Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ธันวาคม 2548
รถไฟฟ้า "จุดพลุ" อสังหาฯ ปี 48 บูมต่อเนื่อง             
 


   
search resources

Real Estate




อิทธิพลของความต้องการระบบคมนาคมที่สะดวกสบายในปัจจุบันทำให้เชื่อได้ว่า ณ เวลานี้ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าระบบรถไฟฟ้า คือปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยใช้พิจารณาในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้ในวันนี้ระบบรถไฟฟ้า ถือว่าเป็นตัวแปรหนึ่งในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดและเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่าระบบรถไฟฟ้ามีอิทธิพลต่อการพัฒนาของตลาดอสังหาริมทรัพย์คือ กรณีที่รัฐบาลเคยประกาศว่าจะยกเลิกการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่

ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องและวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของรัฐบาล ทั้งในส่วนของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมา จนทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในนโยบายการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ของรัฐบาล ส่งผลให้ต้องมีการทบทวนและรื้อแผนการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าในสายสีม่วงกลับมาบรรจุไว้ในแผนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีการเร่งก่อสร้างโครงการอย่างต่อเนื่อง

นอกจากกรณีที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้ว การที่กรมธนารักษ์เตรียมปรับราคาประเมินที่ดินอีก 10% ในแนวรถไฟฟ้าและย่านธุรกิจ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยืนยันได้ดีถึง อิทธิพลของระบบรถไฟฟ้าที่มีต่อการพัฒนาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ล่าสุดนโยบายที่รัฐบาลประกาศว่าจะพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชน 10 เส้นทาง มูลค่า 5.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่จะพัฒนาเพียง 7 สาย ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างมากโดยกระทรวงคมนาคมจะมีการสนับสนุนให้มีการพัฒนาชุมชนควบคู่กันไปด้วย ในลักษณะเมืองบริวาร ซึ่งมีประชากรประมาณ 1 แสนคนขึ้นไป ภายในเมืองบริวารจะมีองค์ประกอบต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น โรงพยาบาล, โรงเรียน, สนามกีฬา และสวนสาธารณะ

โดยจะเปิดให้บริษัทเอกชนสามารถรวมกลุ่มกัน เพื่อเสนอโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะมีขนาด 1 แสนยูนิตขึ้นไป หรือต่ำกว่า 1 แสนยูนิต ก็ได้ โดยพิจารณาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เหมาะสม รวมทั้งจุดที่ตั้งของสถานีโดยสาร แต่จะต้องมีเงื่อนไขว่าราคาในช่วงที่เสนอโครงการนั้นจะต้องไม่สูงเกินไป เมื่อเทียบกับราคาที่จะขายให้แก่ประชาชนภายหลังโครงการพัฒนาแล้วเสร็จ ซึ่งรัฐบาลพร้อมรับฟังความเห็นของภาคเอกชน และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความต้องการที่อยู่อาศัยในแนวรถไฟฟ้าให้ชัดเจนมากขึ้น

ประกอบกับปัจจุบัน สภาวะเศรษฐกิจที่มีอัตราการขยายตัวลดลงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมันและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นตลอดจนปัจจัยลบต่างๆ ที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงปี 2548 ตลาดรวมอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงตามไปด้วย ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และนักวิเคราะห์ในตลาดคาดการว่าจะมียอดตัวเลขการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยใหม่ประมาณ 65,000-70,000 หน่วย หรือมีอัตราการขยายตัวเพิ่มจากปี 2547 ประมาณ 10-15% ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัว ราคาขึ้นประมาณ 5-7% ตามต้นทุน วัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ปัจจัยราคาน้ำมัน และแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2547 ส่งผลให้เกิดการชะลอการซื้อออกไปประกอบกับสินค้าที่มีอยู่ในตลาดยังคงมีราคาขายที่สูง ในขณะที่กำลังการซื้อของผู้บริโภคในตลาดลดลง ทำให้ในช่วงปี 2548 นี้ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำลงหรือเจาะกลุ่มลูกค้าในตลาดกลางล่างมากขึ้น โดยการลดขนาดของบ้านและที่ดินและราคาขายลง เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและกำลังซื้อในตลาด โดยที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่ผลิตของมาในช่วงปีนี้จะมีราคาขายเฉลี่ยประมาณ 3-5 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2548 ทำให้พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มคำนึงถึงต้นทุนการเดินทาง และกำลังการผ่อนของตนเองมากขึ้น รวมถึงต้องคำนวณอัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมซึ่งมีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทมากขึ้น และทาวน์เฮาส์ราคาถูกย่านชานเมือง และบ้านเดี่ยวที่เกาะแนวรถไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ที่เลือกซื้อคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ จะพิจารณาที่อยู่อาศัยในแนวรถไฟฟ้าก่อนเป็นหลัก

ทำให้ในช่วงกลางปี 48 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์หลายรายหันมาพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัท แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่พัฒนาคอนโดมิเนียมเกาะแนวรถไฟฟ้า รวมถึง บริษัท เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่พัฒนาทาวน์เฮาส์ด้วย และในช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา บริษัท พรอพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ที่เน้นพัฒนาบ้านเดี่ยว โดยใช้คอนเซ็ปต์บ้านกลางเมืองและเน้นการก่อสร้าง โครงการใหม่ยึดแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก ก็เป็นอีกรายที่หันมาพัฒนา โครงการคอนโดมิเนียมราคาถูกเกาะแนวรถไฟฟ้าอีกราย

ทั้งนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมาโครงการที่เกาะแนวรถไฟฟ้าได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมเกาะแนวรถไฟฟ้าที่ดูเหมือนว่าจะผลิตออกมามากเท่าไหร่ ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากโครงการที่มีการเปิดตัวในปี 2548 ในแนวรถไฟฟ้าแทบทุกโครงการมียอดขายไม่ต่ำกว่า 80-90% ของโครงการบางโครงการสามารถปิดการขายได้ในหนึ่งวัน

ซึ่งจากการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์ในย่านแนวระบบรถไฟฟ้า จะเห็นได้ชัดเจนว่า ที่อยู่อาศัยในทุกเซกเมนต์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมของกลุ่มบริษัทที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีฐานจำนวนดีมานด์ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน จะให้ความสำคัญในการเลือกทำเลพัฒนาในย่านแนวรถไฟฟ้ามากที่สุด อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านราคาที่ดินที่สูงขึ้น ประกอบกับย่านใจกลางเมืองที่ดินแปลงขนาดใหญ่ ขณะนี้จำนวนน้อยอยู่เมื่อเทียบกับดีมานด์ในตลาด ทำให้เชื่อว่าแนวโน้มการเลือกทำเลการพัฒนาโครงการจะเกาะติดกับระบบรถไฟฟ้าในปี 49 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูกเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ซึ่งคำนึงถึงต้นทุนการเดินทางที่เพิ่มขึ้น จากการขึ้นราคาน้ำมัน และความสะดวกกับการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางแหล่งงานและธุรกิจสำคัญๆ

ทั้งนี้ จากแนวโน้มจำนวนการพัฒนาโครงการในตลาดอสังหาฯ คาดว่าจะมียอดตัวเลขการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 หน่วยในปี 49 โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าว จะมีจำนวนที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมสูงกว่าที่อยู่อาศัยในทุกประเภทโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมระดับกลาง-ล่าง ราคาขายตารางเมตรละ 4 หมื่นบาท หรือระดับราคา 8 แสน - 1 ล้านบาท มีความร้อนแรงมากที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us