|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กว่า 1 ปีของกทช.มีผลงานเป็นรูปธรรมคือการให้ไลเซนส์ทีโอที และกสท รวมทั้งไอเอสพี ในขณะที่เอกชนต่างเฝ้ารอความหวังไลเซนส์ที่ผูกพันความถี่ไม่ว่าจะเป็นมือถือ 3G ดาวเทียมสื่อสาร รวมทั้งบริการคาบเกี่ยวอย่าง VoIP ที่มีความพยายามปลดล็อกอำนาจในการจัดสรรความถี่ในภาวะที่กสช.ยังไม่รู้อนาคต
แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่าไลเซนส์โทรศัพท์มือถือ 3G เป็นความหวังของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยมองในมุมที่แตกต่างกัน อย่างเอไอเอสมีเป้าหมายชัดเจนที่จะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 8 พันล้านบาท ในการขยายเครือข่ายทันทีหากได้ไลเซนส์ โดยในภาพรวมเอไอเอสตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา 3 บริษัทประกอบด้วย 1. AIS Wireless Communication Networks 2.AIS Wire Network และ 3. AIS International Networks เพื่อขอไลเซนส์ต่างๆที่เห็นว่าเป็นประโยชน์เชิงธุรกิจเนื่องจากเอไอเอส มีข้อผูกพันสัญญาร่วมการงานกับบริษัท ทีโอที ทำให้การขอไลเซนส์ใหม่เป็นไปได้ยาก
ส่วนดีแทคก็พร้อมที่จะขอไลเซนส์ 3G แต่ไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูง เนื่องจากมองว่าบริการ EDGE ที่ครอบคลุม 16 จังหวัดทุกวันนี้สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ดีพอสมควรแล้วส่วนกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งหลังจากทำการ synergy มากขึ้นด้วยการฮุบ UBC ด้วยการเข้าถือหุ้นเองทั้งหมด และประสานสายธุรกิจกับทีเอออเร้นจ์ใกล้ชิด เพื่อเตรียมทำบริการที่หลากหลายจากสายธุรกิจเดียวหรือที่เรียกว่า convergence service ก็ยืนยันจะจัดตั้งบริษัทใหม่อย่างแน่นอน แต่ยังขอดูความชัดเจนของเงื่อนไขไลเซนส์ที่จะออกจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อน ในขณะที่มอง 3G ในลักษณะจะมาช่วยเพิ่มข้อจำกัดการใช้งานด้านความถี่ เพราะมีเทคโนโลยีทางเลือกอย่าง Wi-Max ที่เป็นการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบไร้สายเช่นเดียวกับ 3G
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของ 3G คือองค์กรกำกับดูแลที่ต้องพิจารณาการจัดสรรความถี่ร่วมกันอย่างกสช. ต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี เท่ากับทำให้การจัดสรรความถี่ต้องหยุดชะงักถึงแม้กทช.จะออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขได้ภายในกลางปี 2549 ก็ตาม และถึงแม้รัฐบาลจะมีความพยายามที่อยาก จะแก้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ขยายบทบาทกทช.ให้ทำหน้าที่บางส่วนของกสช. ไปก่อน แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยากเพราะถูกค้านจากหลายฝ่ายของสังคม
"ไลเซนส์ 3G ประเด็นสำคัญคือเรื่องความถี่ หากปลดล็อกไม่ได้ ก็ยากที่จะออกไลเซนส์ได้ ซึ่งรวมไปถึงไลเซนส์ดาวเทียมสื่อสาร หรือ ไลเซนส์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความถี่ด้วย"
แหล่งข่าวกล่าวว่าหากจะคิดถึงไลเซนส์ใหม่ก็คงมีเพียง International Internet Gateway (IIG) ซึ่งปัจจุบันถูกผูกขาดโดยบริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการรายเดียว โดยคาดว่าภายในต้นปี 2549 จะสามารถเปิดให้เอกชนยื่นขอไลเซนส์ ภายหลังจากที่ กทช.มีมติอนุมัติเปิดเสรีรวมทั้งบริการ VoIP ในลักษณะพีซีทูโฟน เพราะไม่มีเรื่องความถี่มาเกี่ยวข้องซึ่งไอเอสพีเห็นว่าหากมีผู้ให้บริการ IIG หลายรายจะทำให้ต้นทุนค่าเช่าวงจรหรือแบนด์วิดท์ถูกลง ซึ่งส่งผลให้ค่าบริการถูกลงด้วย อย่างไรก็ตาม กทช.ยัง ไม่ได้กำหนดจำนวนที่เหมาะสมสำหรับไลเซนส์ IIG ขณะที่ทีโอทีจะเริ่มดำเนินการ IIG ในต้นปี 2549 เช่นกัน
"ในปี 2549 กทช.ต้องเร่งรัดในเรื่องเงื่อนไข 3G เกตเวย์ ดาวเทียมสื่อสารบริการ VoIP รวมทั้งในเรื่องค่าเชื่อมโครงข่าย ที่ต้องการทำให้เกิดขึ้นและผู้ให้บริการทุกรายเห็นชอบร่วมกันหมด"
นอกจากนี้สิ่งที่ค่ายมือถือ ต่างรอความหวังจากกทช. หนีไม่พ้นเรื่องการสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันโดยเฉพาะบริษัทมือถือที่อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน กสท เพราะมีต้นทุนธุรกิจสูงกว่าเอกชนที่อยู่ใต้สัญญาทีโอที เนื่องจากเอกชนคู่สัญญากสทต้องจ่ายค่าแอ็กเซสชาร์จให้กับทีโอทีด้วย นอกเหนือจากการที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กสทอันเป็นภาระปกติเช่นเดียวกับเอกชนใต้สัญญาทีโอทีต้องจ่ายให้ทีโอทีอยู่แล้ว ประมาณว่าเฉพาะดีแทคในปี 2548 จ่ายค่าแอ็กเซสชาร์จสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่เอไอเอสไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้
สิ่งเหล่านี้คือภาระหนักของกทช. ถึงแม้จะเป็นที่รับรู้ว่ากทช.ไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสัญญาร่วมการงานเดิมได้ แต่ประเด็นสำคัญคือกทช.ต้องวางเงื่อนไขธุรกิจใหม่เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อนำไปสู่การคลายพันธการสัญญาร่วมการงานในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผลงานรูปธรรมในการออกใบอนุญาตประเภท 1 บริการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเอง และใบอนุญาตประเภทที่ 3 คือบริการโทรคมนาคมที่มีโครงข่ายของตัวเองและบริการสู่สังคมในวงกว้างโดยรวมบริการอินเทอร์เน็ตด้วยนั้น ก็เป็นใบอนุญาตที่ยังไม่มีเงื่อนไขหรือไลเซนส์ เฟรมเวิร์ก ซึ่งไม่ได้ทำให้เอกชนเห็นภาพเงื่อนไขของธุรกิจสำหรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเลย
นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่กทช.กำหนดไม่ว่าจะเป็นค่าใบอนุญาต 3% ของรายได้ค่า USO หรือบริการโทรคมนาคมทั่วถึง 4% ของรายได้ ก็มีข้อโต้แย้งกันอย่างมาก โดยทีโอทีออกมาร้องเป็นรายแรกว่า หากต้องจ่ายตามเงื่อนไขภาระขนาดนี้จะทำให้กำไรสุทธิต่อปีจากราว 1.2 หมื่นล้านบาท ตกลงมาเหลือราว 7 พันล้านบาทเท่านั้น ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้หุ้นของทีโอที ที่มีแผนในการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดความน่าสนใจลง รวมทั้งกสทและเอกชนต่างเห็นว่าค่าธรรมเนียมที่คิดจากฐานรายได้เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้รายได้ในอนาคตของกทช.สูงเกินไปจนผิดหน้าที่การเป็นองค์กรอิสระและอาจนำไปสู่การเป็นองค์กรจัดซื้อจัดจ้างเอง เพราะเงื่อนไข USO ระบุว่าหากไม่ทำ USO ก็ต้องจ่ายตามอัตรา 4%
อย่างไรก็ตาม ถือว่าท่าทีของกทช.ก็เริ่มผ่อนปรนลงมามาก โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิต โดยทีโอทีสามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตที่ทีโอทีต้องจ่ายสำหรับโทรศัพท์มือถือ 10% และโทรศัพท์พื้นฐาน 2% มาหักลดหย่อนจากฐานรายได้บริษัท ก่อนที่จะคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ซึ่ง กทช. เรียกเก็บ 3% จากรายได้ เนื่องจาก กทช.พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน ค่าภาษีสรรพสามิตก็เป็นรายได้ที่กลับคืนสู่รัฐบาลเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่ลงทุนเพื่อกิจการสาธารณะ และอีกหลายกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ก็สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เต็มจำนวนเช่นกัน
ด้านนักวิชาการอย่างอนุภาพ ถิรลาภ ก็เห็นว่าการคิดค่าธรรมเนียมจากฐานรายได้จะทำให้เอกชนผลักภาระให้ประชาชน นอกจากนี้กทช.ยังแยกประเภทไลเซนส์ผิด เพราะทำในลักษณะแยกประเภทหรือ stand alone แต่บริการใหม่ๆ ในโทรคมนาคมเป็นการเชื่อมโยง หรือconvergence กันแล้วทำให้ในอนาคตจะต้องมีไลเซนส์มากมายตามแอปพลิเคชันหรือบริการต่างๆที่จะเกิดจากการ convergence ของเทคโนโลยี
"กทช.ควรแยกไลเซนส์เป็นแค่ network license และ service license จะทำให้สามารถพิจารณาและให้ไลเซนส์ง่ายขึ้น ไม่สับสน แต่สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นการให้ตามแอปพลิเคชันอย่าง VoIP หากเทคโนโลยีเปลี่ยนก็ต้องให้ไลเซนส์ใหม่ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องนัก"
|
|
|
|
|