Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 มกราคม 2549
ปี49อุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่ยังร่อแร่             
 


   
search resources

Import-Export
Agriculture




ปี 2549 อุตสาหกรรม ไก่เนื้อยังร่อแร่ เจอปัจจัยเสี่ยงรุม "สมาคมผู้ส่งออกไก่" กัดฟัน ขยายตัว 30% ยอดส่งออก 3-3.5 แสนตัน "สหฟาร์ม" ฟันธงทรงตัว ขณะที่ "เบทาโกร" คิดแง่บวกอาจส่งออกได้ถึง 4 แสนตัน แต่ต้องจับตาประเทศคู่แข่ง จากบราซิลที่จะเข้ามาแย่งตลาดอียูมากขึ้น

นพ.อนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มสถานการณ์การส่งออกไก่เนื้อปี 2549 ว่า ทางสมาคม ตั้งเป้าการส่งออกไก่เนื้อใว้ 3-3.5 แสน ตัน จากปี 2548 ที่ส่งออกได้ประมาณ 2.65 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรม ไก่เนื้อขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ในปี 2549 เป็นผลมาจากสินค้าไก่ปรุงสุกของไทยเริ่มติดตลาดมากขึ้น ประกอบกับบริษัทต่างๆ ก็มีการขยาย กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการจากต่างประเทศที่มีมากขึ้น
ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ การส่งออกไก่สดแช่แข็งที่ยังไม่มีสัญญาณ ที่ดีขึ้นว่าจะสามารถส่งออกได้ ซึ่งที่ผ่านมาหลังกรมปศุสัตว์เอกซเรย์ทุกรอบก็ยังเจอโรคอยู่ตลอด แต่อย่างไรก็ตาม หากต่างประเทศยอมรับในเรื่องของการผลิตแบบแยกส่วน (Compartment) ก็อาจจะทำให้มีความหวังในการส่งออกไก่สดแช่แข็งขึ้นมาบ้าง

"สหฟาร์ม" คาดทรงตัว

นายปัญญา โชติเทวัญ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด อดีตผู้ส่งออกไก่สดแช่แข็งอันดับหนึ่ง ของประเทศ กล่าวว่า ในมุมของสหฟาร์มการส่งออกไก่เนื้อในปี 2549 ไม่น่าจะแตกต่างจากปี 2547 เท่าใดนัก เนื่องจาก รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหา ให้สามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งได้

ขณะที่การส่งออกไก่ปรุงสุกนั้น ปัจจุบันทุกบริษัทก็ผลิตกันเต็มกำลังการผลิตแล้ว แต่มีปัญหาสำคัญคือสถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อในการจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อนำมาขยายการผลิต เพราะอุตสาหกรรมไก่เนื้อยัง อยู่ในอุตสาหกรรมเสี่ยงจากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก

ส่วนความต้องการสินค้าไก่เนื้อจากไทยในตลาดสหภาพยุโรปก็ไม่น่า จะเพิ่มขึ้นจากเดิมมากนัก หรืออาจจะลดลงด้วย จากปัญหาไก่อบเกลือจากประเทศบราซิลเข้ามาแย่งตลาด โดยถ้าเปรียบเทียบอัตราภาษีของไก่แต่ละชนิดจะพบว่า ไก่อบเกลือจากบราซิลมีอัตราภาษีต่ำมาก ประมาณ 15% ใกล้เคียงกับภาษีไก่ปรุงสุกของไทย ประมาณ 10.9% ทำให้ผู้ประกอบการจากยุโรปเลือกนำเข้าไก่อบเกลือเพื่อแปรรูปเป็นไก่ปรุงสุกในกลุ่มประเทศ ของตนเองแทน

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก รัฐบาลจะต้องจริงจัง ในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกอย่างเต็ม ที่ ขณะเดียวกันต้องพยายามผลักดันการส่งออกไก่สดแช่แข็งให้ได้โดยเร็ว ซึ่งโอกาสก็พอมีบ้างจากการจัดทำระบบ การผลิตแยกส่วนหรือคอมพาร์ตเมนต์ ที่ทางสหภาพยุโรปก็เห็นด้วยกับการผลิตระบบดังกล่าว แต่ปัญหาคือทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

นายปัญญากล่าวทิ้งท้ายว่า การ แก้ไขปัญหาไข้หวัดนกในอนาคต สิ่งที่น่ากังวลคือหากภาครัฐตัดสินใจใช้วัคซีนไข้หวัดนก เพราะในกรณีของ ประเทศจีนก็เห็นได้ชัดว่า ทางประเทศ ญี่ปุ่นเขายกเลิกไก่จากประเทศจีนทั้งหมด ที่สำคัญญี่ปุ่นคือตลาดส่งออก ไก่ที่ใหญ่ที่สุดของไทย

"เบทาโกร"คาดขยายตัวเพิ่มขึ้น

นายนพพร วายุโชติ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจเครือเบทาโกร กล่าวว่า การคาดการณ์การส่งออกไก่เนื้อความคิดเห็นอาจแตก-ต่างกันบ้างเพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ ในส่วนของเบทาโกรคาดว่าจะสามารถ ส่งออกได้ประมาณ 4 แสนตัน โดยจะต้องมีไก่เนื้อรองรับการผลิตประมาณ 15-16 ล้านตัวต่อสัปดาห์

สาเหตุที่ทางเบทาโกรคาดการณ์ ว่าการขยายตัวของการส่งออกจะเพิ่มขึ้น เพราะเชื่อว่าราคาไก่ปรุงสุกในตลาดโลกที่น่าจะไม่ต่ำกว่า 3,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นราคาที่ทำให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจในการขยาย กำลังการผลิตมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มต่ำลง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการขยายการผลิตมากขึ้น

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ นโยบายการทำการผลิตแบบแยกส่วน หรือคอมพาร์ตเมนต์ของภาครัฐยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร บริษัทที่มีความพร้อมในเรื่องดังกล่าวยังน้อยอยู่ ขณะเดียวกันต้องจับตาประเทศคู่แข่ง อย่างบราซิล ที่อาจจะเข้ามาแย่งตลาด ไก่ปรุงสุกในกลุ่มอียูมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us