมนาเรื่อง "สภาพการแข่งขันและราคาค่าบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย" ณ ห้องประชุมการสื่อสารแห่งประเทศไทย เมื่อต้นเดือนมิถุนายน

ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้เข้าร่วมงานคับคั่งเป็นจำนวนถึง 150 คน ไฮไลท์สำคัญคือ การเสนอผลวิจัยของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) โดยมีผู้วิจารณ์คือ ตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัดการบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย, วิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการบริษัทล็อกซ์อินโฟ และพิศาล จอโภชาอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและพัฒนา การสื่อสารแห่งประเทศไทย

นักวิจัยหนุ่มแห่งทีดีอาร์ไอให้ความเห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญในการอธิบายความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ต หากจีดีพีเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์จะมีผลทำให้ประเทศหนึ่งมีจำนวนโฮสต์ (HOST) เพิ่มขึ้นประมาณ 439 เครื่อง

จากการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีอัตราแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีขนาดจีดีพีใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนแล้ว อินเตอร์เน็ตของไทยมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ สิงคโปร์และมาเลเซียได้เข้าสู่ยุคแห่งการ "ทะยานบิน" ในการเติบโตของอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ปี 1995 และ 1996 ตามลำดับ

การที่อินเตอร์เน็ตในไทยยังไม่ถึงยุคทะยานบินก็เพราะยังเป็นธุรกิจผูกขาดของกสท.

เมื่อเปรียบเทียบประเทศสองประเทศที่มีจีดีพีเท่ากันประเทศที่มีการผูกขาดตลาดการสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตน้อยกว่าประเทศที่ไม่มีการผูกขาด 557.2 เครื่องต่อจีดีพีทุกหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นี่เป็นประเด็นที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและผู้ใช้ทั้งแบบบุคคลและองค์กร เห็นด้วยออกจะเป็นเอกฉันท์ โดยวัดจากการแสดงความเห็นในที่สัมมนา

นักวิชาการหนุ่มจากทีดีอาร์ไอ ยังรุกคืบต่อไปว่า อัตราค่าบริการรายเดือนของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ (ยกเว้นญี่ปุ่น) ตั้งแต่ร้อยละ 20 ในกรณีของอินโดนีเซีย ไปจนถึงร้อยละ 63 ในกรณีของมาเลเซีย

ส่วนในบริการสายเช่าขนาด 64 Kbps อัตราค่าบริการรายเดือนโดยเปรียบเทียบของไทยยิ่งสูงขึ้นไปอีกโดยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศประมาณ 50-80%

สาเหตุที่ทำให้ราคาสูงคือ 1) กสท. ซึ่งผูกขาดการให้บริการครึ่งวงจร (half Circuit) คิดค่าบริการวงจรในระดับที่สูงกว่าระดับทั่วไป

2) กสท. เข้าแทรกแซงตลาดในด้านราคา เช่น การกำหนราคาขั้นสูงและราคาขั้นต่ำ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่แท้จริง

3) กสท. เข้าแทรกแซงการบริหารของไอเอสพี เช่น เข้าไปถือหุ้นลม และแทรกแซงการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ

อย่างไรก็ดี ดร.สมเกียรติยอมรับว่าเท่าที่ตรวจสอบดู ในความเป็นจริงยังไม่พบว่ากสท.แทรกแซงการบริหารของไอเอสพีแต่ประการใด และการถือหุ้นลมก็ยังไม่ได้ทำให้กสท.ได้เงินปันผลอย่างเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากไอเอสพีแต่ละรายก็เพิ่มเริ่มต้นธุรกิจ และขาดทุนกันทั้งนั้น

งานนี้ ก็ต้องยอมรับว่า ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกสท. ใจคอกว้างขวางทีเดียว เพราะแม้จะรู้ว่ากสท.จะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วง แต่กสท.ก็ยังยินดีอำนวยความสะดวก และให้ความสนับสนุนทุกอย่างแก่ผู้จัดงาน

การชี้แจงของพิศาล จอโภชาอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและพัฒนา ของกสท. ก็ดำเนินไปอย่างมีเหตุมีผลไม่ก้าวร้าว และให้เกียรติแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างสูง แทบไม่น่าเชื่อว่าท่ามกลางเสียงวิจารณ์ในบ้านของกสท.เอง พิศาลแทบจะต้องยืนหยัดอยู่เพียงคนเดียว

ที่ผ่านมา ก็ใช่ว่ากสท.จะไม่ฟังเสียงใครเลย

กสท.ก็มีการประกาศลดค่าบริการวงจรระหว่างประเทศลงร้อยละ 10 และลดอัตราค่าบริการพิเศษให้แก่ไอเอสพีร้อยละ 25 ทำให้ค่าบริการอินเตอร์เน็ตอยู่ในระดับที่เหมาะสมพอสมควร คือเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาครึ่งวงจรที่บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้บริการแก่ไอเอสพีไทย และยังใกล้เคียงกับราคาที่ไอเอสพีในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ซื้อจากหน่วยงานของรัฐ

แต่ผลการวิจัยของทีดีอาร์ไอก็ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ปัญหายังคงเหลืออยู่ 3 ประการคือ

1)การลดราคาดังกล่าวของกสท. ไม่มีการออกประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ไอเอสพีไม่มีความมั่นใจว่าจะลดได้จริงหรือไม่

2) ราคาที่ประกาศลดให้กับวงจรขนาดใหญ่มีอัตราส่วนลดน้อยกว่าวงจรขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ไอเอสพีไม่มีแรงจูงใจในการขยายวงจร

3) กสท.ยังไม่มีหลักประกันถึงการลดราคาวงจรอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีการเปิดเผยถึงสูตรในการปรับราคาแต่ละครั้งว่า ปรับลดตามต้นทุนที่ลดลงของกสท. หรือใช้หลักเกณฑ์อื่น
ข้อสรุปของการสัมมนาครั้งนี้คือ กสท.ต้องเลิกควบคุมราคาทั้งสูงสุดและต่ำสุด โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด กสท.ควรถอนตัวออกจากการถือหุ้นลมในไอเอสพีทั้งหลาย เพราะเท่ากับเป็นต้นทุนที่ทำให้ไอเอสพีจำเป็นต้องคิดค่าบริการแพงขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการบิดเบือนตลาด

อันที่จริง เรื่องค่าบริการอินเตอร์เน็ตแพงนั้น เท่ากับทำให้ไทยเสียโอกาสในการแข่งขัน เพราะลูกค้าในไทยย้ายฐานหรือ HOST ไปยังต่างประเทศที่มีค่าบริการถูกกว่า ดังเช่นปรากฏในกรณีของ บางกอกโพสต์ และแม้กระทั่งหน่วยงานราชการ เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก

จากการวิจัยพบว่า จีนเป็นประเทศที่อัตราการย้ายฐานของโฮสต์สูงสุดคือ ร้อยละ 80 รองลงมาคือกลุ่มอาเซียนและประเทศไทย อัตราค่าเช่าสายที่สูงทำให้ไอเอสพีในไทยเสียโอกาสทางธุรกิจไปถึงร้อยละ 26 และมีแนวโน้มว่าจะพ่ายแพ้ในการแข่งขันธุรกิจด้านนี้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

การระดมความคิดครั้งนี้ เป็นการประสานเสียงที่หนักแน่นของทุกฝ่าย ที่น่าเห็นใจคือ ประดาไอเอสพีที่ครวญว่า ทำธุรกิจอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ ขาดทุนจนไม่อยากทำอยู่แล้ว แต่ที่ทำก็เพราะยังมีความหวัง แค่นั้นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us