Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
"อินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง" ขุมทองใหม่ของลอจิก             
 


   
search resources

ลอจิก
บุญชัย พัฒนธนานนท์
Electronic Banking




รับประกันได้ว่า ธุรกิจธนาคารกับอินเตอร์เน็ต จะแนบแน่นกันจนกลายเป็น RETAIL BANKING ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้

มีการสำรวจกันมาแล้วว่า ผู้ใช้ที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตมีอยู่ประมาณ 10 ล้านคนนี่จึงเป็นตลาดใหญ่ที่ต้องเอาใจใส่มากๆ ทีเดียว ในยุคที่ธนาคารจำต้องวิ่งไปหาลูกค้า

จากยุคการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำการประมวลผลที่ศูนย์กลาง สู่ระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ ในช่วงระยะเวลาสองปีนี้ ธนาคารไทยกำลังอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อลดต้นทุน ในขณะที่บริการลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ในไทยความนิยม INTERNET BANKING ช่วงปีแรกคงจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะลูกค้าคงกังวลเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล แต่ในขอบเขตทั่วโลกคาดกันว่า ในปี ค.ศ. 2000 การซื้อขายที่จะเกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะสูงถึง 5,000 ล้านบาท โดยที่การใช้สอยโดยส่วนใหญ่จะเป็นยอดเงินจำนวนไม่มากนัก ประมาณว่าไม่เกิน 250 บาท ในแต่ละรายการ

INTERNET BANKING ก็คือ ประเภทหนึ่งของสิ่งที่เรียกกันว่า ELECTRONICS BANKING ซึ่งที่แล้วมามักจะเป็นระบบออนไลน์ แม้จะเป็นความก้าวหน้า แต่ในยุคนี้ที่แต่ละธนาคารต้องบริหารต้นทุนกันหนักหน่วง เครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเตอร์เน็ต ย่อมจะช่วยลดต้นทุนได้มากกว่า เพราะทางธนาคารไม่ต้องลงทุนสร้างเครือข่ายเพียงแต่ลงทุนในเรื่องโซลูชั่นที่จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และการสร้างระบบรักษาความปลอดภัย

บุญชัย พัฒนธนานนท์ ผู้จัดการส่วน INTERNET SYSTEM INTEGRATION (SIS) ของบริษัทลอจก ให้ความเห็นว่า "ถ้าเป็นอินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง ลูกค้าก็เชื่อมต่อเข้ากับไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นก็เชื่อมต่อมาที่ธนาคาร ทำให้ธนาคารไม่ต้องลงทุนด้านเครือข่ายคือต่อสายไปยังสาขาต่าง ๆ ผมคิดว่าประหยัดต้นทุนกว่าเป็น 10 เท่า ส่วนลูกค้าเข้าเพียงเวบไซต์เดียว ก็ติดต่อได้กับทุกธนาคาร"

อย่าว่าแต่ระบบออนไลน์ของธนาคารที่เข้าถึงลูกค้าได้น้อยกว่าอินเตอร์เน็ต แม้แต่ระบบ EDI หรือการแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจทางอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งยังไม่ค่อยได้ผลมากนัก ด้านหนึ่งก็เป็นเพราะว่าต้องมีการต่อสายโทรศัพท์ไปยังองค์กรต่าง ๆ ทำให้สิ้นเปลืองการลงทุนมาก

สามธนาคารใหญ่ที่กำลังอยู่ในขั้นศึกษา เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต แบงกิ้งก็คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย คาดว่าจะให้บริการได้ต้นปีหน้า โดยผู้ที่วางระบบก็คือ ลอจิก

นี่เป็นตลาดใหม่ของลอจิกโดยแท้เพราะที่แล้วมาตลาดในการขายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ยี่ห้อ ซัน ไมโครซิสเต็มส์จะอยู่ตามสถาบันการศึกษา และวิสาหกิจต่าง ๆ มากกว่าตลาดธนาคารซึ่งไอบีเอ็มสหวิริยา ช่วงชิงยอดขายกันอย่างหนักมือ

การที่ธนาคารเห็นประโยชน์ของการเงินบนอินเตอร์เน็ต นับว่าเป็นการเปิดโอกาสทองให้กับลอจิกที่ชำนาญในเรื่องเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ และเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

สามองค์ประกอบนี้ ทำให้มีแต้มต่อ

"ธุรกิจของธนาคารมีมูลค่ามหาศาล เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องหาคนที่เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันข้อมูล ก่อนที่จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และให้บริการด้วยความปลอดภัย"

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมในการนำมาสร้างแอพพลิเคชั่นด้านเครือข่ายภายในที่เรียกว่า อินทราเน็ต โดยอาศัยโปรแกรมป้องกันการเข้ามาล้วงข้อมูลจากภายนอกที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ จึงหมายถึงว่าลูกค้าจะสามารถสื่อสารกับธนาคารเพื่อสอบถามยอดเงิน โอนเงิน แต่ไม่สามารถที่จะเจาะข้อมูลต่างๆ ของธนาคารได้

ระหว่างสื่อสารก็จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นการเข้ารหัส ด้วยเหตุนี้ผู้อื่นนอกจากเจ้าของบัญชี จึงไม่สามารถอ่านข้อมูลได้

"คนจะกลัวในเรื่องการใช้บัตรเครดิต เพราะไม่ปลอดภัย แต่อินเตอร์เน็ตทำให้ถอนเงินได้จริงๆ มีการเข้ารหัสข้อมูลให้มีความปลอดภัย ในเรื่องนี้ที่อเมริกามีมาตรฐานอยู่ที่ 56 บิต โดยทั่วไป 40 บิต แต่สำหรับอินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง ที่ใช้เทคโนโลยีจาวาเข้ารหัสข้อมูลได้ถึงประมาณ 120 บิต หากจะแอบดูข้อมูล ต้องใช้เวลาถอดรหัสกันชั่วชีวิตทีเดียว" บุญชัยกล่าว เหมือนจะเย้ยขุนโจรอัจฉริยะที่เพ่นพ่านตามเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ

อันที่จริง ในเรื่องการถอนเงินทางตู้ ATM ทางธนาคารก็ต้องอาศัยการเข้ารหัสข้อมูล มิเช่นนั้น ผู้อื่นก็ลักลอบใช้เอทีเอ็มของลูกค้าธนาคาร หรือโอนเงินในบัญชีต่างๆ ได้อย่างสบาย

ในการบุกตลาดทางด้านนี้ ซึ่งเป็นการขายแบบโซลูชั่น รายได้ของลอจิกก็คือ หารายได้จากการขายเซิร์ฟเวอร์ และการวางระบบ ทั้งนี้โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นของบริษัท FICS หรือ FINANCIAL INFORMATION CONSULTING SERVICE อย่างไรก็ดี ลอจิกมิได้ผูกติดอยู่กับ FICS เท่านั้น หากทางธนาคารมีโซลูชั่นอื่นๆ อยู่แล้ว ทางลอจิกก็ยินดีวางระบบให้

"แบงก์กรุงเทพอาจชอบระบบหนึ่ง กรุงไทยอาจชอบอีกระบบหนึ่ง เราก็สามารถวางระบบให้ได้ บริษัท เช่น FICS เชี่ยวชาญทางแอพพลิเคชั่น แต่ยังขาดความสามารถในการวางระบบ เราจึงต้องก้าวไปด้วยกัน แต่ก็ไม่จำกัดตนเอง" บุญชัยกล่าว

ต้องยอมรับว่า เครื่องเมนเฟรมครองธนาคารมานาน แต่เดี๋ยวนี้ในต่างประเทศเริ่มไปสู่ อินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง กันเป็นทิวแถว

ขุมทองของลอจิกจึงเด่นชัดขึ้นทุกวัน นี่เป็นสิ่งที่บุญชัยหมายมั่นปั้นมืออย่างบันเทิงใจ เพราะการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตนั้นก็ย่อมหนีไม่พ้นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และลอจิกในฐานะคู่ค้าของซันก็ชำนาญในเรื่องนี้อยู่แล้ว

ในขอบเขตทั่วโลกมีธนาคารไม่ต่ำกว่า 500 ราย ที่เริ่มสร้างโฮมเพจไว้บนเวบโซต์ทั้งบางแห่งยังพยายามสร้างบริการของธนาคารทั้งหมดไว้บนโฮมเพจและเปิดให้บริการแล้วคือ Security First Network Bank, The Salem Five Cents Bank, The Apollo Trust Company, Great Southern Bank, Advance Internet Banking

ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็น Brokerage House และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น เครดิตยูเนี่ยน กำลังวางแผนที่จะกระโดดเข้าไปทำธุรกิจ โดยร่วมมือกับไมโครซอฟท์

นี่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อธนาคาร หากล่าช้าในเรื่องอินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง แต่ก็เชื่อว่าธนาคารไทยคงไม่รอช้าต่อไปอีกแล้ว ลองคิดดู หากธนาคารจัดทำโฮมเพจเพื่อให้บริการ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างสาขามากมายนักซึ่ง ทำให้สิ้นเปลืองค่าก่อสร้าง และค่าจ้างบุคลากรอย่างมาก

เดี๋ยวก็ต้องมานั่งวางแผนปลดพนักงานกันอีก!

อีกเรื่องหนึ่งคือ อินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง มีข้อดีกว่า HOME BANKING คือไม่ต้องสิ้นเปลืองในการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ในการติดต่อกับธนาคารในระบบออนไลน์การพัฒนา โฮม แบงกิ้ง ทำให้ธนาคารต้องอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าอยู่เรื่อยๆ

ทางด้านอินเตอร์เน็ตแบงกิ้งนั้น ไม่ว่าธนาคารจะพัฒนารูปแบบของโฮมเพจอย่างไร ลูกค้าก็สามารถติดต่อได้ด้วยซอฟต์แวร์นำทางหรือเบราเซอร์ จึงทำให้ธนาคารสามารถเพิ่มเติมบริการได้โดยง่าย

ปีหน้า หากใครมีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง ของธนาคารไทย ฝีมือวางระบบรักษาความปลอดภัยของลอจิกคงเป็นหลักประกันได้พอควร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us