|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ปี 2548 แนวโน้มการส่งออกจะทำได้ไม่ถึงเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ที่ 20% แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเป้าดังกล่าวเป็นเพียงเป้าทำงาน ท่ามกลางปัญหาวิกฤตต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมันแพงที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย แต่ทว่าไทยก็ยังสามารถ ผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวได้สูงถึง 15.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่คาดว่าจะทำได้
ที่ไทยไม่สามารถผลักดันการ ส่งออกได้ตามเป้าไม่ใช่ความผิด เพราะเดิมทีกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้เมื่อช่วงต้นปี 2548 ว่าจะผลักดันให้การส่งออกมีอัตราการขยายตัวที่ 13% และต่อมาได้ขยับเพิ่มเป็น 20% เพื่อให้เป็นเป้าทำงาน ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกัน ภายใต้การทำงานอย่างเต็มที่
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดี กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออกของปี 2548 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 15.3% มูลค่าการส่งออก 111,288 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะขยายตัวได้สูงถึง 20% มูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐก็ตาม แต่ก็ถือเป็น การส่งออกที่เพิ่มขึ้น เพราะเดิมทีได้ตั้งเป้าหมายไว้แต่เริ่มแรกว่าจะขยายตัวเพียงแค่ 13% เท่านั้น
ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-พ.ย.) ส่งออกได้แล้ว 101,437 ล้าน เหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.2% การ นำเข้ามีมูลค่ารวม 108,634.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.5% โดยขาดดุลการค้ารวม 7,197.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางจันทรากล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2549 นี้ หลังจากที่ได้มีการหารือกับทูตพาณิชย์และผู้ประกอบการทุกกลุ่มสินค้าแล้ว คาดว่ามีอัตราขยายตัวประมาณ 17.5% เทียบกับฐานปี 2548 โดยมีมูลค่าการส่งออก รวมทั้งสิ้น 130,794 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการตั้งเป้าหมายการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงพอสมควร เพราะในปี 2549 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก็คือ น้ำมัน ที่จะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่ง จะมีผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิต สินค้าของผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย อย่างมาก
ขณะเดียวกัน ปัญหาราคาน้ำมันแพงยังทำให้กำลังซื้อของบาง ประเทศที่ใช้พลังงานลดลงพอสมควร แต่ก็ได้รับการทดแทนจาก ประเทศผู้ขายน้ำมันที่จะมีกำลัง ซื้อเพิ่มขึ้น
ส่วนปัจจัยที่จะเข้ามาสนับสนุน ให้การส่งออกในปี 2549 เป็นไปตามเป้าหมายนั้น อยู่บนสมมติฐาน ที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.2% จาก 3.1% ในปี 2548 การ ค้าโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 8% จาก 7.7% เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.3% ญี่ปุ่น 2.7% ยุโรป 3.3% รวมไปถึงประเทศ ในแถบเอเชียจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 7.2%
นอกจากนี้ กรมฯ ยังคาดว่าสินค้าไทยจะได้รับประโยชน์และส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้า ที่ได้รับการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) จากสหภาพยุโรป (อียู) เช่น อาหารทะเล อาหารปรุงแต่ง พลาสติกและยาง รองเท้า แก้วและเซรามิก เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ในครัวเรือน เพราะคู่แข่งของไทย คือ จีน ถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีในสินค้า กลุ่มนี้ ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น
นางจันทรากล่าวว่า ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาด กรมฯ จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่ไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ทั้งจีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และขณะนี้กำลังทำแผนเจาะตลาดญี่ปุ่น เพราะอีกไม่นานเอฟทีเอก็จะมีผลบังคับใช้ จึงต้องทำแผนในการบุกเจาะตลาดไว้แต่เนิ่นๆ โดยคาดว่าในปี 2549 การ ส่งออกไปยังตลาดเอฟทีเอจะเพิ่มขึ้นมาก โดยจีนเพิ่มขึ้น 40% อินเดีย 60% ออสเตรเลีย 30% และญี่ปุ่น 20%
ส่วนตลาดหลักก็จะมีกิจกรรม อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ โดยคาดว่าการส่งออกไปสหรัฐฯ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% อาเซียน 16% สหภาพยุโรป 4.5% ขณะที่ตลาดใหม่ก็จะพยายามเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและมูลค่าการส่งออกให้เพิ่มขึ้น โดยตะวันออกกลางคาดว่า ส่งออกจะเพิ่มขึ้น 25% แอฟริกา 20% ละตินอเมริกา 30% ยุโรปตะวันออก 24% และอินโดจีน 28% ทั้งนี้ จะรักษาสัดส่วนตลาดส่งออก ระหว่างตลาดเก่ากับตลาดใหม่ให้อยู่ในระดับ 60/40
นางจันทรากล่าวว่า ขณะเดียวกัน เพื่อให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในปี 2549 นี้การ ทำงานของหัวหน้าฮับภูมิภาคจะมีความเข้มข้นมากขึ้น แผนงานต่างๆ ที่คิดกันออกมาจะถูกนำไปปฏิบัติมากขึ้น โดยปีนี้การทำงานจะลงลึกในรายละเอียดของแต่ละภูมิภาค แต่ละสินค้า เพื่อผลักดันการส่งออก สินค้าไทยให้เข้าสู่ตลาดให้ได้เพิ่มขึ้น หลังจากในปี 2548 ที่ผ่านมา หัวหน้าฮับภูมิภาคได้มีการประชุมหารือ วางแผนบุกเจาะตลาด เป้าหมาย การส่งออกของแต่ละภูมิภาคไว้แล้ว
สำหรับฮับจะมีทั้งสิ้น 6 ฮับ ได้แก่ อเมริกาเหนือ ยุโรป อาเซียน เอเชียตะวันออก จีน และอินเดีย นอกจากนี้ ในส่วนของกรมฯ ยังจะมีแผนฝึกความรู้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยให้สามารถเข้า ไปต่อสู้ในเวทีการค้าโลก โดยจะมีกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้มากขึ้น ขณะเดียวกัน จะปรับบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนการส่งออกเพียง อย่างเดียวมาเป็นผู้สนับสนุนการนำเข้าด้วย โดยจะใช้กลไกทูตพาณิชย์ที่มีอยู่ รวมถึงกลไกของฮับภูมิภาคในการเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกมาป้อนให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของไทย พร้อมกันนี้ จะปรับรูปแบบการสนับสนุนให้ไทยส่งออกเพียงอย่างเดียว เป็นการบุกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อขายสินค้า รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าในประเทศเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น
ที่สำคัญ กรมฯ จะให้ความสำคับกับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจบริการของไทยให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ธุรกิจบริการของไทยเป็นที่ยอมรับและมีศักยภาพที่จะบุกเจาะตลาดต่างประเทศ เช่น สปา โรงพยาบาล ธุรกิจบันเทิง ร้านอาหารไทย โดยหลักการส่งเสริม จะยึดหลักของความเป็นไทย เนื่องจากจะเป็นจุดขายที่ดีที่สุด และต่างชาติไม่มีเหมือนไทย
|
|
 |
|
|