Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ธันวาคม 2548
ผุดเขตลงทุนพิเศษ 3 ปี ล้านล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ
Investment




"สมคิด-สุริยะ" มอบบีโอไอเรียกภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสมองกลางเดือน ม.ค.นี้ หาแนวทางตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนพิเศษที่นักลงทุนจะได้สิทธิประโยชน์มากกว่าปกติ หวังดูดเม็ดเงินลงทุนอีก 3 ปี 1 ล้านล้านบาท เล็งประเคนทั้งสิทธิประโยชน์จากบีโอไอและหน่วยงานอื่นตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ขณะที่เม็ดเงินลงทุนนัดส่งท้ายปีอนุมัติโครงการเพิ่มอีก 1.57 หมื่นล้าน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เปิดเผยหลังการประชุมบอร์ดบีโอไอ วานนี้ (29 ธ.ค.) ว่า สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม 2549 จะมีการระดมความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนพิเศษขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐ และตอบสนองนโยบายการดึงดูดการลงทุนที่ตั้งเป้าหมายอีก 3 ปี จะมีการยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ 1 ล้านล้านบาท

"บีโอไอได้ปรับสิทธิประโยชน์ล่าสุดในส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว ซึ่งช่วงกลางม.ค.ก็จะมีการเชิญเอกชนใหญ่ๆ ในธุรกิจนี้มาหารือว่าจะมีข้อเสนอแนะอะไร รวมไปถึงจะขอคำแนะนำว่าเอกชนต้องการสิทธิประโยชน์อย่างไรเป็นพิเศษเพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นเหมือนแม่เหล็กในการดึงการลงทุนในภูมิภาคนี้" นายสมคิดกล่าว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แนวคิดการจัดตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนพิเศษนั้นได้มอบหมายให้บีโอไอเป็นหน่วยงานหลักที่จะไปวางกรอบเบื้องต้น หลังจากนั้นจะนำไประดมสมองเพื่อรับข้อเสนอแนะจากเอกชนช่วงกลางม.ค.นี้ที่จังหวัดชลบุรี โดยเป้าหมายหลักของแนวคิดเพราะบางพื้นที่แม้ว่าสิทธิประโยชน์บีโอไอให้เต็มที่แล้วเช่นเขต 3 แต่การลงทุนก็ยังไปไม่ถึง ดังนั้นจึงคิดว่าสิทธิพิเศษจะต้องมีมากกว่าเดิมและเหมาะสมกับอุตสาหกรรมนั้นๆ คาดภายใน 2 เดือน คงได้ข้อสรุป

"ตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเช่น แรงงานอาจขาดแคลนในพื้นที่ที่จะส่งเสริมก็จะมีหน่วยงานของรัฐเข้าไปช่วยพัฒนาให้ ส่วนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เราหวังจะดึงเม็ดเงินได้แก่ ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น แปรรูปการเกษตร บริการและการท่องเที่ยว" นายสุริยะกล่าว

อนุมัติลงทุนทิ้งทวน 1.5 หมื่นล้าน

นายสาธิต ศิริรังคมานนท์ เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 7 โครงการ มูลค่า 15,770.9 ล้านบาท ดังนี้ กิจการผลิต PURIFIED TEREPHTHALIC ACID (PTA) ของบริษัท ทีพีที ปิโตรเคมีคอลส์ จำกัด ลงทุน 2,217.9 ล้าน, กิจการขนส่งทางเรือ จำนวน 2 โครงการ ของบริษัท เอ็มทีอาร์-1 จำกัด และบริษัทเอ็มทีอาร์-2 จำกัด ลงทุนรวม 2,149.5 ล้านบาท

กิจการขนส่งทางเรือ จำนวน 2 โครงการ ของ บริษัท พรีเชียส เอ็มเมอรัลล์ จำกัด และบริษัท พรีเชียส การ์เน็ตส์ จำกัด ลงทุนทั้งสิ้น 2,028 ล้านบาท กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือเดินทะเลของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ลงทุนทั้งสิ้น 6,032 ล้านบาท กิจการท่าเรือของบริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด ลงทุน 3,342 ล้านบาท

ปรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยาใหม่

นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติให้ปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาใหม่ทั้งระบบเป็นประเภทกิจการผลิตยาและสารออกฤทธิ์สำคัญในยา ได้แก่ กิจการยารักษาโรคคนและสัตว์ วัคซีน เป็นต้น จากเดิมที่บีโอไอให้ส่งเสริมการลงทุนเฉพาะกิจการผลิตสารออกฤทธิ์สำคัญในยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่รวมถึงการผลิตยาสำเร็จรูป

สำหรับหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์แบ่งเป็นกรณีลงทุนใหม่และปรับปรุงโรงงานเดิม โดยทั้ง 2 กรณีจะได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด ส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะพิจารณาได้ตามเขตที่ตั้ง โดยเขต 1 จะได้รับการยกเว้นภาษี 5 ปี เขต 2 หากตั้งนอกนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นภาษี 6 ปี แต่หากตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้ส่งเสริมการลงทุน ได้รับการยกเว้นภาษี 7 ปี สำหรับเขต 3 ได้ยกเว้นภาษีเป็นจำนวน 8 ปี และยังกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการให้ได้รับมาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S ภายใน 2 ปี นับแต่วันเปิดดำเนินการ อีกทั้งหากมีการลงทุนเพิ่มเติมก็สามารถรับสิทธิประโยชน์เพิ่ม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us