Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 มกราคม 2549
อุตสาหกรรมไทยปีจอหืดจับ แบกต้นทุนเพิ่ม-แข่งขันเดือด             
 


   
search resources

Industry
Commercial and business




ปี 2549 หรือปีจอถือเป็นปีที่ดุเดือดอีกปีหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมไทย เพราะยังคงต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งสะท้อนได้จากผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมซึ่งจัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ที่ผู้ประกอบการต่างก็ยังคงวิตกเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญๆ ที่จะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้ว่ารัฐบาลจะประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในระดับ 4.5-5% ก็ตาม โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการวิตกกังวลในปี 2549 มีดังนี้

1.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีทิศทางที่จะปรับเพิ่มขึ้น อย่างแน่นอนในปี 2549 ซึ่งจะส่งผลต่อกิจการ เนื่องจาก ผู้ประกอบการต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้น และทำให้การบริโภคสินค้าแบบผ่อนชำระของประชาชนลดลง

2.ราคาน้ำมันที่แม้ว่าทิศทางของราคาน้ำมันตลาดโลกช่วงปลายปีจะมีสัญญาณราคาที่แผ่วลงมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางปี และในปี 2549 หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าทิศทางไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่าปี 2548 แต่ก็ยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไป ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งมีการปรับตัวรับมือกับต้นทุนไปแล้วระดับหนึ่ง แต่ภาระต้นทุนที่แบกรับในช่วงปี 2548 ยังคงไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ครอบคลุมกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งต้องประเมินต้นทุนในปี 2549 เพื่อนำมาปรับราคาสินค้าอีกครั้งอย่างแน่นอน และต้นทุนรวมจากภาวะน้ำมัน และค่าไฟฟ้ายังคงเป็นขาขึ้นอยู่

3. ต้นทุนที่มีทิศทางโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปัจจัย อื่นๆ นอกเหนือจากน้ำมันและค่าไฟแล้ว ยังคงเป็นปัญหาของวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะน้ำมันแพง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเหล็ก พลาสติก สินแร่ต่างๆ เป็นต้น

4. แรงซื้อในประเทศที่คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนได้รับผลกระทบจากปัจจัยราคาน้ำมันราคาสินค้าที่แพงขึ้น ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนภาพรวมยังคงสูงต่อเนื่องทำให้ประชาชนเริ่มประหยัดเงินในการใช้จ่ายสินค้าลง และแน่นอนว่าภาพรวมสินค้าที่จะได้รับผลกระทบลำดับแรกคือสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยและสินค้าอื่นๆ ที่ตามมาก็จะลดการบริโภคตามไปด้วยในที่สุด

5.สินค้าราคาถูกจากจีนเข้ามาแข่งขันและตีตลาดสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชทางการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสินค้าจากจีนมีราคาที่ต่ำมาก โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกิดปัญหา ว่าราคาต่ำและมาตรฐานสินค้ายังไม่ดีนักทำให้อุตสาหกรรมไทยมีการแข่งขันที่ลำบากมากขึ้น

6. เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งจากการประมาณการพบว่าเศรษฐกิจของโลกภาพรวมเฉลี่ยจะมีการขยายตัวในลักษณะแบบชะลอตัวลงซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาวะการส่งออกของไทยระดับหนึ่ง โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจสหภาพยุโรปหรืออียู และสหรัฐฯชะลอตัวลง
ปัจจัยทั้งหมดทำให้อุตสาหกรรมไทยภาพรวมจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและพบกับภาวะการแข่งขันที่สูงทั้งจากสินค้าต้นทุนต่ำจากประเทศจีน รวมไปถึงการ เปิดเสรีภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่รัฐบาลดำเนินการกับประเทศต่างๆ ไว้ทำให้สินค้าจาก ต่างประเทศเริ่มไหลสู่ประตูไทยมากขึ้น ดังนั้น หากภาคอุตสาหกรรมไทยยังไม่ปรับตัวท้ายสุดก็จะหนีไม่ พ้นกับการต้องเปลี่ยนกิจการ

อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่ กำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมไทยโดยตรง ได้คาดการณ์ ถึงการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับ ส.อ.ท. ถึงแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในปี 2549 จะอยู่ที่ 7% แต่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่ายังมีแนวทางที่รัฐบาลจะผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้คือ 7% มาเป็น 8.5% ได้ซึ่งจะทำให้ GDP ภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2 แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เป้าหมายที่จะให้โต 8.5% อยู่ภายใต้เงื่อนไข ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องเร่งเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนในการหาช่องทางในการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง ซึ่งเป้าหมายการส่งออก ของสินค้าอุตสาหกรรมไว้ที่ 25% หรือมีมูลค่าส่งออก ประมาณ 4.1 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้น จากมูลค่าการส่งออกประมาณ 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2547 โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีอัตราการส่งออกสูงได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อาหารแช่แข็ง ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ยาง

จับทิศ SMEs ไทยยังลำบาก

สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ของไทยในปี 2549 พบว่ายังคงมีแนวโน้มที่ลำบากอยู่เนื่องจากภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งการเงินที่ดอกเบี้ย เงินกู้มีทิศทางสูงขึ้น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง วัตถุดิบต่างๆ ซึ่ง SMEs ไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาเรื่องระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพราะยังคงเป็นระบบบริหารแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ สายป่านทางการเงินไม่ยาว

นอกจากนี้ SMEs ไทยยังต้องเผชิญกับสินค้า นำเข้าโดยเฉพาะจากจีนที่ขณะนี้มีต้นทุนต่ำอย่างมากเข้ามาตีราคาจนทำให้ SMEs ไทยที่ผลิตสินค้าระดับล่างจำนวนมากต้องล้มหายตายจากไปพอสมควร และหันไปเป็นผู้นำเข้ามาจำหน่าย แทนจำนวนไม่น้อย ดังนั้น SMEs ไทยในระยะยาวที่จะอยู่รอดแล้ว คงจะต้องหันไปผลิตสินค้าระดับ บน รวมไปถึงการผลิตชิ้นส่วนที่จะป้อนให้กับผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้นซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาล จะต้องคำนึงถึงการย้ายฐานการผลิตของต่างประเทศที่ระยะหลังมีการพ่วงเอาบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วน เข้ามาจำนวนมากแทนที่จะหันไป ส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศที่มีอยู่แทน

ภาพรวมในปี 2549 ทิศทางอุตสาหกรรมจะสดใสหรือไม่คงอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวรองรับกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียง ใดเป็นสำคัญด้วย ขณะเดียวกันนโยบายจากภาครัฐก็ถือเป็นกลไกที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเดินไปในทิศทางใดกันแน่ โดยการทำ FTA ยังคงเป็นดาบสองคมจำเป็นที่ภาครัฐควรมอง ภาพรวมและต้องทำรายละเอียดว่าอุตสาหกรรมใดได้เปรียบ-เสียเปรียบ และหามาตรการรองรับว่าจะให้อุตสาหกรรมที่เสียเปรียบ และแข่งขันไม่ได้ไปอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งไม่ใช่ทิ้งไปเลย

ขณะเดียวกันก็จะต้องแบ่งกลุ่มสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง และเล็กที่ต่างกันไม่ใช่ใช้นโยบายเดียวกันไปหมด ซึ่งนโยบายรัฐมีส่วน สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กับการปรับตัวของเอกชน ตัวอย่างของความผิดพลาดนโยบายที่ปัจจุบันมีผลให้อุตสาหกรรมไทยพัฒนาช้า คือ การไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรและโลหะและทำให้อุตสาหกรรมนี้ตายไปก่อนหน้าด้วยการไปทำให้ภาษีนำเข้าจากต่างประเทศถูกแต่วัตถุดิบในประเทศแพง ในที่สุดอุตสาหกรรมนี้ของคนไทยต้องตายไปและรัฐเพิ่งจะเริ่มมาฟื้นฟู

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมไทยที่มีอัตราเติบโตส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานมาจากต่างประเทศและมาอาศัยค่าแรงที่ต่ำของไทย เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนฯ เหล่านี้ต้องระวังเพราะท้ายสุดก็จะมีการย้ายฐานออกไปอีกไม่มีความแน่นอน ขณะเดียวกัน ศูนย์กลางการค้าก็เริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ตลาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐฯ และยุโรป แต่ปัจจุบันเริ่มย้ายมาอยู่ยังจีนและอินเดีย ดังนั้นเอกชนและรัฐบาลจะมัวไปส่งเสริมอุตสาหกรรมที่โต หรือตลาดที่โตในอดีตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us