Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 มกราคม 2549
หุ้นน้องใหม่เอ็มเอไอปี48หลุดจองเพียบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ - MAI
Stock Exchange




หุ้นน้องใหม่ตบเท้า เข้าเทรดในตลาด mai พบส่วนใหญ่ เทรดวันแรกราคาต่ำกว่าจอง โดยเฉพาะหุ้นที่เข้าเทรดเดือนธันวาคมที่ภาวะตลาดค่อนข้างผันผวนและซบเซา โบรกเกอร์มองเหตุจากนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูทิศทาง ปีหน้า ขณะที่เป้าหมายดึงบริษัทจดทะเบียนพลาดเป้าที่ตั้งไว้ 40 บริษัท เหตุมีบริษัทเข้าจดทะเบียนจริงแค่ 14 บริษัท

ปี 2548 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มีการต้อน รับหุ้นน้องใหม่ที่เดินหน้าเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ค่อนข้างคึก แม้จะผิดเป้าไปเกินครึ่ง ส่วนใหญ่ที่ผลักดันให้เข้าเทรดในปีนี้ให้ได้ เพราะหวังจะได้ประโยชน์ทางภาษีที่รัฐให้ส่วนลดภาษีจ่ายเหลือเพียง 20% จึงพบว่าหลายบริษัทเร่งตัวเองเพื่อให้ทันเทรดในปีนี้ โดยเฉพาะช่วงก่อนสิ้นศักราช

อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีแรกมีบริษัทน้องใหม่ที่เข้ามาเทรดน้อย แต่ช่วงปลายปีกลับพบว่ามีหลายแห่งที่เบียดกันเข้ามาเทรดส่งท้ายปี เรียกว่าทำให้ตลาดคึกคักไปเลยโดยเฉพาะเดือนสุดท้ายของปี ซึ่งก็ยังพลาดเป้าของผู้บริหารที่ตั้งไว้แต่ต้น เพราะแต่เดิมคือ 100 บริษัท แต่สุดท้ายก็ผิดแผนเพราะหลังจากผ่านไป ครึ่งปีก็พบว่ามีบริษัทเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น เป้าเดิมจึงแต่ค่อยๆ ปรับเป้าลดลงจนกระทั่งเหลือเพียง 40 บริษัทเท่านั้น ส่วนหนึ่งเพราะสภาพของความผันผวนของตลาด และยังได้ ถูกรุมเร้าจากผลกระทบภายนอกรอบด้านอื่นๆ ทั้งค่าเงิน ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มต่อเนื่อง ตลอดจนการแปรรูป ของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ยังถูกคัดค้านต่อเนื่อง ท้ายที่สุดแล้วพบว่าเข้าเทรด ได้จริงในปีนี้ 14 ส่งผลให้ปัจจุบันหุ้นในตลาดmai นี้มี 37 บริษัท

สำหรับบริษัทแรกที่เข้ามาเปิดศักราชใหม่ 2548 คือ บริษัท ซี ไอ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) (CIG) ที่เข้ามา เทรดวันแรก 27 มกราคม หลังจากขายหุ้นเพิ่มทุนให้ประชาชนทั่วไปแล้ว 45 ล้านหุ้น พาร์ละ 1 บาท แบ่งเป็นขาย ให้แก่ ประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวน 41 ล้านหุ้น และที่เหลืออีก 4 ล้านหุ้น จะเสนอขายให้แก่พนักงานและผู้บริหารของบริษัทคิด เป็นสัดส่วน 27.27% ของทุนจดทะเบียน เปิดขายเมื่อ18-20 มกราคม 48

โดยเปิดตลาดที่ราคา 3.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.35 บาท หรือเพิ่มขึ้น 12.72% จากราคาจองที่ 2.75 บาท ซึ่งปรับตัวสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 3.36 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 2.98 และกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 3.36 เพิ่มขึ้น 61 สตางค์ หรือ 22.18 มูลค่าการซื้อขาย 366.96 ล้านบาท

ตามด้วยหุ้น CPR หรือบริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด (มหาชน) ที่เข้าเทรดเมื่อ 17 มีนาคม เป็นวันแรก จำนวน 55 ล้านหุ้น ราคา จอง 2.10 บาท และ CPR ก็ไม่ทำ ให้นักลงทุนที่จองซื้อหุ้นผิดหวัง เพราะเข้าเทรดวันแรกพบว่าเปิดตลาด มาที่ 2.44 บาทก่อนปิดที่ 3.38 บาท หรือเพิ่มขึ้น 60.95% จากราคาจอง

ต่อมาคือหุ้น SALEE ของบริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด(มหาชน) เป็น บริษัทแรกที่เข้ามาเทรดในตลาดนี้ เมื่อ 28 เมษายน และเปิดเทรดวันแรกราคาทะยานไปที่ 3.20 บาท และปิดที่ราคา 3.56 บาท เพิ่มขึ้น 67 สตางค์ หรือ 23.18% จากราคาจอง

S2 Y หรือบริษัท สยามทูยู จำกัด(มหาชน) เข้ามาเทรดเมื่อ 4 พฤษภาคม หลังจากขายหุ้นเพิ่มทุน 40.93 ล้านหุ้น ราคาจอง 7 บาท โดยเทรดวันแรกพบว่าราคาหุ้นเปิดที่ 9 บาท และปิดที่ 7.55 บาท เพิ่มขึ้น 55 สตางค์ คิดเป็น 7.85% จากราคาจอง

ตามด้วย STAR ของบริษัท สตาร์ทานิทารีแวร์ จำกัด(มหาชน) เข้า มาซื้อวันขายวันแรกเมื่อ 15 กันยายน หลังจากเปิดให้นักลงทุนทั่วไปจองซื้อ 32.50 ล้านหุ้น ที่ราคา 3.50 บาท และขายให้กรรมการและพนักงาน 3.5 ล้านหุ้น ที่ราคา 2.60 บาท โดยเทรดวันแรกพบว่า STAR เปิดตลาดที่ 3.80 บาท ก่อนปิดที่ 3.22 บาท ลดลง 28 สตางค์หรือ 8% จากราคาจอง

หลังจากนั้นก็พบว่าห่างไประยะหนึ่ง มีก็หุ้นที่เบียดกันเสนอขาย หุ้น IPO เป็นการปิดท้ายปีเก่า โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปีและสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะหมด ซึ่งบริษัทที่เร่งเข้ามาช่วงท้ายส่วนใหญ่ต้องการได้อานิสงส์จากเรื่องนี้เป็นสำคัญ
หุ้น UEC ของบริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ก็เข้ามาเทรดเมื่อ 25 พฤศจิกายน หลังจากที่ขายหุ้นเพิ่มทุน 43 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.07 ของทุนจดทะเบียนหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยขายให้แก่ประชาชนทั่วไป 40 ล้านหุ้นที่ราคาจอง 8.10 บาท และพนักงานของบริษัท 3 ล้านหุ้น ซึ่งราคาจองคือ 6.07 บาท

โดยเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่คึกคักมาก เพราะมีหุ้นเรียงหน้าเข้ามา เทรดกันมากที่สุด โดยส่วนใหญ่หุ้นที่เร่งเข้าช่วงก่อนสิ้นปีนี้ เพราะหวังจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นสำคัญ โดย TPAC บริษัท พลาสติกและหีบห่อไทย จำกัด (มหาชน) เข้ามาซื้อขายเมื่อ 7 ธันวาคม ด้วยการกระจาย 20 ล้านหุ้น จองที่ 2.80 บาท โดยเทรดวันแรกเปิดตลาดมาที่ 2.90 บาท และปิดที่ 2.68 บาท ลดลง 0.12 บาทหรือ 4.40% จากราคาจอง

ตามด้วย PR 124 ของบริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด(มหาชน) เข้าเทรด 8 ธันวาคม หลังจากขายหุ้นเพิ่มทุน 9 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 7.10 บาท โดยเข้าเทรดวันแรกเปิดตลาดมาที่ 7.40 บาท และปิดที่ 7.20 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 10 สตางค์ หรือ 1.23% จากราคาจอง ซึ่ง PR 124 ไม่ได้ต้องการเงินเป็นสำคัญ แต่ต้องการยกระดับบริษัทให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป อันจะทำให้ง่ายต่อการทำงานและติดต่องานของบริษัท

ส่วน KASET ของบริษัท ไทยฮา จำกัด(มหาชน) ก็เทรดในวันถัดมา คือ 9 ธันวาคม หลังขายหุ้นเพิ่มทุน 45 ล้านหุ้นให้แกˆประชาชนทั่วไป 40 ล้านหุ้น และขายให้กรรมการและพนักงานของบริษัท 5 ล้านหุ้น ราคาจองที่ 1.20 บาท โดย KASET เทรด วันแรกพบว่าคึกคักพอสมควรและปิด ตลาดเหนือราคาจองที่ 1.29 บาท เพิ่ม ขึ้น 7.50%

ตามด้วย หุ้น ACAP ของบริษัท บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นอีกตัวที่เข้ามาเทรดในตลาด mai นี้ เมื่อ 14 ธันวาคม โดยเปิดตลาดมาสวยงามด้วยราคา 7.70 บาท ขณะที่ราคาจองอยู่ที่ 7 บาท แต่เมื่อปิดตลาดก็ไปไม่ถึงฝัน ปิดตลาดราคาลดลงมาอยู่ที่ 6.80 บาท หรือลดลง 20 สตางค์ คิดเป็นการลดลง 2.85%

หุ้น ของบริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน) (TNH) ถือเป็นธุรกิจการแพทย์ตัวแรกที่เข้ามา ซื้อขายในตลาด mai นี้ เมื่อ 16 ธันวาคม โดย TNH เสนอขายหุ้นเพิ่ม ทุน 30 ล้านหุ้นให้แกˆประชาชนทั่วไปที่ราคาจองหุ้นละ 1.75 บาท

โดยราคาหุ้น TNH ที่เข้าซื้อขาย ในตลาด mai เป็นวันแรก เปิดมาที่ระดับ 1.86 บาทสูงกว่าราคาจองที่กำหนดไว้หุ้นละ 1.75 บาทหลังจากนั้นราคาก็ปรับตัวขึ้นมาสูงสุดที่ระดับ 1.88 บาทต่อมาก็มีแรงเทขายทำกำไรออกมาจนทำให้ราคาอ่อนตัวลงมา ซึ่ง ตลอดทั้งวันพบว่าราคาหุ้นไม่ได้เปลี่ยน แปลงมากนักแต่ก็ยังยืนเหนือระดับราคาจอง ก่อนมาปิดตลาดที่ระดับ 1.78 บาทเพิ่มขึ้น 0.03 บาท บาทหรือ 1.71% มูลค่าการซื้อขาย 63.03 ล้านบาท

สำหรับ บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด(มหาชน) (STEEL) เป็น อีกตัวหนึ่งที่เข้าเทรดใน mai ก่อนสิ้นปี เพียงสัปดาห์เดียว เมื่อ 20 ธันวาคม หลังจากขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปเมื่อต้นเดือนเดียวกัน โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ STEEL จะนำ ไปใช้ในการลงทุนขยายและปรับปรุงโรงงาน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป และซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ใช้คืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

โดยราคาหุ้น STEEL ที่เปิดเทรดวันแรก) เปิดตลาดมาค่อนข้างสดใส โดยเปิดที่ 3.40 บาท ปรับขึ้นไปสูงสุดระหว่างวันที่ราคา 3.84 บาท ก่อนจะค่อยๆ ปรับลดลงต่ำสุดไปอยู่ที่ 2.50 บาทและปิดตลาดที่ 2.56 บาท มูลค่าซื้อขาย 207.79 ล้านบาท หรือลดลง 34 สตางค์ คิดเป็น 11.72% เรียกว่าเข้ามาเทรดปลายปีหวุดหวิดราคาหุ้นก็ซวนเซ

สำหรับ บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (TRC) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai วันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 30 ล้านหุ้นาคาจองที่ 1.70 บาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน สำหรับรองรับการเติบโต ของบริษัทฯ
โดยหุ้น TRC เทรดวันแรก 22 ธันวาคมพบว่าราคาหุ้นเปิดตลาดมาที่ระดับ 1.72 บาท สูงกว่าราคาจองที่ 1.70 บาท ก่อนที่ราคาจะทะยานไปสูงสุดของวัน ที่ 1.74 บาท และต่ำสุด ที่ราคา 1.41 บาท ก่อนกลับมาปิดที่ราคา 1.42 บาท ลดลง 0.28 บาท คิดเป็น 16.47% มูลค่าซื้อขาย 43.83 ล้านบาท

ขณะที่บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) (PYLON) ก็เข้าเทรดปิดท้าย 23 ธันวาคม โดยเสนอขายหุ้น IPO 35 ล้านหุ้น ขณะที่มีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท พาร์ละ 1 บาท

โดยบรรยากาศเทรดวันแรกของ PYLON พบว่า เปิดการซื้อขายที่ 2.70 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาเสนอขายให้แกˆประชาชนทั่วไปที่หุ้นละ 2.86 บาท และปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไปทำราคาสูงสุดที่ 2.72 บาท และต่ำสุดที่ 2.32 บาท ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 2.38 บาท มูลค่าการซื้อขายรวม 45.16 ล้านบาท

ขณะที่การซื้อขายในช่วงบ่าย ราคาหุ้นยังคงปรับตัวซื้อขายอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาจอง และจะปิดการซื้อขายที่ 2.32 บาท ต่ำกว่าราคาจอง 0.54 บาท หรือคิดเป็น 18.88% ปริมาณการซื้อขาย 23,886,200 หุ้น คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 59.28 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us