Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มกราคม 2549
รัฐบาลใช้แบงก์เฉพาะกิจจนเพี้ยน ธอส.ดอกเบี้ยแพงสุด หวั่น ธ.ก.ส.ซ้ำรอย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โฮมเพจ ธนาคารออมสิน

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - ธ.ก.ส.
ธนาคารออมสิน
Banking




รัฐใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเต็มสูบ หลังแบงก์กรุงไทยสะดุด เปิดทางทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ หวั่นหากเกิดปัญหาหนีไม่พ้นเอาเงินภาษีประชาชนอุด ขณะที่โครงสร้างเริ่มเปลี่ยน ธอส.กลายเป็นแบงก์ที่ดอกเบี้ยกู้บ้านลอยตัวสูงสุด ขัดหลักการส่งเสริมคนมีรายได้ปานกลาง-น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เกรงเข้าสูตรยิ่งจนยิ่งจ่ายแพง

ภายใต้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยยุครัฐบาลไทยรักไทย ที่บริหารประเทศในปี 2544 แม้ปีนั้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทำได้เพียง 2.2% ทั้ง ๆ ที่โหมกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจหลากรูปแบบ และเริ่มเห็นผลชัดเมื่อสิ้นปี 2545 เศรษฐกิจโตขึ้นมาเป็น 5.3% ต่อยอดมาถึงปี 2546 ไทยรักไทยดันเศรษฐกิจโตมาได้ถึง 7% ก่อนลดลงมาเล็กน้อยในปี 2547 ที่ 6.2%

ครั้งนั้นนอกจากมาตรการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในประเทศเป็นหลักแล้ว รัฐบาลยังมีกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประสบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วได้แก่สถาบันการเงินของรัฐ อย่างเช่น ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์

ช่วงนั้นการเป็นหนี้ถือเป็นสิ่งที่มีเกียรติ รัฐบาลใช้หลักการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้ ผ่านการให้บริการของสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ที่มาตรการการควบคุมต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ผู้ที่ยังไม่ฟื้นจากพิษเศรษฐกิจ ว่างงาน แผนการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยแก้ปัญหา โดยมีเอสเอ็มอีแบงก์เป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุน

ธนาคารกรุงไทยที่แม้ยังบาดเจ็บจากพิษลอยตัวค่าเงินบาท แต่ด้วยความที่เป็นธนาคารของรัฐ ปัญหาเรื่องหนี้สินต่าง ๆ จึงไม่สาหัสเท่ากับธนาคารพาณิชย์เอกชน แบงก์กรุงไทยจึงถูกใช้เป็นหัวหอกในการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล หรือช่วยเหลือผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่แบงก์อื่นไม่เหลียวแล และเป็นแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นรายแรก ๆ

วิโรจน์ นวลแข ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทยในขณะนั้น ได้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลถึง 1 แสนล้านบาท แต่สุดท้ายก็ต้องประสบปัญหาจากการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย จนทำให้ไม่สามารถต่ออายุกรรมการผู้จัดการใหญ่เทอมที่ 2 ได้

"โชติศักดิ์"ชิ่งรับตำแหน่ง AOT

ในด้านของเอสเอ็มอีแบงก์หลังจากได้โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ ขึ้นตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สามารถให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการได้หลากหลายรูปแบบ ตอบสนองแนวทางของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นธนาคารแห่งปี 2547

แต่หลังจากพรรคไทยรักไทยได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2548 ทิศทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป มุ่งเน้นที่การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจกต์แทน

ดังนั้นโครงการเดิม ๆ ที่เคยถูกลดบทบาทลง คนที่เคยขอสินเชื่อจากเอสเอ็มแบงก์ก็ขอสินเชื่อเพิ่มเติมได้ยากขึ้นกว่าเดิม ตามมาด้วยตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปี 2547 ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องตั้งเพิ่มจากปี 2546 อีกกว่า 45% ซึ่งหลายฝ่ายยังเป็นห่วงสถานะของ SME BANK ในปี 2548 ว่าหนี้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใด ซึ่ง SME BANK เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่าหนี้เสียอยู่ในเกณฑ์สูง

ขณะเดียวกันกรรมการผู้จัดการ SME BANK ก็กำลังเตรียมไปรับตำแหน่งใหม่ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อีกในไม่ช้า จึงเป็นที่จับตากันว่าใครจะก้าวขึ้นมาสานต่อนโยบายต่อจากผู้บริหารเดิม

ตอนนี้บทบาทของ SME BANK ลดลงไปค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากทิศทางของรัฐบาลได้เปลี่ยนไป และธนาคารพาณิชย์อื่นเริ่มลงมาปล่อยสินเชื่อในกลุ่ม SME มากขึ้น ดังนั้นธุรกรรมต่าง ๆ ของธนาคารนี้จึงค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ

ออมสินลูกรัก

เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทยที่ปัจจุบันมีอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ เข้ามาทำหน้าที่บริหาร แต่ธุรกรรมทางด้านสินเชื่อของแบงก์ไม่หวือหวาเช่นในอดีต ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ภาครัฐเปลี่ยนเป้าไปใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) เป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะตามแต่ที่จะได้กำหนดไว้ในกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐเพื่อพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจ ซึ่งทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ระบบเศรษฐกิจ

ธนาคารออมสินถือว่าเป็นธนาคารเฉพาะกิจที่มีบทบาทสูงที่สุดในรัฐบาลไทยรักไทย เนื่องจากได้ปรับเปลี่ยนบทบาทมาดำเนินงานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น มีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าตลาดอย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ที่ลูกค้าของ ธอส.ไหลเข้ามาใช้บริการของแบงก์ออมสินมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ครั้งนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริหารของ ธอส.ถึงเรื่องบทบาทที่ทับซ้อนกัน

แบงก์ออมสินยังปล่อยสินเชื่อประชาชนให้กับพ่อค้าแม่ค้าในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สร้างชื่อเสียงให้กับแบงก์ออมสินเป็นอย่างมากในนามธนาคารประชาชน นอกจากนี้ยังสัญจรไปตามภูมิภาค ปล่อยสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อไทรทอง

ที่ผ่านมาแบงก์ออมสินยังได้รับความไว้วางใจให้หาวิธีการออกสลากออมสินอายุ 5 ปี เพื่อนำเงินที่ได้ไปให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์เตรียมปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล

"ธนาคารออมสินเป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่มีความมั่นคงมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง" ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าว พร้อมทั้งกำชับแบงก์ออมสินให้พร้อมเป็นแหล่งเงินทุนแบงก์รัฐอื่นด้วย

เนื่องจากมีสินทรัพย์รวมประมาณ 6.6 แสนล้านบาทในสิ้นปี 2548 และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณร้อยละ 27.5 นับว่ามีสัดส่วนสูงมากเนื่องจากธนาคารโดยทั่วไปจะมีเงินกองทุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-12 และคาดการณ์ว่าจะมีกำไรในปี 2548 ประมาณ 12,040 ล้านบาท และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ประมาณร้อยละ 4 ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือโครงการธนาคารของรัฐ

ดังนั้นในระยะที่ผ่านมาแบงก์ออมสินจึงได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกำไรที่สูงของนับหมื่นล้านของออมสิน

ธ.ก.ส.เปิดเอกชนถือหุ้น

ไม่ใช่แค่ธนาคารออมสินเท่านั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทในการให้บริการเช่นกัน นอกจากนี้ยังแก้ไขพระราชบัญญัติ ธ.ก.ส. เพื่อเปิดทางเอกชนถือ 25% พร้อมทั้งขยายขอบเขตการให้บริการด้านสินเชื่อ ไม่จำกัดเฉพาะเพียงเกษตรกรเท่านั้น ลูกหลานเกษตรกรก็สามารถใช้บริการของ ธ.ก.ส.ได้ ผู้ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรก็สามารถขอสินเชื่อได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดให้บริการในต่างประเทศอีกด้วย

รับเละทุกเหตุการณ์

แหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวว่า คงไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็รับผิดชอบกับข้อผิดพลาดที่เกิดจากการดำเนินตามนโยบายของรัฐอยู่แล้ว เช่น การมุ่งเน้นปล่อยกู้ของ SME BANK หนี้บัตรเครดิตและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมธนาคารออมสินรับผิดชอบ ธ.ก.ส.รับภาระเรื่องหนี้เกษตรกร

หากเกิดผลเสียขึ้นเงินที่ต้องไปชดเชยต่อธนาคารเฉพาะกิจเหล่านี้ คือ ภาษีอากรของประชาชน และก็ไม่ทราบว่าภาระหนี้เสียดังกล่าวจะระเบิดออกมาในปีใด หากถูกหมกไว้จนมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ถือเป็นโชคร้ายของรัฐบาลใหม่ที่เข้ามา ย่อมต้องมาเร่งแก้ปัญหาที่ค้างคากับธนาคารเฉพาะกิจอีก เพราะไม่ใช่นั้นรัฐบาลใหม่ก็จะไม่มีเครื่องมือที่จะสนับสนุนนโยบายที่จะทำอีกต่อไป

"เรามองว่าที่ผ่านมารัฐเคยใช้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่จะสนับสนุนนโยบายการทำงาน แต่ธนาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องใช้หลักเกณฑ์การปฏิบัติเดียวกับธนาคารพาณิชย์เอกชน ถูกตรวจสอบจากสื่อมวลชนและธนาคารแห่งประเทศไทยง่าย การใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมาเป็นหัวหอกแทนหลังจากเกิดเรื่องขึ้นที่ธนาคารกรุงไทย"

แน่นอนว่าด้วยข้อจำกัดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ไม่สามารถทำธุรกิจได้กว้างขวางเท่าธนาคารพาณิชย์ รัฐจึงต้องแก้กฎเกณฑ์ เพิ่มขอบเขตการทำธุรกิจ ที่เห็นได้ชัดคือธนาคารออมสิน ที่ทุกวันนี้สามารถทำธุรกิจได้ไม่แพ้ธนาคารพาณิชย์เอกชน แถมยังสามารถระดมทุนด้วยต้นทุนต่ำผ่านการออกสลากออมสิน ที่แบงก์อื่น ๆ ไม่สามารถทำได้

ถือว่าแบงก์ออมสินเป็นแบงก์ที่ทำกำไรมากที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กำไรปีนี้ที่ประเมินว่า 1.2 หมื่นล้านบาทนั้นเทียบได้กับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย ในอนาคตแบงก์ออมสินจะเป็นคู่แข่งสำคัญกับธนาคารพาณิชย์เอกชนหากเปิดบริการในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

ธอส.เพี้ยนแล้ว

ใกล้เคียงกับ ธ.ก.ส.ที่สามารถออกสลากได้เช่นเดียวกับธนาคารออมสิน ก็เริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเช่นกัน เฉพาะรับชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ก็สร้างรายได้ให้กับ ธ.ก.ส.มากกว่า 200 ล้านบาทแล้ว ยิ่งเปิดให้บริการสินเชื่อมากขึ้นยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้มากขึ้น

แม้กระทั่งธนาคารอาคารสงเคราะห์ ก็ยังมีการแก้กฎหมายเพื่อให้ ธอส.ปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้

นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่เกือบทุกแห่งสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ อะไรที่ติดขัดรัฐก็แก้กฎหมายให้ เพื่อให้ขยายธุรกรรมได้มากขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความบิดเบี้ยวของธนาคารเฉพาะกิจเหล่านี้ ที่อาจไม่สามารถให้บริการกับฐานลูกค้าเดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกต่อไป

"เราเริ่มเห็นแล้วว่ากรณีของ ธอส. จากการที่ธนาคารมีต้นทุนในการปล่อยสินเชื่อสูง ทำให้ไม่สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำได้ วันนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสำหรับผู้กู้ซื้อบ้านทั่วไปอยู่ที่ 7% สูงที่สุดในระบบ แตกต่างจากอดีตและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธนาคารที่ส่งเสริมให้ผู้มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง"

หรืออย่างธนาคารออมสินที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการออมของประชาชนก็เพิ่มมาเริ่มรณรงค์ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลเตรียมเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ ธ.ก.ส.มุ่งช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรก็เริ่ม แตกไลน์การให้บริการออกไป ยิ่งขยายมากก็ต้องระดมทุนมาก เมื่อต้นทุนทางการเงินสูงก็ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามไปด้วย เมื่อนั้นลูกค้าดั้งเดิมจะกลายเป็นผู้แบกรับในที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us