|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"แบงก์ชาติ" ย้ำแนวนโยบายปี 2549 จับตาอัตราเงินเฟ้อ ส่งสัญณาณนโยบายเข้มรักษาเสถียรภาพ เผยเงินเฟ้อล่าสุดเดือน พ.ย.อยู่ที่ ระดับ 5.9% กระทรวงการคลังชี้เมกะโปรเจกต์ยังไม่นิ่ง ยันตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ขาดดุล 0.1% เทียบ 2.3% ในปีนี้จีดีพีโต 5% เงินเฟ้อไตรมาสแรกเฉลี่ย 5.3% เชื่อดุลบัญชีฯ เดือน พ.ย.สมดุล ส่วนเศรษฐกิจโดยรวมยังดีกว่าเดือนก่อนหน้า
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงที่สุด โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 5.9% ลดลงจากเดือนตุลาคมที่อยู่ที่ระดับ 6.2% และการเร่งตัวของภาวะเงินเฟ้ออาจต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2549 แต่เชื่อว่าหลังจากนั้นอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลง หากไม่มีสถานการณ์ที่เกินความคาดหมายมากระทบ
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจของไทยยังมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอยู่ โดยเฉพาะต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง ธปท.จะติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป
"แนวทางการดำเนินนโนบายการเงินในปีหน้า ธปท.จะยังคงให้ความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เพื่อรักษาเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยเชื่อว่าปีหน้าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงหลังผ่านจุดสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปีไปแล้ว" นายบัณฑิต กล่าว
สำหรับความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหน้านั้น เมื่อพิจารณาดูตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมี 2 ปัจจัยหนุนมาจากแรงขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการส่งออก ที่ยังขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคของประชาชนในประเทศที่น่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้
ทางด้านปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ถึงแม้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ภาวะแวดล้อมยังมีความไม่แน่นอน ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายจุดที่ต้องระวังใน 3 เรื่องด้วยกัน คือ เศรษฐกิจโลกที่อาจจะยังมีความผันผวนได้ ถึงแม้ว่าในระยะอันสั้นจะดี โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่อาจจะอยู่ในเกณฑ์ขาขึ้นในปีหน้า รวมทั้งปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกา สิ่งเหล่านี้อาจจะผกผันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศไทยและในแถบภูมิภาคอาเซียนได้
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ 2 คือการที่เศรษฐกิจในประเทศจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการลงทุน แต่การลงทุนที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเชื่อว่าในปีหน้าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีอยู่ ซึ่ง ธปท.ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจต้องดูแลด้วยความระมัดระวัง
สำหรับปัจจัยเสี่ยงประการสุดท้าย คือ การลงทุนในประเทศ ซึ่งเท่าที่ติดตามดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มีความเอื้ออำนวยต่อการลงทุน ซึ่งปัจจัยความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศ และนักลงทุนต่างประเทศก็มีความสำคัญ เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและไม่ประมาทในปีหน้า
"แนวทางการดำเนินนโนบายการเงินในปีหน้า ธปท.จะยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เพื่อรักษาเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยเชื่อว่าปีหน้าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงหลังผ่านจุดสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปีไปแล้ว" นายบัณฑิต กล่าว
คลังชี้เมกะโปรเจกต์ยังไม่นิ่ง
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่ทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แสดงความเป็นห่วงว่าดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลเกินกรอบโดยมีโครงการ ลงทุนภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญว่า ขณะนี้ภาพการลงทุนเมกะโปรเจกต์ยังไม่นิ่ง ทำให้นำมาเป็นสมมติฐานในการประมาณการได้ยาก ดังนั้น สศค.จึงยืนยันประมาณการเดิม คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้จะโตได้อย่างต่ำ 4.3% และปีหน้าจะโตในระดับ 5% โดยเม็ดเงินเมกะโปรเจกต์ที่เข้าระบบในปีหน้าจะอยู่ที่ 2.9 แสนล้านบาท หากไม่ลงทุนทั้งหมดก็ทำให้เสียโอกาส แต่ก็อาจจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลง
สำหรับประมาณการที่ สศค.แถลงไว้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 ตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะดีขึ้น โดยคาดว่าทั้งปีจะขาดดุลประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 0.1% ของจีดีพี จากปี 2548 ที่คาดว่าจะขาดดุล 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 2.3% ของจีดีพี เงินเฟ้อทั่วไป ขยายตัวลดลงอยู่ที่ 3.5% จาก 4.5% ในปี 2548
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยอัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น 375,200 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรเป็นตัวหลัก ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ 1.2% ลดลงจาก 1.8% ในเดือนก่อน
ภาคการบริการโดยรวมชะลอตัวลง โดยการจ้างงานภาคการบริการเดือนพฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผลจากหดตัวของภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคการเงิน ขณะที่ภาคก่อสร้าง และภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 34,007 คน เพิ่มขึ้น 4.4% จากปีก่อน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง ได้แก่ กลุ่มตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ญี่ปุ่น และจีน ขยายตัว 41.8% 20.0% 18.5% และ 17.0% ตามลำดับ
การบริโภคภาคเอกชนยังคงทรงตัว โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากรายได้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการบริโภคในประเทศในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 5.7% ลดลงจากเดือนก่อน แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้จัดเก็บที่สูงในปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนจากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
การลงทุนภาคเอกชนในด้านเครื่องจักรและสินค้าทุนชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยการลงทุนเพื่อขยายและปรับปรุงกำลังการผลิตสะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 10.7% ลดลงจาก 19.7% ในเดือนก่อน ขณะที่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัว 20.9% แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีทิศทางที่ทรงตัวตามแรงกดดันของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดี โดยขยายตัว 14.5% เป็นมูลค่า 9,842 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 23.6% โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 30.2% แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัว 32.6% เป็นผลจากช่วงขาขึ้นของอิเล็กทรอนิกส์โลก และยานยนต์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น 31.5% โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น 136.9% ขณะที่สินค้าเกษตรพบว่ามีปริมาณการส่งออกลดลงแต่ได้รับผลบวกด้านราคา ช่วยให้มูลค่าส่งออกขยายตัว 3.9%
มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงต่อเนื่องกันจากเดือนก่อน และมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบปี โดยมีการนำเข้ามูลค่า 9,787 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีการขยายตัว 14.7% โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ สินค้าทุนยานยนต์โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ซึ่งหดตัว 30% และเชื้อเพลิง โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ขยายตัว 52.8% ลดลงจาก 62.7% ในเดือนก่อน ขณะที่สินค้าที่เคยขยายตัวสูงทั้งเหล็กและทองคำ พบว่าขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก โดยขยายตัว 0% และ 3.4% ตามลำดับ ทั้งนี้การชะลอตัวของการนำเข้าส่งผลบวกให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุล 55.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินเฟ้อขยายตัวในอัตราที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 2548 จากปัจจัยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ลดลงซึ่งได้แก่ น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลง 3 ครั้งรวม 1.30 บาท และน้ำมัน ดีเซลลดลง 3 ครั้งรวม 1.10 บาท รวมถึงสินค้าอื่นที่มีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด ไข่ ผักสดและผลไม้ โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัว 5.9% ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ลดลงจาก 6.2% ต่อปีในเดือน ตุลาคม ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัว 2.4% ต่อปี คงที่จากเดือนก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนตุลาคมเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤศจิกายนจะอยู่ในระดับที่สมดุล เนื่องจากดุลการค้าตามระบบศุลกากรเกินดุลเล็กน้อย ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการนำเข้าเครื่องบิน ขณะที่ภาคบริการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคท่อง เที่ยวที่อยู่ในช่วง High Season สำหรับทุน สำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 50.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
|
|
|
|
|