Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มกราคม 2549
เบนมอร์ ลุ้นตลาดภาคเหนือ ชูกลยุทธ์“Push and Pull”ย้อนรอยสูตรสำเร็จฮันเดรด ไพเพอร์ส             
 


   
www resources

โฮมเพจ ริชมอนเด้

   
search resources

ริชมอนเด้ (บางกอก), บจก.
Marketing
Alcohol




ก้าวรุกที่ริชมอนเด้ให้ความสำคัญกับการทำตลาดเบนมอร์ในภาคเหนือตอนบนและตอนล่างรวม 16 จังหวัด นอกจากจะเป็นไปตามลายแทงของข้อมูลเอซีล นีลเส็นที่รายงานว่าวิสกี้ เซกเมนท์สแตนดาร์ดมียอดขายเป็นอันดับสองของประเทศ เพราะมีสัดส่วนการบริโภคประมาณ 25% หรือคิดเป็นตัวเลขรวมประมาณ 6.8 แสนลังของตลาดรวมมูลค่า 2.7 ล้านลังแล้ว ถือว่ายังเป็นการเคลื่อนไหวที่เข้าไปสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับผู้มาก่อนอย่างของฮันเดรด ไพเพอร์ส ซึ่งเข้ามาปักธงและเป็นครองความเบอร์หนึ่งในเซกเมนท์นี้มากกว่า 5 ปี

แผนเพื่อเข้าไปปักธงในสนามภาคเหนือถูกกำหนดขึ้นมาตั้งแต่เปิดตัวเบนมอร์ครั้งแรก เมื่อ 8 เดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งการทำตลาดเป็น 2 ลักษณะเป็น ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งสิ้น 25 จังหวัด แต่จังหวัดเชียงใหม่มีตัวเลขยอดขาย 80 % ของภาคเหนือทั้งหมด ดังนั้นเบนมอร์จึงโฟกัสตลาดจังหวัดเชียงใหม่เป็นหัวหอกสำคัญสำหรับเจาะตลาดภาคเหนือ ซึ่งถือว่าเข้าไปเจาะตลาดพื้นที่ไฮไลท์ต่างจังหวัดของฮันเดรด ไพเพอร์ส ที่มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งตามมาเป็นลำดับด้วยพัทยา ชลบุรี ขอนแก่น และโคราช

ทว่าการเจาะตลาดเชียงใหม่นั้น มีปัจจัยภายนอกที่ทำให้ตลาดที่นี่มีสภาพแวดล้อมทางการตลาดแตกต่างจากที่อื่น ด้วยรายได้ของประชากรที่มีไม่สูงเท่าในเมืองกรุง และการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงของกิจการร้านอาหาร สถานบันเทิงที่เปิดให้บริการกันเต็มทุกพื้นที่ ทำให้เจ้าของผับในหัวเมืองต่างจังหวัดไม่คิดค่าเปิดขวด ส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีลักษณะ (BYO : Bring Your Own Whisky) ซื้อเหล้าจากร้านค้าทั่วไปเข้าไปดื่มในร้านโดยมีพฤติกรรมแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1.ด้วยรายได้ที่มีไม่สูงเท้ากับในกรุงเทพฯ ทำให้มีบางกลุ่มทานข้าวที่บ้าน ดึกๆไปเที่ยว โดยซื้อเหล้าหิ้วเข้าผับ 2.บางกลุ่มทานอาหารตั้งแต่หัวค่ำที่ร้านหมูกระทะพอเหล้าเหลือหิ้วไปต่อในผับ

เมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากกรุงเทพฯที่เปิดเหล้าในผับ ทำให้การดำเนินกลยุทธ์หลักๆที่สก๊อตวิสกี้แต่ละค่ายมักใช้วิธีการตลาดโดยเข้าเป็นเอ็กซ์คลูซีพแบรนด์และจัดกิจกรรมโปรโมชั่นส่งเสริมการตลาด เพื่อพยายามบล็อกแบรนด์ของคู่แข่งไม่ให้มีโอกาสขายในออนพรีมิส จึงไม่มีผลต่อการทำตลาดเพื่อแจ้งเกิดในพื้นที่ต่างจังหวัด

แต่ปัจจัยการดื่มวิสกี้แต่ละแบรนด์ในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจเลือกมากกว่า ซึ่งถ้าสินค้าแบรนด์ไหน เป็นที่นิยมจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำตลาดได้ง่าย

ดังนั้นสิ่งที่แบรนด์ใหม่อย่างเบนมอร์ต้องเร่งทำคือสร้างแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค เพื่อขึ้นแท่นเป็นทางอีกทางเลือกของวิสกี้ เซกเมนท์สแตนดาร์ด และมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะมาต่อกรกับด่านหินของฮันเดรตไพเพอร์ที่วางตลาดมากว่า 5 ปี

อย่างไรก็ตามเพราะพฤติกรรมภาคเหนือเป็น BYO หิ้วเหล้าเข้าผับ ดังนั้น ทางออกในการเจาะตลาดภาคเหนือของเบนมอร์ จึงใช้วิธีทำตลาดอย่างต่อเนื่องที่ควบคู่กันไปทั้ง Push และ Pull Strategy โดยทำสงครามแย่งพื้นที่ดิสเพลย์เพื่อRemind Brand กับผู้บริโภค พร้อมทั้งกระจายสินค้าให้มีวางจำหน่ายทุกช่องทางจำหน่ายครอบคลุมพื้นที่ได้ 90% และมีการแบ่งตลาดเป็น 4 ประเภทคือออฟพรีมิส 1.เทรดดิชัลนัลเทรด 2.ร้านค้าทั่วไป 3. ดิสเคาท์สโตร์ คอนวีเนียนสโตร์ และออนพรีมิส 4. ผับและร้านอาหารกลางคืน

ผลของการทำตลาดเชิงรุกทำให้เบนมอร์สามารถขยายช่องทางจำหน่ายเพิ่มจาก 31 แห่งในปี 2547 เป็น 64 แห่งในปี 2548 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 100% โดยเป็นร้านค้าเอ็กซ์คลูซีฟจำนวน 20 แห่ง ขณะที่ฮันเดรตไพเพอร์สมี 100 แห่ง

นอกจากนั้นยังมีการจัดกิจกรรมการตลาดในช่องทางออนพรีมิส เพื่อสร้างความประสบการณ์ที่ดีและเพื่อใกล้ชิดกับผู้บริโภคที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยเช่นกัน อนุชา กิจสถาพร ผู้จัดการฝ่ายขายภูมิภาคร้านค้า บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด กล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคแบบ BYO ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการในช่องทางออนพรีมิส พยายามจัดทำโปรโมชั่นต่างๆเช่นเปิดเหล้าแถมมิกเซอร์ เพื่อไม่ให้ลูกค้าหิ้วเหล้าจากข้างนอกเข้าไปดื่มเพื่อเพิ่มยอดขายร้านจะได้ดีขึ้น

ขณะเดียวกันแม้ว่ายอดขายของวิสกี้ ในช่องทางออฟพรีมิสมีถึง 60 % และออนพรีมิส 40% แต่เนื่องจากภาคเหนือมีพฤติกรรมการดื่มในร้านอาทิตย์ละครั้งมีจำนวนมากถึง 40% มากกว่าทุกภาคทั่วประเทศที่มีสัดส่วนเพียง 20% เท่านั้น จึงทำให้การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตในตลาดกลางคืนที่เชียงใหม่กลายเป็นกระแสแรง เนื่องจากกิจกรรมที่จัดขึ้นมีผลกับการตัดสินใจเลือกซื้อแบรนด์ในร้านค้าด้วยเช่นกัน

ในขณะ Pull Strategy นับตั้งแต่เริ่มลอนซ์สินค้า เบนมอร์ก็ขยันออกหมัดอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ และตามมาด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นการทำตลาดที่เข้าถึงทุกช่องทางจำหน่ายเพื่อสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์และคุณภาพของสินค้าที่ได้เหล้า 5 ปี และภาพลักษณ์ที่ส่งผ่านตัวบรรจุภัณฑ์ ให้เข้าไปในใจของนักดื่มกลุ่มอายุ 25 -35 ปี

จากนั้นจึงตามติดด้วย กิจกรรมออนพรีมิสเพื่อสร้างแบรนด์ให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภค และเป็นนโยบายการทำตลาดทั่วประเทศ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนจากจำนวนคอนเสิร์ตที่จัดขึ้น เห็นได้ว่าในพื้นที่เชียงใหม่จะมีจำนวนครั้งมากกว่า เพราะมีลักษณะตลาดที่เหมาะสมกับกิจกรรมลักษณะนี้ โดยมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลายๆรูปแบบเช่น กิจกรรมท้องถิ่นร่วมจัดคอนเสิร์ตในออนพรีมิส โดยมีสื่อโลคอลสนับสนุนเช่น รถแห่ ป้ายบิลบอร์ด หลังจากนั้นก็มีการทำโปรโมชั่นซื้อเหล้าแจกของพรีเมี่ยม 2 ครั้ง ซึ่งทั่วถึงครอบคลุมทั่วประเทศ

ซึ่งก็ทำให้ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา การทำตลาดของเบนมอร์ที่ภาคเหนือมีการเติบโตเกินกว่าเป้าที่วางไว้ 40% โดย 5 อันดับที่เบนมอร์มียอดขายสูงคือ 1. กรุงเทพฯ 2. เชียงใหม่ 3. ขอนแก่น 4.ชลบุรี 5.โคราช

“การเติบโตดังกล่าว เป็นสัดส่วนที่เบนมอร์ได้จากวิสกี้แบรนด์อื่นในเซกเมนท์เดียวกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จขั้นแรก เพราะจากสภาวการณ์แข่งขันทางตลาดในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในทุกช่องทางหน่ายต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งก็แปลว่าผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและเป็นคนดึงสินค้าเอง” ศนิตา คาจิจิ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด กล่าว

อย่างไรก็ตาม เส้นทางเดินที่ริชมอนเด้วางไว้ให้กับเบนมอร์เพื่อเจาะตลาดที่เชียงใหม่นั้น เรียกว่าเป็นพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเป็นหัวเมืองใหญ่ที่มีโอกาสทางการตลาดซึ่งทุกยี่ห้อมุ่งเจาะตลาดเข้าไปให้ได้

นอกจากนั้นยังเป็นการย้อนรอยสูตรสำเร็จที่ค่ายเพอร์นอร์ตเคยทำไว้โดยรุกจากตลาดรอบนอกกรุงเทพฯเข้ามาและครองตลาดอยู่ได้จนปัจจุบัน ซีริล เลอกรองด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาตลาด บริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สภาพตลาดที่เชียงใหม่ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะชื่นชอบการดื่มวิสกี้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงพร้อมที่จะอ้าแขนเปิดรับทุกแบรนด์ที่เข้ามาทำตลาด นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทุกแบรนด์อยากเข้าไป ถ้าทำตลาดประสบความสำเร็จที่นี่ ชัยชนะในพื้นที่อื่นๆก็จะตามมา

แต่การทำตลาดให้ยืนอยู่ในระยะยาวก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเช่นกัน เพราะ แต่แบรนด์ที่จะอยู่รอดได้นาน ต้องเป็นสิ่งที่ชื่นชอบจริงๆ มีในรายละเอียดทั้งด้านรสชาติ คุณภาพ ภาพพจน์ของสินค้า ปัจจุบัน ของฮันเดรด ไพเพอร์ส ยังสามารถครองตลาดได้ทุกจังหวัด ด้วยส่วนแบ่งตลาด 85% จำนวน 3 ล้านลัง

“การมีคู่แข่งหลายรายที่เข้มแข็งในตลาด จะช่วยสร้างการเคลื่อนไหว ความตื่นเต้นให้ตลาด

อย่างไรก็ตาม เพราะเป็นผู้นำตลาด เราต้องไม่ประมาท โดยขณะนี้ได้มีการปรับปรุงป้ายของฮันเดรด ไพเพอร์ส ตามผับบาร์ในย่านบันเทิงที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญต้องรักษาคุณภาพทุกด้าน ทั้งตัวสินค้า และภาพพจน์สินค้า รวมทั้งเป็นพันธมิตรกับวงการต่างๆ และหลายค่ายเพลงที่อยู่แถวหน้า เพื่อจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตระดับประเทศอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยทุกๆเดือน ในระดับที่แตกต่างกันไปเช่นการสนับสนุนคอนเสิร์ตในช่องทางออนพรีมิส หรือเทศกาลงานสงกรานต์ งานลอยกระทง”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us