Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ธันวาคม 2548
CP7-11 ควัก 100 ล.ช่วย "ไทยสมาร์ทคาร์ด"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
ไทยสมาร์ท คาร์ด, บจก.
Electronic Banking




CP7-11 ควักทุน 100 ล้านบาท ให้บริษัทร่วมทุน "ไทยสมาร์ทคาร์ด" ยืมเพื่อใช้ลงทุนสำหรับอุปกรณ์ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานปี 49 พร้อมตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสอนในระดับปริญญา และแต่งตั้งกรรมการใหม่

นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการการเงินและลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) (CP7-11) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2548 ว่าที่ประชุมมีมติอนุมัติการให้ความช่วย เหลือทางการเงินแก่ บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) โดยมีความต้องการเงินเพื่อใช้ในการลงทุนสำหรับอุปกรณ์ และเป็นเงินทุน หมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานในช่วงต้นปี 2549 รวมเป็นเงินโดยประมาณ 100 ล้านบาท

โดย TSC เป็นผู้ดำเนินโครงการบัตรเงินสดดิจิตอล (Smart Purse) ที่จะใช้เทคโนโลยีสมาร์ทคาร์ด (Smart Card) ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ชิปหน่วยความจำสูงที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บเงินลงไปในบัตรสำหรับนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/บริการตามร้านค้าต่างๆ แทนเงินสด

ส่งผลให้ TSC มีความต้องการเงินเพื่อใช้ในการลงทุนสำหรับอุปกรณ์ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานในช่วงต้นปี 2549 รวมเป็นเงินประมาณ 100 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องการความช่วยเหลือทางการเงินในจำนวนดังกล่าว CP7-11 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท TSC ในสัดส่วนร้อยละ 32.24 มีความประสงค์จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ TSC ตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป โดยมูลค่าของการให้ความช่วยเหลือไม่เกิน 100 ล้านบาท

สำหรับความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียนนั้น TSC มีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) ถือหุ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.76 ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ TRUE มีกรรมการที่เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันกับกรรมการของ CP7-11 คือนายธนินท์ เจียรวนนท์ นายสุภกิต เจียรวนนท์ และนายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ นอกจากนี้นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจควบคุมของ CP7-11และ TSC อีกด้วย

ทั้งนี้ TSC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง CP7-11 กับธนาคารและบริษัทอื่นๆ ด้วยทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว 395 ล้านบาท ประกอบด้วย CP7-11 ถือ 12,735,000 หุ้น คิดเป็น 32.24 % บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือ 4,250,000 หุ้น คิดเป็น 10.76% ธนาคารออมสิน ถือ 7,900,000 หุ้น คิดเป็น 20% บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ถือ 3,950,000 หุ้น คิดเป็น 10% ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือ 3,950,000 หุ้น คิดเป็น 10% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถือ 3,950,000 หุ้น คิดเป็น 10% ธนาคารนคร หลวงไทย จำกัด (มหาชน) ถือ 395,000 คิดเป็น 1% บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) ถือ 1,185,000 หุ้น คิดเป็น 3% บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือ 1,185,000 หุ้นคิดเป็น 3%

รายการดังกล่าวเข้าข่ายเป็นรายการเกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนในเรื่องรายการความช่วยเหลือทางการเงิน ตามประกาศของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน เนื่องจากเป็นรายการที่บริษัทจดทะเบียน (CP7-11) ให้ความช่วยเหลือการเงินแก่บริษัทอื่น เนื่องจาก CP7-11 ถือหุ้นใน TSC ในสัดส่วนที่มากกว่าบุคคลที่เกี่ยวโยงอื่นๆ ถือหุ้นและมีขนาดมูลค่าของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าร้อยละ 0.03 แต่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) ของงบการเงินฉบับล่าสุดของ CP7-11 (งบการเงินของ CP7-11 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มี NTA เท่ากับ 8,045.49 ล้านบาท) ถือเป็นรายการขนาดกลางของรายการที่เกี่ยวโยงกัน

ดังนั้น การตกลงทำรายการจะต้องผ่านการอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยกรรมการที่มีส่วนได้เสียต้องไม่เข้าร่วมประชุมและออกเสียง และเปิดเผยมติที่ประชุมพร้อมเผยแพร่สารสนเทศตามแบบที่กำหนดต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย CP7-11 จะใช้เงินจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท

ขณะที่ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ CP7-11 ที่มีต่อ TSC มีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และคณะกรรมการบริษัทผู้ไม่มีส่วนได้เสีย มีความเห็นว่า การให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ CP7-11 ที่มีต่อ TSC มีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท ซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบว่ารายการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเปรียบเสมือนรายการที่ทำกับบุคคลอื่น

พร้อมกับมอบหมายให้นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ และนายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ เป็นคณะบุคคลมีอำนาจในการพิจารณากำหนดรายละเอียด เงื่อนไขวิธีการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และมีอำนาจลงนามในบันทึก และ/หรือข้อตกลง และ/หรือสัญญา ตลอดจนให้มีอำนาจดำเนินการต่างๆตามจำเป็นและสมควรอันเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าว และในวาระนี้กรรมการผู้มีส่วนได้เสีย คือนายธนินท์ เจียรวนนท์ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ นายณรงค์ เจียรวนนท์ และนายสุภกิต เจียรวนนท์ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมและไม่ได้ออกเสียงลงคะแนนในวาระการประชุมเรื่องนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้แต่งตั้ง นายโกเมน ภัทรภิรมย์ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบแทน ร้อยโทสุชาย เชาว์วิศิษฐ กรรมการที่ลาออก

พร้อมกับมีมติอนุมัติตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อสอนในระดับปริญญา และอนุมัติให้บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด ซึ่งบริษัท ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 99.99 เป็นผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us