Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 มกราคม 2549
ออมสินกุมหุ้นใหญ่เอ็มเอฟซี สานฝัน"ยูนิเวอร์เซลแบงกิ้ง"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารออมสิน
โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

ธนาคารออมสิน
เอ็มเอฟซี, บลจ.
Funds




ออมสินเดินหน้าสู่ความเป็นยูนิเวอร์เซลแบงกิ้ง ควัก 300 ล้านบาท ซื้อหุ้น บลจ.เอ็มเอฟซี จากธนาคารทหารไทย ส่งผลให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กุมอำนาจการบริหาร ผู้บริหารธนาคารทหารไทยเผยจำเป็นต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ในบลจ.เอ็มเอฟซี เนื่องจากต้องการลดความซ้ำซ้อนการทำงานกับบลจ.ทหารไทย บริษัทในเครือ

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)หรือ MFC ให้กับธนาคารออมสิน ในราคา 22.60 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 302.84 ล้านบาท โดยธนาคารทหารไทยขายหุ้นออกไปจำนวน 13,400,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 11.17% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นหลังการขายหุ้นให้กับธนาคารออมสิน ธนาคารถือหุ้นในบลจ.เอ็มเอฟซีเหลือเพียง 13.68% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว

นายสุภัค กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการขายบลจ.เอ็มเอฟซี เพื่อลดความซ้ำซ้อนของธุรกิจในเครือธนาคาร และให้เป็นไปตามนโยบายการ กำกับแบบรวมกลุ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ปัจจุบันธนาคารทหารไทยมีบลจ.ทหารไทยเป็นบริษัทในเครือ โดยธนาคารทหารไทยถือหุ้นในสัดส่วน 51% ธนาคารดีบีเอส 17% บริษัทไทยสมุทร ประกันชีวิต 11% โซซิเอท เจนเนอรัล แอสเซท แมเนจเมนต์ 10%

สำหรับทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วของบลจ.เอ็มเอฟซี อยู่ที่ 120 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นสามัญ 120 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้หุ้นละ 1 บาท

คณะกรรมการของบลจ.เอ็มเอฟซี ประกอบด้วย 1.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ 2.นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการและกรรมการผู้จัดการ 3.นางญาดา ประพิณมงคลการ กรรมการ 4.ร้อยเอกชาญชัย ชาญชัยศึก กรรมการ 5.นายวิศิษฐ์ วงศ์รวมลาภ กรรมการ 6. นางนงลักษณ์ วีระเมธีกุล กรรมการ 7.นายธีระ วิทวุฒิศักดิ์ กรรมการ 8.นายนราธร วงศ์วิเศษ กรรมการ 9.นายสุรเธียร จักรธรานนท์ กรรมการ 10.นายประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรง ประธานกรรมการตรวจสอบ 11.นายอดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการตรวจสอบ 12.นายกำธร ตติยกวี กรรมการตรวจสอบ

สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรกประกอบด้วย 1.ธนาคารทหารไทย 29,814,000 หุ้น คิดเป็น 24.85% 2.กระทรวงการคลัง 20,000,000 หุ้น คิดเป็น 16.67% 3. ธนาคารออมสิน 16,000,000 หุ้น คิดเป็น 13.33% 4. บล.แอ๊ดคินซัน 5,663,000 คิดเป็น 4.72% 5.นายวีรยุทธ์ ศุภพิพัฒน์ 5,141,000 คิดเป็น 4.28%

อย่างไรก็ตาม หลังทำรายการ ธนาคารออมสินได้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1.โดยมีหุ้นในบลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 29,400,000 หุ้น คิดเป็น 24.50% 2.กระทรวงการคลัง 20,000,000 หุ้น คิดเป็น 16.67% 3. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 16,414,000 หุ้น คิดเป็น13.68% 4.บล.แอ๊ดคินซัน 5,663,000 หุ้น คิดเป็น 4.72% และ5.นายวีรยุทธ์ ศุภพิพัฒน์ 5,141,000 หุ้น คิดเป็น 4.28%

ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มีสินทรัพย์ 1,343.78 ล้านบาท หนี้สิน 86.24 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,257.54 ล้านบาท มูลค่าหุ้นตามบัญชี 10.48 บาท ขณะที่มีรายได้รวม 322.48 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 219.20 ล้านบาท กำไรสุทธิ 79.66 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.66 บาท

สำหรับธนาคารออมสิน จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปของสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกันอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง และเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคาร จำนวน 133,478,822 หุ้น คิดเป็น 0.87% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว นอกจากนี้กระทรวงการคลังก็เป็นผู้ถือหุ้นของธนาคาร จำนวน 4,772,574,627 หุ้น คิดเป็น 31.18% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว กรรมการที่มีส่วนได้เสียกับเรื่องดังกล่าวไม่เข้าร่วมประชุม และไม่มีสิทธออกเสียงในที่ประชุม คือ 1. นายสมใจนึก เองตระกูล 2.นายสมหมาย ภาษี 3.นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ออมสินบุกยูนิเวอร์เซลแบงกิ้ง

แหล่งข่าวจากธนาคารออมสิน กล่าวว่า การเข้าถือหุ้นใหญ่ในบลจ.เอ็มเอฟซี ของธนาคารออมสิน ถือเป็นไปตามนโยบายการบริหารงาน ซึ่งธนาคารพุ่งเป้าสู่การเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินอย่าง ครบวงจร (ยูนิเวอร์เซลแบงกิ้ง) โดยในช่วงที่ผ่านมานายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้มีการหารือกับนายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี เพื่อเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจ โดยจะมีการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อสอบขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการ เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน

"การเข้ามาถือหุ้นในบลจ.ครั้งนี้จะเป็น การเสริมฐานให้กับธนาคาร เพื่อก้าวสู่ความเป็นยูนิเวอร์เซลแบง กิ้ง ซึ่ง ธนาคารออมสินมีฐานลูกค้าแบงก์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำ ให้สามารถเจาะฐานลูกค้าในต่างจังหวัดที่ขณะนี้ บลจ. หลายแห่งยังไม่สามารถเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้" แหล่งข่าวกล่าว

นายศรันย์ ถวิลย์หวัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย วิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า การที่ธนาคารทหารไทยขายหุ้นที่ถืออยู่ในบลจ.เอ็มเอฟซี ให้กับธนาคารออมสิน เชื่อว่าไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในบลจ.เอ็มเอฟซี แม้โครงสร้างการถือหุ้นใหม่ ธนาคารออมสินจะกลายเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะที่ผ่านมา ธนาคารทหารไทย ก็ถือได้ว่าไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับบลจ.เอ็มเอฟซีอยู่แล้ว เชื่อว่าทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม

ทั้งนี้ หลังจากที่บลจ.เอ็มเอฟซี มีธนาคารออมสินเป็นผู้ถือหุ้นแล้วอนาคตคงต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงคลังว่า จะมีการบริหารกองทุนอย่างไร เพราะ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารออมสิน ซึ่งในส่วนของผลประกอบการของบลจ. เอ็มเอฟซี นั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากกองทุน ของบลจ. เอ็มเอฟซี ส่วนใหญ่มีการบริการกองทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผลตอบแทนก็จะกลับมาที่รัฐวิสาหกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us