Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มกราคม 2549
การเมืองชี้ขาดหุ้น IPO ปี 2549 ที่ปรึกษาหวั่นบริษัทเล็กฉุดตลาด             
 


   
search resources

Stock Exchange




สถานการณ์หุ้น IPO ปี 2549 ไม่ต่างจากปีที่แล้ว การเมืองตัวชี้ขาดภาวะ "กระทิง"หรือ"หมี" หวั่นหุ้นใหม่เข้ามามากเกินไปคนจองขายวันแรก เหมือนปี 48 เข้าซื้อขาย 49 ราย เหนือจองแค่ 18 ที่ปรึกษาบางรายสร้างมิติใหม่ร่วมกับเจ้าของดันหุ้นแบ่งกำไร

นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี 2548 มีหุ้นเข้าใหม่ที่เสนอขายต่อประชาชน แล้วเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากถึง 49 บริษัท ในจำนวนนี้พบว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชนครั้งแรกเทียบกับราคาปิดเมื่อ 23 ธันวาคม 2548 มีเพียง 18 บริษัทเท่านั้นที่ราคาสูงกว่าราคาจองซื้อ คิดเป็น 36.73% เท่านั้น ที่เหลืออีกกว่า 63% ราคาต่ำกว่าจองมากน้อยแตกต่างกันไป

แน่นอนว่าราคาหุ้น IPO ที่ร่วงต่ำกว่าจอง ย่อมสร้างความเสียหายให้กับผู้จองซื้อมากบ้างน้อยบ้าง หุ้นบางตัวยิ่งถือนานราคายิ่งไหลลง โดยเฉพาะระยะหลัง ๆ บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินบางแห่งจำใจต้องรับซื้อหุ้นที่ขายไม่หมดไว้เองตามข้อตกลงกับบริษัท

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งระงับการดำเนินการเพื่อเสนอขาย หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับขายหุ้นของบริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ยิ่งทำให้บรรยากาศของหุ้น IPO ยิ่งแย่ลงไปอีก บางบริษัทเปลี่ยนใจเลื่อนไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ปี 2549 แทน

ส่วนบริษัทที่กล้าฝ่าด่านเข้าซื้อขายหลังจากเกิดข่าวร้ายกับ กฟผ. มีถึง 21 บริษัท มีเพียง 5 บริษัทเท่านั้นที่สามารถยืนเหนือราคาจองได้ แยกเป็นฝีมือของบริษัทหลักทรัพย์ภัทร 1 ราย อีก 4 รายที่เหลือเป็นผลงานของบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้

ปี 49 การเมืองชี้ขาด

แหล่งข่าวจากวงการหลักทรัพย์กล่าวว่า ในปีหน้าก็จะมีหุ้นใหม่มาเสนอขายไม่น้อยกว่า 100 บริษัท ส่วนจะเข้าซื้อขายได้ทั้งหมดหรือไม่คงต้องขึ้นกับบรรยากาศในปี 2549 ว่าเอื้ออำนวยหรือไม่ หลายฝ่ายยังเกรงกันในเรื่องตัวเลขเงินเฟ้อที่ 11 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4% ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะสูงกว่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าบางตัวถูกกระทรวงพาณิชย์ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นที่ผ่านมาราคาสินค้าหลายรายการจึงไม่สะท้อนความเป็นจริง

หากเอกชนแบกต้นทุนต่อไปไม่ไหวปรับราคาขึ้น เชื่อว่าตัวเลขเงินเฟ้อคงกระโดดขึ้นอีกพอสมควร เราเป็นห่วงว่าเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแล้วหน่วยงานอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยจะแก้ปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ซึ่งอาจกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคและความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคลและผู้ประกอบการ และก็จะกระทบต่อตลาดหุ้นตามมา

อีกประการหนึ่ง ภาวะการเมืองที่คาดว่าน่าจะเข้มข้นมากขึ้น แม้จะคาดการณ์ลำบาก แต่ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งจะเป็นตัวถ่วงดัชนี ทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่าจะสอดคล้องกับสภาพการณ์และจะช่วยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างไร สถานะทางด้านการคลังจะลดความวิตกเรื่องเงินคงคลังได้อย่างไร ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่หลายฝ่ายกล่าวหากันนั้น รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร

หุ้นเยอะเกินไป

สำหรับหุ้น IPO ปี 2548 ที่ดูไม่ประสบความสำเร็จนัก เขากล่าวว่าสภาพตลาดโดยรวมทิศทางเป็น Side way ทำให้ผู้จองซื้อไม่แน่ใจตลาดจึงขายหุ้นออกมาในวันแรกเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญคือหุ้นที่เข้าซื้อขายในปี 2548 ส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดเล็ก กระจายกันในทุก Sector ไม่มีหุ้นแม้เหล็กเข้ามา ดังนั้นผู้ที่จองซื้อหุ้นส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนในประเทศเป็นหลัก และเป็นรายย่อยค่อนข้างมาก ทำให้มีความอดทนในการถือหุ้นไม่เกิน 1 วัน

ที่ปรึกษาทางการเงินกล่าวว่า มาตรการทางภาษีถือเป็นแรงจูงใจหลักให้บริษัทต่าง ๆ ต้องการเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสิทธิประโยชน์นี้ภาครัฐต่ออายุให้ถึงปี 2549 ทำให้มีบริษัทจำนวนมากต้องการได้สิทธิประโยชน์นี้ อีกทั้งการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ช่วยสร้างความภูมิใจให้กับเจ้าของบริษัท

"ต้องยอมรับว่าปี 2548 มีบริษัทจดทะเบียนเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์มากเกินไป บริษัทขนาดใหญ่มีเข้ามาน้อย หุ้นแม่เหล็กอย่าง กฟผ. ก็ยังไม่สามารถเข้าทำการซื้อขายได้ ที่สำคัญภาวะเศรษฐกิจและการเมืองไม่เอื้ออำนวย ทำให้หุ้นส่วนใหญ่ราคาต่ำกว่าจอง"

แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะมี Green Shoe เพื่อประคองราคาหุ้น แต่เมื่อมีแรงเทขายออกมามากก็ไม่สามารถพยุงราคาต่อไปได้ หุ้นจึงต่ำกว่าราคาจองกันเป็นส่วนใหญ่

กรณีของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ที่บริษัทหลักทรัพย์ภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้น ในวันแรกราคาก็ต่ำกว่าจอง(4.10 บาท) เช่นกัน แต่เนื่องจากผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบัน จึงทำให้แรงขายออกมาไม่มากนักและสุดท้ายราคาหุ้นก็ขยับขึ้นมาได้

สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องการตั้งราคาไม่เหมาะสมนั้นคงไม่สามารถตอบแทนที่ปรึกษาทางการเงินรายอื่นได้ แต่ยอมรับว่ามีบางรายที่ตั้งราคาขายสูงเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่ปรึกษาทางการเงินต้องกำหนดราคาให้เป็นที่พอใจต่อเจ้าของบริษัทและต้องคำนึงถึงผู้ซื้อด้วย นั่นคือราคาต้องไม่สูงหรือต่ำเกินไป ส่วนใหญ่จะคิดส่วนลดของราคาที่ประมาณ 15-20%

หุ้นที่ราคาลดลงค่อนข้างมากส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มเหล็ก ส่วนหนึ่งเกิดจากในปี 2547 ราคาเหล็กปรับขึ้นไปมาก ทำให้หลายบริษัทต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในปี 2548 ราคาเหล็กลดลงไปมาก โดยเฉพาะกำลังซื้อจากจีนที่ลดลงไปมาก แต่ก็มีบริษัทเหล็กบางแห่งที่ราคาสามารถยืนเหนือจองได้

ไขปริศนาเหนือจอง

สำหรับหุ้น IPO ที่ราคายืนเหนือราคาจองได้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพื้นฐานของบริษัทนั้นดี มียอดขายและลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอนาคต หรือมีคู่แข่งน้อยเช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล

อีกกรณีหนึ่งถือเป็นความร่วมมือกันระหว่างเจ้าของบริษัทกับผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน อาจจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเองหรือเป็นบริษัทจากภายนอกก็ได้ โดยเป็นการทำราคาหุ้นให้สูงขึ้นระยะหนึ่ง จนนักลงทุนรายอื่น ๆ เข้ามาเล่นตามจากนั้นจึงทำการขายหุ้นออกมา

แม้วิธีการนี้อาจจะไม่เหมาะสมนัก แต่ก็สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นและผู้เชี่ยวชาญทางการเงินไม่น้อย ส่วนจะแบ่งผลตอบแทนกันอย่างไรคงต้องขึ้นกับข้อตกลงระหว่างกัน ถามว่านักลงทุนที่เข้าไปเล่นรู้หรือไม่ว่าหุ้นประเภทนี้อันตราย ทุกคนรู้ แต่ด้วยความอยากรวย คิดว่าตัวเองออกทันก่อนรายใหญ่ทิ้งก็มักจะเจ็บตัวอยู่เสมอ

ฉกลูกค้าต่อหน้าต่อตา

ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นแกว่งตัว ทำให้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมไม่ดีนัก อีกทั้งโบรกเกอร์ที่เกิดใหม่ต่างเร่งหาลูกค้ากันทุกรูปแบบ งานด้านที่ปรึกษาทางการเงินก็มีบริษัททั่วไปเข้ามารับงานแข่ง ดังนั้นโบรกเกอร์บางแห่งจึงรับลูกค้าทุกรายที่เข้ามาแม้บางครั้งรายได้จะน้อย แต่พวกเขาก็ต้องเน้นที่ปริมาณเป็นหลัก หากยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่ดีพอก็อาจถึงขั้นที่ต้องแย่งชิงลูกค้ากันซึ่ง ๆ หน้า ด้วยการเสนอผลตอบแทนให้กับเจ้าของบริษัทที่ดีกว่า

"ไม่ต้องถามในเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจ เพราะวงการนี้มีเป้าของกำไรเป็นที่ตั้ง ลำพังแค่ค่าธรรมเนียมจากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินอาจจะไม่มากพอ การเข้าร่วมกับผู้บริหารดูแลราคาหุ้นเข้าใหม่แล้วแบ่งประโยชน์ร่วมกันถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่นิยมใช้กันในบางโบรกเกอร์"

ทั้งนี้คงไม่ใช่ทุกบริษัทที่ทำ เพราะนโยบายของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน บางบริษัทในปี 2548 ก็ไม่มีลูกค้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เลย พวกนี้เน้นที่ลูกค้ารายใหญ่ ถ้าดีลสำเร็จแค่ 2-3 รายก็คุ้มค่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us