Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มกราคม 2549
SARON WAR             
 


   
www resources

โฮมเพจ ลอรีอัล (ประเทศไทย)
Shiseido Thailand

   
search resources

เฮงเค็ลไทย (1999)
Cosmetics
ลอรีอัล (ประเทศไทย), บจก.
ชิเซโด้ (ไทยแลนด์), บจก.




"ซาลอน" อีกหนึ่งช่องทางขายที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม ตั้งแต่ ครีมเปลี่ยนสีผม ย้ำยาดัดผม ยืดผม แม้จะไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับช่องทางรีเทล ทว่า การแข่งขันกลับดุเดือด ร้อนแรงไม่แพ้ช่องทางอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยักษ์เครื่องสำอางอย่าง "ชิเซโด" เปิดศึกชิงเค้กอย่างเต็มตัว ทั้งที่มี ลอรีอัล ชวาร์สคอฟ และเวลล่า ผู้เล่นหลักของตลาดกำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด

ด้วยมูลค่าตลาดช่องทางซาลอนประมาณ 2,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนประมาณ 5% และคาดว่าในปี 2549 จะมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเทรนสีผมที่จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น หลักจากที่ผมยาวตรงสีดำเป็นเทรนยอดนิยมในปีนี้ ประกอบกับ การเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ของ "ชิเซโด" ย่อมสร้างสีสันให้กับตลาดได้ไม่มากก็น้อย

"เส้นผมตรงที่มีสีดำถือเป็นเทรนที่ได้รับความนิยมมากสุดในปีนี้ ส่งผลให้ตลาดช่องทางซาลอน โดยเฉพาะการทำสีผมเติบโตไม่มาก แต่คาดว่าในปี 2549 การทำสีผมจะได้รับความนิยม โดยลูกค้าจะเข้ามาใช้บริการร้านซาลอนและทำสีผมมากกว่าปีนี้ประมาณ 10% โดยในส่วนของลอรีอัลคาดว่าปีหน้าช่องทางซาลอนก็จะเติบโตด้วย 10% ขณะที่ตลาดรวมน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 15%" ชาคริต พิชญางกูร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"

"L'Oreal" งัด Event ยกระดับ สร้างแบรนด์รอยัลตี้

ลอรีอัล ผู้นำตลาด ที่มีส่วนแบ่งประมาณ 18% ของช่องทางซาลอนมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท นับว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากที่ผ่านมาโมเดลการเข้ามาทำตลาดในไทยของลอรีอัล คือ การรุกเข้าไปปักธงและสร้างตลาดในร้านซาลอน ด้วยการอบรม สอนวิธีการใช้สินค้าให้กับช่างผม เพื่อให้เป็นมืออาชีพ และความเชี่ยวชาญต่อการแนะนำให้กับลูกค้าในลำดับถัดไป ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเกิดความพอใจ เชื่อถือสินค้าที่สืบเนื่องมาจากตัวช่างผมได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นการพาเหรดสินค้าเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงจึงเป็น สเต็ปที่ 2 ภายในเวลาไม่เกิน 2 ปีหลังจากเปิดตัวในช่องทางซาลอน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ลอรีอัล จะคงฐานะผู้นำตลาดทั้งในช่องทางซาลอนด้วยส่วนแบ่ง 18% หรือช่องทางรีเทล ด้วยส่วนแบ่งประมาณ 32% จากมูลค่าตลาด 1,740 ล้านบาท แต่ลอรีอัลก็ยังทำตลาดอย่างหนักและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อสร้างความภักดีต่อแบรนด์ ขยายฐานผู้บริโภค และเขยิบหนีจากคู่แข่งให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่องทางซาลอนที่มีชวาร์สคอฟไล่จี้มาติดๆด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 15% หรือการเข้ามาของ ชิเซโด ยักษ์ใหญ่ในวงการสกินแคร์ที่มีจุดแข็งด้านความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง

สำหรับ การทำตลาดในปี 2549 ลอรีอัลจะเน้นการจัด Event มากขึ้น ภายใต้งบการลงทุนกว่า 10 ล้านบาท โดยจะเป็นงานใหญ่ระดับอินเตอร์อย่างน้อย 2 งาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับช่างผมให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการสื่อสารกับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีด้วย นอกจากนี้จะมีการจัดอีเว้นท์สำหรับการออกสินค้าใหม่ที่เป็นไฮไลท์ของลอรีอัล โดยจะออกสินค้าใหม่เฉลี่ย 2 - 3 skuต่อเดือน ทั้งกลุ่มสี ดัด และยืด

"ปีหน้าเราจะเน้นจัดอีเว้นท์เพื่อยกระดับช่างผม และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ให้มากขึ้น นอกจากนี้จะมีการออกสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยเฉพาะกลุ่มสีเพื่อให้เกิดความหลากหลาย และกระตุ้นผู้บริโภค ซึ่งสินค้าใหม่ที่จะเปิดตัวในปีหน้านั้น จะสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในเรื่องการดูแลสุขภาพผมได้ด้วย" เป็นคำกล่าวของ ชาคริต ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ลอรีอัล

เป็นไปได้ว่า การที่ลอรีอัลเตรียมจะออกสินค้าที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์เรื่องสุขภาพผม เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังเห็นว่าการทำกิจกรรมกับผม ไม่ว่าจะเป็นการทำสีผม การย้อม การดัด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สุขภาพผมเสีย จึงทำให้ความนิยมจากผู้บริโภคลดลง เพราะขัดกับเทรนผมที่เน้นยาวตรงและมีสุขภาพดีด้วย

"ปีนี้การเติบโตของช่องทางซาลอน และการทำสีผมเติบโตแบบทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะลูกค้าส่วนหนึ่งเห็นว่าการทำสี ย้อม ดัดผมทำให้ผมเสีย แต่เราจะชี้ให้เห็นว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีคุณภาพ และดูแลบำรุงอย่างดีก็จะไม่ทำให้เส้นผมเสีย ซึ่งคาดว่าจะได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค"

สำหรับการเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังของ ชิเซโด ที่มีจุดแข็งเรื่องความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของลอรีอัล กล่าวว่า ชิเซโดถือเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในด้านเครื่องสำอาง สกินแคร์ ขณะที่สินค้าเกี่ยวกับเส้นผม นับว่าต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในช่องทางซาลอนที่มีค่ายใหญ่ทำตลาดมานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการ Educate ผู้บริโภคหรือแม้แต่ช่างผม แม้ตอนนี้ชิเซโดจะมีผลิตภัณฑ์ยืดผมเป็นสินค้าเด่นก็ตาม แต่ผลิตภัณฑ์การทำสีผมที่ถือเป็นสินค้าหลักของตลาดนี้ชิเซโดยังไม่มีความชัดเจนเลย ขณะที่ลอรีอัลมีสินค้าครอบคลุมและได้การยอมรับจากตลาดทุกกลุ่มด้วย แม้ว่าสินค้าบางตัวจะมีราคาสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม เช่น กลุ่มสีผมจะมีราคาสูงกว่าคู่แข่งประมาณ 50%

ปัจจุบัน ลอรีอัลมีช่องทางร้านซาลอนประมาณ 1,500 ร้านทั่วประเทศ โดยเป็นร้านซาลอนที่เลือกใช้แบรนด์ลอรีอัลทั้งร้าน ซึ่งบริษัทจะมีปัจจัยการเลือกร้านดังกล่าวด้วย คือ สถานที่ การให้บริการของร้านจะต้องอยู่ในระดับพรีเมียม ระดับและกำลังซื้อของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ภาพลักษณ์ของร้าน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงและมีความภักดีต่อแบรนด์สูง รวมทั้งสร้างกำแพงความยากต่อการเข้ามาเจาะตลาดของคู่แข่งทั้งรายเก่าและใหม่ โดยปีหน้าลอรีอัลตั้งเป้าเพิ่มอีก 10 - 15%

ชวาร์สคอฟชู Know How เจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียม

ด้าน ชวาร์สคอฟ แบรนด์สัญชาติเยอรมัน จากค่ายเฮงเค็ลไทย ที่เป็นเบอร์ 2 รองจากลอรีอัล ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณ 15% ของตลาดช่องทางซาลอน และมีส่วนแบ่งประมาณ 14% ในช่องทางรีเทล ก็เตรียมรับน้องใหม่และรองรับช่องทางซาลอนที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้า ที่คาดว่าการทำสีผมจะเป็นปัจจัยกระตุ้นการเติบโต

"ธุรกิจในช่องทางซาลอนมีการแข่งขันที่สูงมาก เพราะเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สามารถตามกันทันหมด ทำให้ต้องสร้างความต่างเรื่องการให้บริการ การทำซีอาร์เอ็มกับลูกค้า เพื่อสร้างมูลค่าให้แบรนด์และให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ หรือการจัดอีเว้นท์เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมในรั่วมหาวิทยาลัยร่วมกับร้าน Q-Cut ร้านผมเทรนดี้โดยสมศักดิ์ ชลาชล" วิบูลย์รัตน์ กรีตียุตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เฮงเค็ลไทย (1999) จำกัด กล่าวกับ ผู้จัดการรายสัปดาห์

สำหรับ นโยบายการทำตลาดในปี 2549 ชวาร์สคอฟจะเน้นการปรับตัวสินค้าและแบรนด์ให้สามารถตามเทรนและแฟชั่นได้ตลอดเวลา รวมทั้งเน้นเทคโนโลยีและดึง Know How จากเยอรมันมาพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบการตลาดประมาณ 20% ของยอดขาย พร้อมกับขยายช่องทางร้านซาลอนเพิ่มขึ้น เพื่อขยายฐานและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมทั้งต้องสร้างความพึงพอใจและความน่าเชื่อถือของแบรนด์กับเจ้าของร้านซาลอนด้วย

"ในช่องทางซาลอน ช่างทำผมถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ดังนั้นการสื่อสารเราต้องรู้ว่าช่างผมต้องการอะไร เช่น เทคนิคการตัด ซอย ความรู้อัพเดทเรื่องแฟชั่น เทรนสีผม และบริษัทต้องทำให้โดนใจช่างผมให้ได้ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีการเทรนช่างผมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถใช้งานสินค้าใหม่ๆได้ถูกต้องและเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน" ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เฮงเค็ลไทย กล่าว

ทั้งนี้ ในปีหน้าบริษัทมีแผนจะขยายช่องทางร้านซาลอนเพิ่มอีก 100 จุด โดยปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 ร้านทั่วประเทศ แบ่งเป็นร้านซาลอนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งหมดกว่า 100 ร้าน ส่วน 900 ร้านเป็นซาลอนที่มีผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อให้บริการ

แม้ร้านซาลอนที่เลือกใช้แบรนด์ของบริษัทอย่างเดียวจะมีสัดส่วนที่ยังน้อยก็ตาม แต่ วิบูลย์รัตน์ กล่าวว่า ถือเป็นร้านที่มีศักยภาพและมีความภักดีต่อแบรนด์อย่างมาก ซึ่งแต่ละร้านทางบริษัทจะมีการคัดเลือกตั้งแต่สถานที่ตั้งร้าน ระดับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยวัดจากค่าบริการ เช่น ค่าบริการตัดซอย 200 บาทขึ้นไป เจาะลูกค้ากลุ่มบีและเอ ส่วนราคา 50 - 100 บาท เจาะลูกค้ากลุ่มซีลงมา ทั้งนี้บริษัทจะเน้นกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียมมากขึ้น เพราะจะเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาลูกค้ากลุ่มซี และกลุ่มรากหญ้าได้รับผลกระทบมากจากน้ำมันขึ้นราคา ไข้หวัดนก แม้แต่ผลกระทบจากการเมือง

อย่างไรก็ตาม แม้ปีหน้าจะมีชิเซโดมาเป็นคู่แข่งเพิ่มอีกรายหนึ่ง แต่ด้วยศักยภาพของแบรนด์ที่แข็งแกร่งในเรื่องสกินแคร์เป็นหลัก แต่ยังอ่อนมากในตลาดซาลอน กอปรกับการมีผลิตภัณฑ์ยืดผมเป็นสินค้าดาวเด่นเพียงตัวเดียว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักกับการเข้ามารุกตลาดครั้งนี้ เพราะแบรนด์สำคัญๆจะทำตลาดมานานกว่า 10 ปี โดยชวาร์สคอฟทำตลาดในช่องทางนี้มานานกว่า 30 ปี จนเป็นที่รู้จักของลูกค้าและช่างผมเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของบริษัท ส่วน "เวลล่า" ผู้รั้งอันดับที่ 3 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 12% ในช่องทางซาลอน และประมาณ 4% ในช่องทางรีเทลที่ตอนนี้ค่ายพีแอนด์จีได้ซื้อไปบริหารเองนั้น คาดว่าจะกลายเป็นคู่แข่งที่สร้างสีสันและมีจุดแข็งในด้านเม็ดเงินมากขึ้น

ชิเซโดรุกช่องทางซาลอนเต็มสูบ

ด้าน ชิเซโด แบรนด์ระดับแถวหน้าในตลาดสกินแคร์ ที่แม้จะมีสินค้าและทำตลาดเกี่ยวกับเส้นผมมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังไม่เต็มตัวหรือจริงจังมากนักเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยที่ผ่านมาสินค้าเกี่ยวกับเส้นผมบริษัทไอ.ซี.ซี.ได้รับมอบหมายจากชิเชโดให้เป็นผู้ทำตลาดและจำหน่ายสินค้าให้ แต่ด้วยศักยภาพของธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะช่องทางซาลอนที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทแม่มีนโยบายเข้ามาทำตลาดด้วยตนเอง ภายใต้ชื่อบริษัท ชิเซโด โปรเฟสชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด พร้อมเน้นรุกช่องทางซาลอนอย่างจริงจังตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

เป็นไปได้ว่า การที่ชิเซโดลงมารุกตลาดด้วยตนเองนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความมั่นใจในเรื่องแบรนด์ ที่คาดว่าจะนำมาเป็นจุดแข็งและจุดขายอย่างหนึ่งในการเข้าหาและกระตุ้นการให้ผู้บริโภคทดลองใช้สินค้าง่ายขึ้น นอกเหนือจากความน่าสนใจเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว โดยสินค้าเกี่ยวกับเส้นผมของชิเชโดจะมีราคาต่ำกว่าลอรีอัลเฉลี่ยประมาณ 30%

อย่างไรก็ตาม แม้ชื่อแบรนด์และราคาจะดึงดูดผู้บริโภค ทว่าช่องทางร้านซาลอนในประเทศส่วนใหญ่จะถูกจับจอง เป็นพันธมิตรกับแบรนด์หลักๆไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ลอรีอัล ชวาร์สคอฟ ซึ่งยากต่อการเจาะเข้าไปของแบรนด์น้องใหม่อย่างชิเซโด ที่แม้จะมีมนตร์ขลังในตลาดสกินแคร์ แต่ในตลาดซาลอนนับว่ายังอ่อนอยู่มาก ดังนั้นชิเชโดจึงแก้เกม ด้วยการเปิดร้านซาลอนของตนเองควบคู่กับการหาพันธมิตรร้านซาลอนอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายช่องทางและสร้างแบรนด์แล้ว ยังเป็นการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ขณะที่ช่างผมจากร้านซาลอนก็สามารถเข้ามาขอคำแนะนำได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการที่เอ็มโพเรียม สาขาเซ็นทรัลชิดลม อาคารจัสมิน และล่าสุดที่สยามพารากอน

นอกจากนี้ บริษัทจะมีการจัดกิจกรรม การทำซีอาร์เอ็มกับช่างผม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ประสบการณ์ที่ดีร่วมกันระหว่างแบรนด์กับช่างผม เช่น การจัดเวิร์กชอปประมาณ 4 ครั้งต่อปี แบ่งเป็นจัดในประเทศ 2 ครั้ง และต่างประเทศ 2 ครั้ง ซึ่งการจัดไปต่างประเทศจะช่วยให้ช่างผมอัพเดทแฟชั่นใหม่ได้มากขึ้น

สำหรับ ผลิตภัณฑ์ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชิเชโดจะนำมาเป็นหัวหอกหลักในการบุกตลาด แม้ปัจจุบันสินค้าจะยังไม่หลากหลายเท่าคู่แข่ง แต่ชิเชโดก็มีน้ำยายืดผมเป็นสินค้าดาวเด่นและเป็นผู้นำในตลาดนี้ด้วย และล่าสุดการเปิดตัวสินค้าใหม่เกี่ยวกับการปรับสภาพฟื้นฟูเส้นผม จำนวน 3 สูตร ประกอบด้วย โซลูชั่น สูตรซี สำหรับผมทำสี , โซลูชั่น สูตรซี ดับเบิ้ลยูสำหรับผมทำสีและดัด , โซลูชั่น สูตรทำสีและยืด ซึ่งคาดว่าจะได้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะสุขภาพผมที่ดียังเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และจากการรุกตลาดอย่างจริงจังในปีนี้ ชิเซโดตั้งเป้าปี 2549 จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 20% เทียบกับปีนี้

น่าจับตามองว่า ชิเซโดจะสามารถเข้ามาเขย่าบัลลังก์จากใครได้หรือไม่ หรือจะเป็นแค่แบรนด์เสือกระดาษที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับช่องทางซาลอนเพียงชั่วคราว ขณะที่เวลล่าภายใต้ร่มเงาของพีแอนด์จีก็ยังคงเป็นเสือซุ่ม ทำให้ชวาร์สคอฟและลอรีอัลต้องเร่งทำคะแนนทิ้งห่างให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้นำอย่างลอรีอัลที่โดนเบอร์ 2 หายใจรดต้นคอด้วยเปอร์เซ็นต์แชร์ที่ห่างกันไม่กี่แต้ม

พฤติกรรมการทำกิจกรรมกับเส้นผมของผู้บริโภค
ประเภท ความถี่
ทำสีผม 1 เดือนต่อ 1 ครั้ง
ดัดผม 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง
ยืดผม 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง

มูลค่าตลาดช่องทางซาลอนประมาณ 2,000 ล้านบาท
ลอรีอัล 18%
ชวาร์สคอฟ 15%
เวลล่า 12%
อื่นๆ 55%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us