Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2549
เปิดศึกอินเตอร์เชนศูนย์เช่าปีจอ ค่ายซีวิคจุดชนวนเดือด รายเก่าเร่งป้องตลาด             
 


   
www resources

Tsutaya (Thailand)
โฮมเพจ บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ซึทาญ่า (ประเทศไทย), บจก.
Entertainment and Leisure
ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก.
วิดีโอ อีซี่ส์ (ประเทศไทย), บจก.




เปิดศึกเชนอินเตอร์ธุรกิจศูนย์เช่าวีซีดี ดีวีดี ปีหมาดุ แข่งกันนัว เหตุ "ซีวิค วิดีโอ" รายใหม่ เดินเกมเต็มที่ปีนี้ หลังเปิดตัวปีที่แล้วเป็นตัวจุดชนวน ตลาดให้รายเก่าต้องเร่งป้องตลาดเต็มที่ ด้านโชว์ไทม์ เล็งผนึกพันธมิตรทำตลาดมากขึ้น ส่วนวิดีโออีซี่ส์มุ่งหน้าขยายสาขาภูธรมากขึ้น ขณะที่ซึทาญ่าเจ้าตลาด หวังผลเก็บเกี่ยว 4 รูปแบบใหม่เต็มที่

ตลาดธุรกิจศูนย์เช่าวีซีดี ดีวีดี หรือโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ในปีนี้ 2549 มีทีท่าว่าจะมีความคึกคักมากกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจบันเทิงจากการดูหนังแผ่นที่บ้านในลักษณะโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์นี้ ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำมากเท่าใดนัก เพราะถือเป็นความบันเทิงต้นทุนต่ำที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหาหรือเช่าได้

ประกอบกับปีนี้จะเป็นปีที่ผู้หาญกล้าหน้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาดเมืองไทยเมื่อปีที่แล้วคือ ค่ายซีวิค วิดีโอจากประเทศออสเตรเลีย โดยมี นายวีระศักดิ์ สีบุญเรือง กรรมการบริหาร บริษัท ไอซี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาทำตลาด และเป็นอดีตผู้บริหารของวิดีโออีซี่ส์ในไทยด้วย จะมีการเดินเกมเต็มตัวมากขึ้น ภายหลังจากที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ยังถือเป็นช่วงออกตัว และจะเดินหน้าเต็มตัวในปีนี้

ขณะที่ผู้เล่นรายเก่าก็ยังคงพยายามทำตลาดอย่างหนักหน่วง เพื่อสร้างตลาดใหม่ๆให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการแย่งชิงและรักษาฐานตลาดลูกค้าของตัวเอง ทั้งในด้านของสมาชิก และการหาแหล่งทำเลในการเปิดสาขาทั้งลงทุนเองและรูปแบบแฟรนไชส์

เชนที่เป็นโลคอลของคนไทยเอง ดูเหมือน ว่าจะมีไม่กี่ค่ายที่เป็นรายใหญ่และมีสาขามากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น นิวหนวดวิดีโอ ซีเอ็ม วิดีโอ มูฟวี่พลัส วิดีโอ เน็ตเวิร์ค หรือโชว์ไทม์ของค่ายซีวีดีเอนเตอร์เทนเม้นท์

ขณะที่ผู้เล่นที่เป็นเชนต่างชาติแต่ทำตลาดโดยคนไทยที่ซื้อลิขสิทธิ์มา ล้วนแล้วแต่เป็นบิ๊ก เพลเยอร์ที่น่ากลัวทั้งในแง่จำนวนสาขา และ เงินทุน ไม่ว่าจะเป็น ซึทาญ่า วิดีโออีซี่ส์ บล็อคบัสเตอร์ เป็นต้น

ประเด็นหนึ่งที่จะมีการแข่งขันกันรุนแรงคือ การหาผู้ซื้อแฟรนไชส์และการแย่งทำเล เนื่องจาก ว่า เวลานี้ทุกหัวระแหงบนท้องถนน โดยเฉพาะกรุงเทพฯอาจกล่าวได้ว่า มีศูนย์เช่าเชนอินเตอร์เหล่านี้ เปิดบริการแทบเป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้น การที่จะมีรายใหม่เข้ามาซื้อแฟรนไชส์เพื่อเปิดสาขาอีก ก็คงเกิดความหวาดกลัวว่าจะแย่งลูกค้ากันเองหรือไม่ กรณีที่เป็นเชนเดียวกัน หรือถ้าจะมีก็คงต้องเป็นเชนคู่แข่ง ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อการแย่งลูกค้ากันอยู่ดี

ค่ายซึทาญ่าชัดเจนว่าจะเปิดสาขาไปกับดิสเคานต์ สโตร์รายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น คาร์ฟูร์ เทสโก้โลตัส และเปิดตามย่านชุมชนแบบสแตนด์อะโลน ขณะที่ค่ายอื่นที่ต้องหันมาเน้นการเปิดแบบสแตนด์อะโลน เพราะบางค่ายก็ทนการเรียกเก็บค่าเช่าที่สูงและค่าขูดรีด ต่างๆ จากบรรดาดิสเคานต์สโตร์ไม่ไหว และที่ทำเลดีๆ ปัจจุบันก็หายากมากขึ้นแล้ว

โชว์ไทม์ ผนึกพันธมิตรทำตลาด

นายพรชัย อนันต์ณัฐศิริ กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซีวีดี อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด ผู้บริหารร้านโชว์ไทม์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ในปีนี้โชว์ไทม์วางแผนที่จะจับมือ กับพันธมิตรมากขึ้นในการทำการตลาดและส่งเสริมการขายต่างๆรวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สมาชิก เพื่อความแข็งแกร่งของธุรกิจรับมือกับการแข่งขัน เช่น ร้านหนังสือ ร้านสื่อบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
ส่วนแผนการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์นั้นจะมีต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าหมายที่จะขายแฟรนไชส์ประมาณ 5-6 แห่ง ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยเมื่อปีที่แล้วมีสาขาแฟรนไชส์เปิดใหม่ประมาณ 10 กว่าสาขา และตัวเลขล่าสุดเมื่อสิ้นปีที่แล้ว โชว์ไทม์มีสาขาทั้งสิ้น 48 สาขา ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแฟรนไชส์ยังเป็นเงื่อนไขเดิม ล่าสุดคือ ค่าแรกเข้า 2 แสนบาทต่อสาขา ซื้อหนังมูลค่า 2 แสนบาท ซื้อหนังรายเดือน อีกประมาณ 30,0000 บาทต่อเดือน และสามารถซื้อหนังที่อื่นได้ด้วย

"จุดแข็งของโชว์ไทม์ คือ อยู่ที่ระบบและซอฟต์ แวร์หนัง ซึ่งเราอยู่ในเครือของซีวีดี จึงทำให้ตรงนี้มีความได้เปรียบ คนที่มาซื้อแฟรนไชส์กับเราจะมั่นใจได้ ว่าเรามีหนังใหญ่ และมีความหลากหลายในการรองรับ ตลาดได้และเราพิจารณาผู้ที่จะมาซื้อแฟรนไชส์อย่างเข้มงวด ไม่ใช่ว่ามีเงินมาก็ลงทุนได้ ต้องรู้เรื่องและ มีเวลา ในการจัดการด้วย"

สำหรับบริการเสริมในร้านนั้นปัจจุบันโชว์ไทม์เริ่มทำมาได้ระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเป็นการตอบสนองความ ต้องการตลาด เช่น มีการขายสินค้าด้วยเช่น บัตรเติม เงินมือถือ เครื่องดื่ม รับจองตั๋วโดยสาร และบางสาขาก็มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ เปิดบริการด้วย นอกจากนั้น ยังมีตู้เอทีเอ็มติดไว้หน้าร้านด้วย

วิดีโอ อีซี่ส์ บุกหนักภูธร

ปัจจุบัน วิดีโอ อีซี่ส์ มีสาขาเปิดบริการไม่ต่ำกว่า 160 สาขาแล้ว ซึ่งเป็นสาขาแฟรนไชส์ทั้งหมด โดยมีสาขา ของบริษัทเพียงแห่งเดียวที่สุทธิสาร

แหล่งข่าวจากบริษัท วิดีโอ อีซี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว ว่า ปีนี้บริษัทฯจะเน้นการเปิดสาขาแฟรนไชส์ในต่างจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากว่า ตลาดยังมีความต้องการ อีกมาก ในขณะที่ศูนย์ที่มีอยู่นั้นก็ยังไม่เพียงพออีกทั้งยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ซึ่งสัดส่วนร้านของวิดีโออีซี่ส์เวลานี้ อยู่ในกรุงเทพฯมากกว่า 60% และในต่างจังหวัด 40%

ขณะที่เงื่อนไขแฟรนไชส์ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเก็บค่าแรกเข้า 3 แสนบาท อายุสัญญานาน 10 ปี เก็บค่าลอยัลตี้ฟีและค่ามาร์เกตติ้งฟี 8% เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 2 ล้านบาทในรูปแบบเล็ก และ ลงทุน 3 ล้านบาทสำหรับร้านขนาดใหญ่ 2 คูหา ซึ่งจะเน้นการขยายสาขาแบบเล็กมากกว่า ส่วนการขยายสาขารูปแบบ วิดีโอ อีซี่ส์ เอ็กซ์เพรส นั้นคงจะชะลอไว้ก่อน ไม่มีการขยายเพิ่มเติมแต่อย่างใด จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 5 สาขา

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯยังมีแนวคิดที่จะเพิ่มบริการเสริมอื่นๆเข้ามามากขึ้นในสิ่งที่สามารถทำได้ จากเดิมก็มีเปิดบริการแล้วในบางสาขา ให้เป็นคอนเซ็ปต์ อีซี่ส์รีเทล เช่น ติดตั้งตู้เอทีเอ็ม การขายบัตรเติมเงิน การขายเกมแร็กน่าร็อก การขาย ชั่วโมงอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ซีวิค ถึงเวลาเล่นบทรุก

เป้าหมายของ ซีวิค วิดีโอ ที่จะต้องเป็นอันดับสองในธุรกิจนี้ในเมืองไทยให้ได้ และวางเป้าหมายเปิดสาขาให้ครบ 100 แห่ง ภายใน 5 ปี ซึ่งถือเป็นนโยบายและเป้าหมายหลักของผู้บริหารที่ชื่อ นาย วีระศักดิ์ สีบุญเรือง กรรมการบริหาร บริษัท ไอ-ซี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารร้าน ซีวิค วิดีโอ แน่นอนว่า ซีวิค วิดีโอ ย่อมต้องเล่นบทรุกเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้นให้เร็วขึ้น และจะเป็นตัวจุดชนวน ให้ตลาดนี้แข่งขันรุนแรงมากขึ้นแน่นอน

แค่การเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วไม่กี่เดือน ซีวิค วิดีโอ ก็ สร้างความหวาดหวั่นให้กับวงการไม่น้อย เพราะมีสาขา เปิดบริการเมื่อสิ้นปีที่แล้วรวมประมาณไม่ต่ำกว่า 15 สาขา ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ซีวิคเติบโตได้เร็วเช่นนี้ เนื่องจากส่วนหนึ่ง มาจากการที่ แฟรนไชส์วิดีโออีซี่ส์บางส่วนได้ปรับเปลี่ยน มาเป็นแฟรนไชส์ของซีวิควิดีโอแทน และจากการที่เป็น อดีตผู้บริหารของวิดีโออีซี่ส์ก็มีส่วนช่วยด้วยเหมือนกัน

สำหรับรายละเอียดของเงื่อนไขการขายแฟรนไชส์ ในไทยนั้นจะมีร้านซีวิค 2 รูปแบบ คือ รูปแบบเล็ก วงเงินลงทุนประมาณ 1,850,000 บาท มีเงินสดค้ำประกัน 100,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 3-4 ปี อายุสัญญานาน 10 ปี ส่วนรูปแบบใหญ่นั้น วงเงินลงทุนประมาณ 2,440,000 บาท เงินสดค้ำประกัน 150,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 3-4 ปี อายุสัญญานาน 10 ปี นอกจากนั้นจะมีค่าลอยัลตี้ฟี 5% และค่ามาร์เกตติ้งฟี 2% จากยอดขายต่อเดือน

แต่แนวการตลาดของค่ายนี้ค่อนข้างมีความชัดเจน ว่า จะเน้นแต่การเช่าและขายซอฟต์แวร์หนังแผ่นเท่านั้น ไม่เน้นการเปิดบริการเสริม เช่น ขายบัตรเติมเงินตู้เอทีเอ็ม การบริการเช่าหนังสือ เป็นต้น แต่มีอย่างอื่นเล็กน้อย เช่น การขายเครื่องดื่ม ไอศกรีม แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

ซึทาญ่า เก็บดอกผล 4 รูปแบบใหม่

ขาใหญ่อย่างซึทาญ่า ที่เป็นเจ้าตลาดนี้ ไทยมีเครือข่ายสาขาเปิดบริการเมื่อสิ้นปีที่แล้วไม่ต่ำกว่า 260 สาขาแล้ว ซึ่งแบ่งได้เป็นสาขาของบริษัทฯ 10% และสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ 90% กับรายได้ที่มากกว่า 1,200 ล้านบาท ตรงนี้เองที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้รายใหม่เข้า สู่ตลาดเพื่อหวังบ่อเงินนี้

เมื่อปีที่แล้วซึทาญ่าได้เปิดกลยุทธ์ใหม่ด้วยการเปิดตัวรูปแบบร้านใหม่ 4 แบบเพื่อใช้เป็นตัวรุกในปีนี้ ซึ่งจุดประสงค์เพื่อต้องการให้มีความหลากหลายสำหรับ ผู้ที่สนใจจะลงทุน เพราะมีเงินลงทุนที่ต่างกัน อีกทั้งจะยังเป็นการสร้างสีสันและแรงดึงดูดคนลงทุนอีกด้วย

โดย 4 รูปแบบแฟรนไชส์ใหม่นี้ ประกอบด้วย 1. แบบสตูดิโอ 50 มีพื้นที่ 50 ตร.ม. ใช้เงินลงทุน 1.7- 1.8 ล้านบาท 2. แบบวิลล่า พื้นที่ประมาณ 70-100 ตร.ม. ลงทุน 2.6-2.7 ล้านบาท 3. แบบคลาสสิก พื้นที่ ประมาณ 100 ตร.ม. ใช้เงินลงทุน 3.1-3.2 ล้านบาท 4. แบบโซไซตี้ พื้นที่ 100 ตร.ม. ใช้เงินลงทุน 3.6-4.2 ล้านบาท โดยจะมีค่าลอยัลตี้ฟี 7% และค่ามาร์เกตติ้งฟี 1%
นอกจากรูปแบบแฟรนไชส์ใหม่ๆ แล้วนั้น ซึทาญ่า เองก็ยังมีลูกเล่นหารายได้เพิ่มอื่นๆ นอกเหนือจากเช่าและขายหนังแผ่น เช่น การบริการเช่าหนังสือการ์ตูน และในอนาคตมีโครงการที่จะเปิดร้านแบบเมกะสโตร์ ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมความบันเทิงครบครันของซึทาญ่า แบบเดียวกับที่เปิดในญี่ปุ่น

ทั้งนี้ในปีนี้ซึทาญ่าคาดหวังที่จะขายแฟรนไชส์ด้วย 4 รูปแบบใหม่นี้ได้มากขึ้น และจะเป็นตัวกระตุ้นให้สามารถเพิ่มเครือข่ายเพื่อยึดครองความเป็นเจ้าตลาดอย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us