Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
ถึงคราวอีริคสันต้องจัดทัพ             
 


   
search resources

อีริคสัน (ประเทศไทย), บจก.
ยอน เคมวอลล์
Mobile Phone




หากจัดอันดับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก อีริคสันคอมมิวนิเคชั่นส์ คงติดหนึ่งในนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย

อีริคสันข้ามน้ำข้ามทะเลมาสร้างอาณาจักรในไทยมาหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบันอีริคสันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในซัปพลายเออร์ผู้ผลิตอุปกรณ์ติดตั้งเครือข่ายโครคมนาคมรายใหญ่ของไทย ที่มีรายชื่อลูกค้าอย่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ตลอดจนเอกชนผู้ให้บริการรายใหญ่ของไทยคือ บริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น (ทีทีแอนด์ที) บริษัทแอ็ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จากค่ายชินวัตร

ขณะเดียวกันทางด้านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถืออีริคสันไต่ขึ้นเป็นอันดับสองในตลาด เป็นรองโนเกียแต่แซงหน้าโมโตโรล่ามาอย่างขาดลอย

ทว่า ในช่วงปีสองปีนี้อีริคสันก็เริ่มตระหนักแล้วว่า ยิ่งตลาดโทรคมนาคมเมืองไทยเติบโตเพียงใดก็ยิ่งจูงใจให้คู่แข่งขันหน้าใหม่ๆ แห่เข้ามาร่วมวงไพบูลย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนโยบายในด้านเครือข่ายโทรคมนาคมของรัฐบาลในช่วง 4-5 ปีมานี้ได้ส่งผลให้โครงการต่างๆ เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นโครงการขยายโทรศัพท์ 4.1 ล้านเลขหมาย และการขยายเครือข่ายโทรคมนาคมของ 2 หน่วยงานรัฐที่มีต่อเนื่อง ตลอดจนการขยายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการรายเดือน รวมทั้งการถือกำเนิดโทรศัพท์มือถือรายใหม่ๆ

ผลจากการขยายนี้เอง ทำให้เมืองไทยกลายเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำของโลกรายใหม่ ต่างขยับขยายเข้ามาเมืองไทย เพื่อหวังป้อนสินค้าของตัวเองให้กับโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้

คู่แข่งขันในเวลานี้ของอีริคสันจึงไม่ได้มีเฉพาะรายเก่าๆ อย่าง เอ็นอีซี โมโตโรล่า โนเกีย ที่เข้ามายึดหัวหาดในช่วงเวลาไม่ต่างจากอีริคสัน แต่มีหน้าใหม่ที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเวลานี้อีกหลายรายไม่ว่าจะเป็น ลูเซนท์ เทคโนโลยี หรือชื่อเดิมคือ เอทีแอนด์ที และนอร์เทล ชื่อเดิมคือ นอร์ทเธิร์นเทเลคอม ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในเพื่อต้องการบุกขยายตลาดอย่างจริงจัง รวมทั้งการบุกอย่างหนักของค่ายซีเมนส์แห่งเยอรมนีด้วย

เรียกว่า อีริคสันมีคู่แข่งขันเพิ่มขึ้นในทุกตลาดไม่ว่าจะเป็นทางด้านสวิทชิ่ง หรือชุมสายโทรศัพท์ ทรานสมิทชั่น หรือแม้แต่อุปกรณ์ระบบโทรศัพท์มือถือ

แน่นอนว่าตามประสาของผู้มาใหม่ก็ย่อมมีทีเด็ด เพราะไม่เช่นนั้นก็คงไม่สามารถดึงดูดใจลูกค้าให้หันเหจากมาได้ ดูจากกรณีการเลือกซัปพลายเออร์ของบริษัท ดับบลิวซีเอส ของค่ายเอ็มกรุ๊ป หนึ่งในสองผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่ในระบบพีซีเอ็น 1800 ที่มีซัปพลายเออร์ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่เสนอตัวเข้ามาหลายราย แต่ในที่สุด "นอร์เทล" ก็คว้าไปครอง ด้วยเงื่อนไขสุดพิเศษซึ่งว่ากันว่าให้เครดิตยาวนานหลายปี ทำเอาซัปพลายเออร์รายเก่าต้องนั่งมองตาปริบๆ

เช่นเดียวกัน บริษัทดิจิตอลโฟนของค่ายสามารถ ที่มีทีท่าว่า "ลูเซนท์ เทคโนโลยี" จะมาแรงแซงหน้าโนเกียและอีริคสัน เหลือแต่การเจรจาขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่อะไรก็ไม่แน่นอน หากยังไม่เซ็นสัญญากันอย่างเป็นทางการ หรือแม้กระทั่งกำหนดการเซ็นตอนเย็นวันนี้ ก็ยังมีโอกาสเปลี่ยนใจกันได้ในช่วงเช้า

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว อีริคสันในฐานะของซัปพลายเออร์หน้าเก่า ก็จำเป็นต้องหันมาทบทวนตัวเอง เพราะศึกครั้งนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

จะว่าไปแล้ว หากจัดอันดับซัปพลายเออร์แล้ว นอร์เทล และลูเซนท์นั้นก็คงอยู่ในฐานะของซัปพลายเออร์อันดับ 2 เป็นรองซัปพลายเออร์อันดับ 1 อย่าง อีริคสัน โนเกีย เอ็นอีซี โมโตโรล่า แต่การเป็นที่ 2 ก็ใช่ว่าจะต้องเป็นรองเสมอไป หากข้อเสนอที่ให้กับลูกค้านั้นจูงใจเพียงพอ

อีริคสันลงมือปรับโครงสร้างภายในใหม่ ด้วยการแบ่งสายงานออกเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ อีริคสันได้การจัดตั้งฝ่ายดูแลลูกค้าหลักขึ้นมาใหม่ และมอบหมายให้ผู้บริหารแต่ละคนมารับผิดชอบลูกค้าหลักแต่ละราย (ดูตารางประกอบ) เรียกว่าเป็นการจัดโครงสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (CUSTOMER OREINTED) ตามลักษณะของการตลาดแนวใหม่ จากที่โครงสร้างเดิมของอีริคสันนั้นจะแบ่งตามประเภทของสินค้า

"แต่เดิมเราแบ่งตามสินค้า ดังนั้นลูกค้าเวลาต้องการสินค้าอื่นๆ ก็ต้องไปติดต่อกับผู้บริหารอีกคน ทำให้เกิดความยุ่งยาก เพราะโครงสร้างใหม่นี้ ลูกค้ารายใหญ่ของเราจะติดต่อกับผู้บริหารของเราเพียงคนเดียว ซึ่งจะต้องคลุกคลีกับลูกค้ารายนั้นตลอดเวลา"

ที่สำคัญการมอบหมายให้ผู้บริหารแต่ละคนรับผิดชอบลูกค้าหลักไปเลย ก็เพื่อประโยชน์ในการเก็บความลับของลูกค้า เพราะผู้บริหารเหล่านี้จะต้องคลุกคลีและรับผิดชอบลูกค้ารายนั้นๆ ตลอด ซึ่งหากมีลูกค้ารายใหม่เกิดขึ้นก็จะมีการแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่ขึ้นมาดูแล

เพราะในการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ลูกค้าเก่าที่อีริคสันต้องการยึดเอาไว้แล้ว อีริคสันได้มอบหมายให้สันติพันธ์ จาติกวณิช ลูกหม้อเก่าแก่ที่บุกเบิกธุรกิจค้าเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือ มาเป็นผู้ดูแลกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ให้บริการรายใหม่ๆ พร้อมกับรับผิดชอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือควบคู่ไปด้วย

การแต่งตั้งสันติพันธ์ให้รับผิดชอบลูกค้าที่เป็นผู้บริหารเครือข่ายรายใหม่ๆ นี้ ก็เนื่องจากสันติพันธ์นั้นเคยคลุกคลีกับบรรดาลูกค้าที่ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมมา ตั้งแต่ยังเป็นเพียงแค่ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นเมื่อลูกค้าเหล่านี้เติบใหญ่กลายเป็นผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) การติดต่อพูดคุยกันก็จะง่ายขึ้น ดังเช่นในกรณีของการเลือกซัปพลายเออร์ของบริษัทดิจิตอลโฟนในเครือ สามารถ ซึ่งอีริคสันก็ยังมีความหวังอยู่อย่างเต็มเปี่ยมว่า เหตุการณ์อาจพลิกล็อกได้ หรือหากไม่สำเร็จในการขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการเหล่านี้ในระยะต่อไป อีริคสันก็คงจะมีส่วนร่วมได้

"เหมือนกับครั้งหนึ่งเอไอเอสเคยเลือกโนเกียให้ติดตั้งเครือข่ายให้ แต่พอมีการขยายในเฟสต่อไป เขาก็เลือกอีริคสัน และเราก็กลายเป็นซัปพลายเออร์รายใหญ่ให้กับเขามาตลอด" ผู้บริหารของอีริคสันชี้แจง

แน่นอนว่า การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ สันติพันธ์ยืนยันว่าอีริคสันไม่เพียงจัดทัพให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนโยบายทางด้าน "ราคา" ของสินค้า และข้อเสนออื่นๆ ก็จะต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าเช่นกัน

งานนี้ศึกซัปพลายเออร์คงเพิ่มดีกรีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us