Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 มกราคม 2549
ชำแหละพฤติกรรมคนซื้อบ้าน จัดสรรลงลึกนิสัยลูกค้าตามรอบปฏิทินกำหนดกลยุทธ์             
 

 
Charts & Figures

ตัวอย่างอัตราผ่อนชำระต่อเดือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย


   
search resources

Real Estate




แม้ว่าปฏิทินจะเป็นเพียงการ เรียกขานวันเวลาของมนุษย์ แต่นับวันจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น เช่น ทำงาน วันจันทร์ถึงศุกร์ พักผ่อน วันเสาร์-อาทิตย์ วันพิเศษทางศาสนา หรือวันสำคัญของชาติ กลายเป็นวันเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น

วัน เดือน และเทศกาลต่างๆ ล้วนมีพื้นฐานมาจากสภาพการของโลก การกินอยู่หลับนอนมาจากความสว่างและความมืด ต่อมาส่งผลถึงการทำเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เพาะปลูก ตามปริมาณน้ำฝนและแหล่งน้ำในธรรมชาติ จนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดฉลองในช่วงฤดูแล้ง
จนกระทั้งปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนเมือง ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ดูเหมือนว่าไม่ต้องพึ่งพาแสงอาทิตย์หรือฤดูกาล เพราะมีโคมไฟฟ้าและสามารถปรับอากาศได้แล้ว แต่กระนั้นวันเดือนที่มีอยู่ในปฏิทิน ก็ยังส่งผลถึงกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น เวลาทำงาน ช่วงพักผ่อน เป็นต้น เมื่อรวมกับตารางการศึกษา งบประมาณ และประเพณี กลับส่งผลอย่างมาก รวมถึงพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ

จากการศึกษาของ รศ.ดร.บันฑิต จุลาสัย ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าขั้นตอนของการซื้อที่อยู่อาศัยใช้เวลานานกว่า 3 ปี เริ่มจากพื้นฐานสังคมไทยทำให้ทุกคน อยาก มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่จะเปลี่ยนเป็น ตระหนักรู้ ว่าต้องซื้อหาที่อยู่อาศัย เมื่อมีปัจจัยความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จากนั้นจึงเริ่ม รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังประมาณหนึ่งปี ครอบคลุมทั้งเรื่อง รูปแบบ โครงการ สภาพแวดล้อม ทำเล ผู้ประกอบการและสินเชื่อ จนสามารถคัดให้เหลือ 3 หรือ 6 โครงการ เพื่อ ใช้เปรียบเทียบในการ ประเมินทางเลือก ในช่วงเวลา 3 ถึง 6 เดือนต่อมา ก่อนที่จะพร้อม ตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัย พฤติกรรมผู้ซื้อที่อยู่ อาศัยในแต่ละขั้นตอน จึงมีความสัมพันธ์กับ ปฏิทินประจำปี ในรูปแบบต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

มกราคม

เทกาลปีใหม่สากลและจีน เวลาแห่งความสุขและกิจกรรมสังสรรค์มากมาย มีผล ให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชะลอ *การรวบรวมข้อมูล การประเมินทางเลือก และ การตัดสินใจ ซึ่ง ดูจะขัดแย้งกับบรรยากาศรื่นเริงต่าง อย่างไร ก็ตาม ช่วงเวลานี้ครอบครัวและญาติมิตรจะมีกิจกรรมพบปะสังสรรค์ ซึ่งเป็นโอกาสพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มีส่วนให้เกิด ตระหนักรู้ เช่นเดียวกับเวลาเริ่มต้นปีใหม่ ทำให้หลายคนคิดถึงตนเอง และครอบครัว ส่งผลให้รู้ว่า ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย กรณีพิเศษสำหรับผู้ที่อยู่ในธุรกิจเอกชนเงินโบนัสประจำปี จะเป็นปัจจัยเร่ง การตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัยให้เกิดขึ้นในเดือนนี้

กุมภาพันธ์

ทุกอย่างคืนสู่ปกติ กลุ่มรวบรวมข้อมูล และกลุ่มประเมินทางเลือก จึงมีเวลาสำหรับกิจกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อต่างๆ เทศกาลวาเลนไทน์แม้จะเป็นธรรมเนียมตะวันตกที่เพิ่งแพร่เข้าสู่สังคมไทย แต่ดูเหมือนว่ามีความหมายสำหรับหนุ่มสาวไทยเรื่องการใช้ชีวิตคู่ ส่งผลให้ ตระหนักรู้ ว่าต้องการที่อยู่อาศัย เพื่อ ความเป็นส่วนตัว หรือสร้างครอบครัวใหม่ที่มั่นคงต่อไป

มีนาคม

ช่วงเวลาปิดเทอมของเด็กนักเรียน นั่นหมายถึงภารกิจการรับ-ส่งบุตรไปโรงเรียน หมดไป ครอบครัวที่มีบุตรธิดาจะมีเวลาว่างมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงเสาร์อาทิตย์ ทำให้ กลุ่มตระหนักรู้ และ รวบรวมข้อมูล มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม สัมมนา นิทรรศการ และงาน มหกรรมที่อยู่อาศัยต่างๆ รวมทั้ง กลุ่มประเมินทางเลือก มีเวลาเยี่ยมโครงการและดูบ้านตัวอย่างอย่างเต็มที่ และ กลุ่มตัดสินใจ มีเวลาพิจารณาและต่อรองเงื่อนไขได้อย่างเต็มที่

เมษายน

แม้อากาศจะร้อน แต่การเดินทางไปไหนสะดวก อีกทั้งเป็นเดือนแห่งการพักร้อน ประจำปี คนทั่วไปอาจเลือกเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ แต่สำหรับผู้ซื้อบ้าน โดยเฉพาะ กลุ่มประเมินทางเลือก จะเป็นช่วงเวลาเยี่ยมชมเปรียบเทียบโครงการ ที่อยู่ในทำเลเดียวกัน ราคาและรูปแบบคล้ายคลึงกัน มีเวลานานสำหรับการสอบถาม ตรวจสอบ และต่อรอง รวมทั้งมีเวลาสำหรับกิจกรรมหลังตัดสินใจ เช่นการเตรียมเอกสาร การเซ็นสัญญา ช่วงเวลาที่พอเหมาะจะอยู่กลางเดือน ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ วันครอบครัวก็เป็นอีกโอกาสสามารถ รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย จากญาติมิตร เพื่อนฝูง กลุ่มประเมินทางเลือกจะมีโอกาสเจรจาหรือขอการสนับสนุนด้านการเงินจากญาติผู้ใหญ่ ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น

พฤษภาคม

เริ่มเข้าสู้ช่วงเวลาเตรียมตัวเปิดเรียนของครอบครัวที่มีบุตร โดยเฉพาะลูกน้อยเข้า เรียนอนุบาลครั้งแรก หรือสำหรับเด็กโตย้าย หรือเข้าโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาใหม่ กิจกรรมครอบครัวจึงวนเวียนอยู่ที่โรงเรียนและการเรียน มีผลต่อการใช้จ่ายหรือเวลา แทบจะไม่มีกิจกรรมการซื้อบ้านเกิดขึ้น ส่วน ผู้ที่ยังไม่แต่งงานหรือยังไม่มีบุตร เดือนนี้เหมาะสำหรับการพักผ่อน สร้างความสัมพันธ์ ที่จะเป็นปฐมบทของการมีชีวิตคู่หรือการมีทายาท ส่งผลให้ตระหนักรู้ว่าต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคต

มิถุนายน

ฝนฟ้าเริ่มตกตามฤดูกาล แม้ว่าคนเมือง ไม่ได้ทำงานในนาไร่ แต่ฝนก็ทำให้กิจกรรมต่างๆ ลดลง เดือนนี้ครบครึ่งปีหรือไตรมาสสอง หลายคนจำเป็นต้องสร้างผลงาน หรือเพิ่มยอดขายเพื่อทดแทนเดือนก่อนที่เผลอตัวสนุกมาไป กิจกรรมการซื้อบ้านที่เกิดขึ้นเมื่อ ฝนฟ้าเป็นใจ ออกไปไหนก็ไม่ได้ คือการอ่าน หนังสือ นิตยสาร ค้นคว้าอินเทอร์เน็ต เพื่อหาข้อมูลที่อยู่อาศัย สำหรับกลุ่ม ตระหนักรู้ และ กลุ่มรวบรวมข้อมูล การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับ กลุ่มประเมินทางเลือก

กรกฎาคม

ฝนตกหนักมากขึ้น กลุ่มประเมินทางเลือก ไม่มีโอกาสออกไปเยี่ยมชมโครงการจึงยังไม่มีการตัดสินใจ เช่นเดียวกับกิจกรรม หลังการจัดสินใจซื้อ หรือการย้ายเข้าอยู่ดูเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่สะดวกด้วยเหตุต่างๆ กิจกรรมจึงยังวนเวียนอยู่กับ การรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่จะซื้อเท่านั้น

สิงหาคม

สำหรับภูมิภาคที่เราอยู่ สายฝนโปรย ปรายลงมาไม่ขาดสาย กลายเป็นปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาฝนตกน้ำรั่ว น้ำขัง อาจสร้างความรำคาญจนคิดจะย้ายไปอยู่ที่ดีกว่า ส่งผลต่อการซื้อบ้านของ กลุ่มตระหนักรู้ สำหรับ กลุ่มประเมินทางเสือก วิกฤตเช่นนี้ที่จริงเหมาะสำหรับการตรวจสอบ คุณภาพบ้านและโครงการอย่างแท้จริง ในเรื่องหลังคาและน้ำท่วมก่อนตัดสินใจ

กันยายน

ฝนเริ่มหาย ท้องฟ้าเริ่มใส กิจกรรมทาง ศาสนาเริ่มมา ทั้งงานออกพรรษา งานทอดกฐินและผ้าป่า การทำบุญทำให้หลายคนได้รับข่าวดี เลื่อนโยกย้ายต่ำแหน่งหน้าที่ทางราชการสูงขึ้น กิจกรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจึงเริ่มต้นอีกครั้ง โดยเฉพาะ กลุ่มตระหนักรู้และกลุ่ม ประเมินทางเลือก จากการเยี่ยมชมโครงการและการตรวจสอบพิจารณาตัวบ้านและโครงการอย่างละเอียด

พฤศจิกายน

ฤดูแห่งความสนุกมาแต่ครั้งอดีต เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรได้รับผลจากการทำงานหนักมาตลอดฤดูกาล สามารถซื้อหาสินค้า พักผ่อนเที่ยวเตร่ได้เต็มที่ ส่งผลให้การหมุนเวียนเศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจการค้าและบริการคึกคัก กลายเป็นปัจจัยบวก ต่อการซื้อที่อยู่อาศัยของคนในเมือง นอกจาก นี้ผู้ที่รับราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้ประจำนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าขั้นปกติ ส่งผลต่อการ ตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัยฤกษ์แต่งงานจึงมักจะอยู่ในช่วงเวลานี้ รวมกับอากาศที่เย็นสบายมากขึ้น ส่งผลให้งานแต่งงานถี่ขึ้น จนเป็นตัวเร่งการซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับ กลุ่มประเมินทางเลือก และ กลุ่มตัดสินใจ

ธันวาคม

เดือนสุดท้ายแห่งปีเดือนที่วุ่นวายที่สุดสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะนอกจาก อากาศเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส จิตใจเบิกบาน เทศกาลสนุกสนาน ทั้งที่เกี่ยวกับคนไทย อย่างวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ หรือไม่เกี่ยวอย่างวันคริสต์มาส และที่สำคัญวันปีใหม่สากลมีผลต่อวันหยุดราชการสำหรับหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และวันหยุดเทศกาลของบริษัทข้ามชาติ ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างและโครงการ ในเวลาเดียวกันบริษัทผู้ประกอบการต่าง มุ่งที่จะเพิ่มยอดรายได้ของปี จึงจัดรายการ ลด แลก แจก แถม โบนัสพิเศษมากมาย ซึ่งมีผลให้ กลุ่มประเมินทางเลือก ตัดสินใจ เร็วขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรม การซื้อและสร้างที่อยู่อาศัย หรืออยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คงต้องพิจารณาเรื่องนี้ ด้วยความเข้าใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนในการวางแผนงาน การจัดการโครงการและการตลาด คงต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับวันเดือนที่กล่าวมา แต่ทั้งนี้ ยังจะต้องพิจารณารายละเอียดเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อให้ชัดเจน ทั้งเรื่องสถานะครอบครัวและรายได้ เนื่องจากจะมีพฤติกรรมจะต่างกัน แม้ในช่วง เวลาเดือนเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่อง"อัตราดอกเบี้ย"เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้าน ส่งผลต่อการซื้อได้หรือไม่ได้ นั้นก็คือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และยิ่งในปัจจุบันด้วย แล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ดังนั้นผู้ที่ซื้อ บ้านไปแล้วก็ควรมีความระมัดระวังในเรื่องของค่าใช้จ่าย ต้องสำรองสำหรับดอกเบี้ยเพิ่ม ขึ้น ในแง่ของผู้ประกอบการยังมีต้นทุนทาง การเงินเพิ่มมากขึ้น ควรพิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตนว่าเป็นกลุ่มใด ได้รับผล กระทบจากภาวะดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะในภาวะ ที่ดอกเบี้ยขาขึ้นลูกค้าจะซื้อบ้านในราคาที่ต่ำลง ว่ากันว่าดอกเบี้ยปรับขึ้น 1% จะส่งผลให้ผู้กู้เพิ่มภาระการผ่อน 8% (ดูตารางประกอบ)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us