Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 มกราคม 2549
GFMเล็งลุยอินเดียขยายตลาดส่งออก ปี49ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ไว้ที่20%             
 


   
search resources

โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอส์, บมจ.
Jewelry and Gold




GFM เล็งลงทุนเพิ่มที่อินเดียขยาย ตลาดส่งออก เชื่อความต้องการมีต่อเนื่องและจำนวนประชากรมีสูง หลังเปิดโรงงานที่เวียดนามเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนเป็นหลักพร้อมตั้งเป้ารายได้ปีหน้าโต 20% หลังตั้งบริษัทย่อยเพื่อจำหน่ายสินค้า

นางสาวศรีแพร เตชะมาถาวร ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) (GFM) เปิดเผยแผนงานปี 2549 ว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาเพื่อเช่าที่ดินในเวียดนาม ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เวียดนาม เนื้อที่ 11,000 ตารางเมตร ระยะเวลาเช่า 40 ปี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักร คาดดำเนินการได้ต้นปี 49 และจะเร่งที่จะผลิตให้ได้กลางปี เพื่อรองรับออเดอร์ ที่เพิ่มขึ้น

โดยโรงงานแห่งใหม่นี้ จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 30% จากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ผลิตของโรงงานที่ไทยผลิตได้เดือนละล้านกว่าเม็ด ซึ่งเริ่มแรกนั้น จะเจียระไนพลอยก่อน หลังจากนั้นจึงจะขยายการผลิตให้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในการผลิตงานอัญมณีและงานเงิน

จากการมีโรงงานแห่งใหม่ที่เวียดนามนั้น เพื่อต้องการลดต้นทุนเรื่องค่าแรงเป็นสำคัญ ส่วนการตลาดในเวียดนามนั้นถือเป็นการขยายตลาดอีกส่วนหนึ่งด้วย หลังตลาดเวียดนามมีการตอบรับสินค้าที่บริษัทส่งออกไปจำหน่ายเพื่อทดลองตลาดมาแล้ว

นางสาวศรีแพรกล่าวว่า นอกจากการรุกเวียดนามแล้ว บริษัทยังเล็งที่จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเบื้องต้นเล็งอินเดียเป็นลำดับต่อไป เพราะอินเดียใหญ่เป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก และความต้องการสินค้าอัญมณีก็ยังมีสูง พร้อมกับมั่นใจว่าหากเข้าไปลงทุนที่อินเดียแล้ว จะง่ายต่อการทำตลาดในประเทศดังกล่าว และดีกว่าการส่งสินค้าไปจำหน่ายเพราะต้องจ่ายภาษีหลายขั้นตอน เงื่อนไขในการส่งสินค้าไปจำหน่ายก็มีมากด้วย

"ถ้าจะเข้าบุกอินเดีย เราก็ต้องไปแบบผลิตแล้วขายที่โน่นเลย เพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายและภาษีที่เกิดขึ้นตามรายทาง แต่ก็เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่ใช่ ระยะนี้ เพราะเราต้องให้โรงงานที่เวียดนามเข้าที่เข้าทางก่อน คงอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีข้างหน้า"นางสาวศรีแพรกล่าว

ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับเงินทุนของบริษัทด้วย เพราะ GFM ไม่ต้องการเพิ่มทุนและไม่ต้องการเพิ่มภาระให้บริษัท หากจะมีการลงทุนก็จะเน้นใช้เงินทุน หมุนเวียนหรืออาจกู้บ้าง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของการเงินในช่วงนั้นเป็นสำคัญ

ก่อนหน้านี้ GFM ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกทั้งหมด ขณะนี้ได้หันมารุกตลาดในประเทศ ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ดำเนินการโดยบริษัทออโรพลัส จำกัด ซึ่งมี GFM ถือหุ้น 99% และจะเริ่มจำหน่ายงานเงินก่อน ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายแห่งแรก ในห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ตามด้วยห้างเอ็มโพเรียม และสยามพารากอน ตั้งเป้ายอดขายในปีแรกอยู่ที่ประมาณ 5% ของยอดขายของบริษัทแม่และคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปี49 นี้

"การจัดตั้งบริษัทดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องมาจากแผนงานของบริษัทที่ต้องการทำสินค้าแบรนด์ของตัวเองเพื่อขายในประเทศ หลังจากที่ผ่านมา GFM ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกทั้งหมดและผลิตตามออเดอร์สินค้าที่มีเข้ามา การที่สร้างแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งหลังจากสร้างแบรนด์ของตัวเองแล้ว ก็จะนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศต่อไป" นางสาวศรีแพรกล่าว

ขณะที่ตลาดหลักของ GFM จะเป็นประเทศแถบยุโรป คือ เยอรมนี สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ประมาณ 60-70% สหรัฐฯ ประมาณ 25-30% และออสเตรเลียประมาณ 3-5% ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 120,000 ชิ้นต่อเดือน

นางสาวศรีแพรกล่าวถึงค่าเงินที่ผันผวนว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อ GFM มากนัก แต่เรื่องของราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่เป็นโลหะและพลอย ปรับเพิ่มขึ้นกระทบผลการดำเนินงานบ้าง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ทะยานไปสูงพอสมควร แต่เนื่องจากบริษัทสามารถผลักภาระให้กับลูกค้าได้ ซึ่งลูกค้ายอมรับกับภาวะดังกล่าวได้ ซึ่งการปรับราคาสินค้าแต่ละครั้งประมาณ 5% เท่านั้น และการที่ทำสัญญาล่วงหน้ากับลูกค้าไว้ ทำให้ลดความเสี่ยงได้มากพอ ประกอบกับที่บริษัทหันมาเน้นงานเงินมากขึ้น ทำให้ความผันผวนมีน้อยลงในเรื่องของการจำหน่าย

"แต่ไม่ใช่วัตถุดิบเพิ่มแล้วเราถึงจะปรับราคา เพราะโดยปกติแต่ละปี เราก็พัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้าออกมาหลากหลายและเพิ่มอะไรใหม่ๆ แบบใหม่ๆ ที่เราก็สามารถเพิ่มราคาขายได้ตามรูปแบบของงานที่เราผลิตออกด้วย จึงไม่กระทบกับกรอสมาร์จิ้นของเรา" นางสาวศรีแพรกล่าว

สำหรับปี 49 แนวโน้มน่าจะดีต่อเนื่องจากปีนี้ และการที่โรงงานแห่งใหม่จะผลิตได้ น่าจะมีส่วนช่วยให้ผลการดำเนินงานไม่ต่างจากปีที่ผ่าน ๆ มา ขณะเดียวกัน จากการที่ GFM ตั้งบริษัทย่อยอย่าง ออโรพลัส (ประเทศไทย) ก็จะเสริมความหลากหลายในการจำหน่ายสินค้าของบริษัท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us